คน ต่างด้าว จดทะเบียน สมรสที่อำเภอ ได้ หรือไม่

จดทะเบียนสมรสเท็จเพื่อให้คนต่างด้าวได้รับสิทธิฯ ผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ

เรื่องดำที่  6110072 6110073  เรื่องแดงที่  0114162  0115162ผลคำวินิจฉัย ยกอุทธรณ์  การดำเนินการทางวินัย ต้นสังกัดดำเนินการเอง                    การจดทะเบียนสมรสให้ผู้ที่ไม่มีเจตนาที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสามีภริยา แต่มีวัตถุประสงค์ที่แท้จริงเพื่อได้รับสิทธิขอพำนักในประเทศไทย รวมทั้งสิทธิในการยื่นคำรับรองแปลงสัญชาติเป็นไทย อันเป็นช่องทางในการลักลอบประกอบอาชีพและเป็นอาชญากรรมต่อสังคมไทยอันก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงและเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายให้กับผู้ร้องขอจดทะเบียนสมรส กรณีจึงเป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ

ข้อเท็จจริง

                     ผู้อุทธรณ์ที่ 1 เดิมดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าฝ่ายทะเบียนและบัตร และมีผู้อุทธรณ์ที่ 2 เดิมดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ปกครองชำนาญการ เป็นผู้ช่วย ปรากฏว่าผู้อุทธรณ์ทั้งสองได้ร่วมกันดำเนินการจดทะเบียนสมรสให้หญิงไทยกับชายชาวต่างชาติ จำนวน 88 คู่ โดยไม่ได้เรียกเอกสารหนังสือรับรองของสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลของชายชาวต่างชาติผู้ขอจดทะเบียนสมรสทุกราย เป็นการไม่ปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย และหนังสือกรมการปกครอง และผู้อุทธรณ์ที่ 1 ได้ลงนามในฐานะนายทะเบียนด้วยตนเอง ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีคำสั่งมอบหมายจากนายอำเภอให้เป็นนายทะเบียน นอกจากนี้ไม่มีการสอบสวนคู่สมรสเกี่ยวกับพฤติการณ์การอยู่กินฉันสามีภริยา ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงได้ดำเนินการทางวินัยแก่ผู้อุทธรณ์ทั้งสองในกรณีดังกล่าว โดยผลการดำเนินการทางวินัยปรากฏว่า พฤติการณ์ของผู้อุทธรณ์ทั้งสองเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงจึงลงโทษลดเงินเดือนผู้อุทธรณ์ที่ 1 และตัดเงินเดือนผู้อุทธรณ์ที่ 2 และได้รายงานการลงโทษไปยัง อ.ก.พ. กระทรวง ซึ่ง อ.ก.พ. กระทรวง พิจารณาแล้วเห็นว่า พฤติการณ์ของผู้อุทธรณ์ทั้งสองเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นเหตุให้หญิงไทยกับชายชาวต่างชาติได้ทะเบียนสมรสไปและมีผลกระทบกับความมั่นคงของประเทศเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ มติของคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และฐานกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามมาตรา 82 (2)  และมาตรา 85 (1) (4) และ (7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีมติให้เพิ่มโทษเป็นไล่ออกจากราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมีคำสั่งเพิ่มโทษผู้อุทธรณ์ทั้งสองตามมติ อ.ก.พ. กระทรวง และผู้อุทธรณ์ได้อุทธรณ์คำสั่งเพิ่มโทษดังกล่าวต่อ ก.พ.ค.

คำวินิจฉัย

                    ก.พ.ค. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลจากการกระทำของผู้อุทธรณ์ทั้งสองทำให้บุคคลต่างด้าวจำนวน 88 ราย ได้ไปซึ่งทะเบียนสมรสกับหญิงไทย โดยไม่มีเจตนาที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสามีภริยา แต่มีวัตถุประสงค์ที่แท้จริงเพื่อนำทะเบียนสมรสใช้เป็นเอกสารขอพำนักในประเทศไทยได้เป็นเวลานาน อันเป็นช่องทางในการลักลอบประกอบอาชีพ รวมถึงสิทธิในการยื่นคำรับรองแปลงสัญชาติเป็นไทยซึ่งถือเป็นอาชญากรรมต่อสังคมไทย ทั้งในด้านความมั่นคง สังคม และเศรษฐกิจของประเทศไทย การปฏิบัติหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด นอกจากนั้น การที่ผู้ร้องขอจดทะเบียนสมรสได้รับการจดทะเบียนสมรสแล้ว ย่อมเป็นการได้ประโยชน์ที่มิควรได้ พฤติการณ์จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการทุจริต ตามมาตรา 85 (1) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 อีกด้วย ซึ่งในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการนั้น คณะรัฐมนตรีได้วางแนวทางการลงโทษไว้ว่าให้ไล่ออกจากราชการ จึงไม่อาจลดหย่อนโทษได้ ดังนั้น การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งเพิ่มโทษผู้อุทธรณ์ทั้งสองเป็นไล่ออกจากราชการตามมติ อ.ก.พ.กระทรวง จึงถูกต้องเหมาะสมกับกรณีความผิดแล้ว อุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์

วันที่

Tue, 2020/08/18 - 08:31

การขอถือสัญชาติไทยตามสามีของหญิงซึ่งเป็นคนต่างด้าวโดยการสมรส

ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508

1. หญิงซึ่งเป็นคนต่างด้าวและได้สมรสกับผู้มีสัญชาติไทย ถ้าประสงค์จะได้สัญชาติไทย ให้ยื่นคำขอตามแบบ ก.ช.1

    (1) ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอต่อผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล

    (2) ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนั้น

    (3) ผู้ยื่นคำขออยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานทูตหรือกงสุล ณ ที่ทำการสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยในประเทศนั้น   

2. เอกสารหลักฐานของผู้ขอ

    (1) ทะเบียนบ้าน (แบบ ท.ร.13 หรือ แบบ ท.ร.14)

    (2) หนังสือเดินทาง

    (3) ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (ถ้ามี)

    (4) ใบสำคัญการสมรส (แบบ คร.3)

    (5) ทะเบียนสมรส (แบบ คร.2 หรือแบบ คร.4)

    (6) ทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว (แบบ คร.22) และทะเบียนสมรสตามกฎหมายต่างประเทศ (กรณีจดทะเบียนสมรสตามแบบกฎหมายต่างประเทศ)

    (7) ทะเบียนการหย่า (แบบ คร.6 หรือแบบ คร.7) (ถ้ามี)

    (8) รูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซ.ม. (2 นิ้ว) จำนวน 12 รูป (หน้าตรงแต่งกายสุภาพ)

3. เอกสารหลักฐานของสามีผู้ขอ

    (1) บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ

    (2) ทะเบียนบ้าน (แบบ ท.ร.14)

    (3) สูติบัตร หรือทะเบียนคนเกิด หรือหนังสือรับรองสถานที่เกิด

    (4) ใบสำคัญทางทหารกองเกิน หรือหนังสือสำคัญทางทหารกองหนุน (แบบ สด.1 หรือแบบ สด.8 หรือแบบ สด.9 หรือแบบ สด.43)

    (5) หนังสือเดินทาง (ถ้ามี)

    (6) หนังสือสำคัญเปลี่ยนชื่อ (แบบ ช.3) (ถ้ามี)

    (7) หนังสือสำคัญเปลี่ยนชื่อสกุล หรือจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (แบบ ช.2 หรือแบบ ช.4) (ถ้ามี)

    (8) ทะเบียนการหย่า (แบบ คร.6 หรือ คร.7) (ถ้ามี)

    (9) หนังสือรับรองรายได้ ระบุตำแหน่งหน้าที่การงานและรายได้เงินเดือน โดยผู้มีอำนาจลงนามในหนังสือรับรองของ หน่วยงานนั้น (ราชการ รัฐวิสาหกิจ) เอกชน ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด และถ้าประกอบอาชีพอิสระให้ลงลายมือชื่อรับรองตนเอง โดยมีรายได้พอเลี้ยงครอบครัว มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อเดือน และกรณีผู้ยื่นคำขอประกอบอาชีพสามารถนำรายได้ของตนไปรวมกับรายได้ของสามีเพื่อให้ถึง 20,000 บาทต่อเดือน

    (10) หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ของนายจ้าง

    (11) แบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (แบบ ภ.ง.ด.90 หรือแบบ ภ.ง.ด.91) ของปีภาษีที่ผ่านมา (ให้เจ้าหน้าที่สรรพากรรับรองสำเนาเอกสารสำเนาถูกต้อง)

    (12) ใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามข้อ (11)

    (13) รูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซ.ม. (2 นิ้ว) จำนวน 12 รูป (หน้าตรงแต่งกายสุภาพ)

4. เอกสารหลักฐานบุตรของผู้ขอและสามี

    (1) สูติบัตร

    (2) ทะเบียนบ้าน

    (3) บัตรประจำตัวประชาชน (ถ้ามี)

    (4) หนังสือสำคัญเปลี่ยนชื่อ (แบบ ช.3) (ถ้ามี)

    (5) รูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซ.ม. (2 นิ้ว) จำนวน 2 รูป (หน้าตรงแต่งกายสุภาพ)

5. เอกสารหลักฐานบิดามารดาของสามีผู้ขอ

    (1) ทะเบียนบ้าน

    (2) บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ

    (3) หนังสือสำคัญเปลี่ยนชื่อ หรือหนังสือสำคัญเปลี่ยนชื่อสกุล หรือจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (แบบ ช.3 หรือ แบบ ช.2 หรือแบบ ช.4) (ถ้ามี)

    (4) ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว)

    (5) ใบมรณะบัตร (กรณีบิดา และหรือมารดา ได้ถึงแก่ความตาย)

6. ค่าธรรมเนียม

    (1) กฎกระทรวง (พ.ศ.2510) ออกตามความในพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ลง 15 พฤษภาคม 2510 ข้อ 12 (6) คำขออื่นๆ ฉบับละ 5 บาท (ห้าบาทถ้วน)

    (2) ค่าธรรมเนียมตรวจลายพิมพ์นิ้วมือ ทะเบียนประวัติอาชญากร (ทว.) 100 บาท

7. รายละเอียดเพิ่มเติม

    (1) รายการในเอกสารหลักฐานอันเป็นสาระสำคัญ ระบุข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของบุคคลต้องถูกต้องตรงกัน ถ้าไม่ถูกต้องตรงกันถือไม่ได้ว่าบุคคลตามเอกสารเป็นบุคคลคนเดียวกัน ให้ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเอกสารนั้น เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง หรือรับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน

    (2) นำพยานบุคคล จำนวน 4 ปาก พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ และทะเบียนบ้าน เพื่อสอบปากคำรับรองยืนยันว่าผู้ขอและสามีมีสัมพันธ์ฉันสามีภรรยากันจริง

    (3) ผู้ยื่นคำขอและสามีต้องจดทะเบียนสมรสกันมาไม่น้อยกว่า 3 ปี ในกรณีที่ไม่มีบุตร และต้องไม่น้อยกว่า 1 ปี ในกรณีที่มีบุตร (นับแต่วันที่จดทะเบียนสมรสถึงวันที่ยื่นคำขอ)

ติดต่อสอบถาม

    งานขอถือสัญชาติไทยตามสามี ฝ่ายกฎหมายและวินัย กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล
ตั้งอยู่ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  อาคาร 6 ชั้น 1 ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

โทร. 0-2252-5961 (ในเวลาราชการ)

จดทะเบียนสมรสกับต่างด้าวใช้อะไรบ้าง

เอกสารที่ต้องเตรียม.
คำร้องขอนิติกรณ์ (ทั้งสองคน).
คำร้องขอจดทะเบียนสมรส (ทั้งสองคน).
หนังสือเดินทางฉบับจริง + สำเนา อย่างละ 1 ชุด (ทั้งสองคน).
บัตรประชาชนฉบับจริง + สำเนา อย่างละ 1 ชุด (ชาวไทย).
ทะเบียนบ้านฉบับจริง + สำเนา อย่างละ 1 ชุด (ชาวไทย).
หนังสือรับรองสถานะภาพความโสด (ชาวต่างชาติ).

คนต่างด้าวจดทะเบียนสมรสกับคนไทยได้ไหม

การจดทะเบียนสมรสมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?? ต้องไปยื่นขอใบรับรองความเป็นโสดจากสถานทูตของชาวต่างชาติ ประจำประเทศไทย นำใบโสดไปแปลเป็นภาษาไทยและนำไปรับรองตราประทับจากกระทรวงการต่างประเทศ ไปที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตตามเวลาที่นัดหมายกับเจ้าหน้าที่ พร้อมล่ามและพยาน (พยานต้องนำบัตรประชาชนไปด้วย)

เขตไหนรับจดทะเบียนสมรสกับต่างชาติ

สำนักเขตในกรุงเทพมหานครมีหลายแห่งที่รับจดทะเบียนให้ชาวต่างชาติได้แก่ หลักสี่ บางรัก จตุจักร สาทร ปทุมวัน พระโขนง ฯลฯ การจดทะเบียนจำเป็นต้องมีล่าม 1 คน และพยานอีก 2 คน นายทะเบียนจึงจะรับจดทะเบียน อย่างไรก็ตาม โปรดติดต่อสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอก่อนวันจดทะเบียน

จดทะเบียน สมรสกับ ต่างชาติ ใช้ เวลา กี่ วัน

ทุกขั้นตอน สะดวก รวดเร็ว ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์มากว่า 10 ปี ท่านจะได้ทะเบียนสมรส และ ใบบันทึกสมรม ภายใน 4 - 5 วันทำการ (สำหรับบางประเทศ) ท่านจะได้รับเอกสารครบถ้วนพร้อมบริการแปลเอกสารใบทะเบียนสมรส และ ใบบันทึกสมรส เพิ่ม ฟรี ประเทศที่ทางบริษัทรับบริการจดทะเบียนสมรสมีดังต่อไปนี้ ประเทศอเมริกา

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf