โรคสมองและระบบประสาท อาการ

Center of Excellence

สมองและระบบประสาทมีโครงสร้างที่ซับซ้อน ทำหน้าที่ควบคุมกลไกต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหว การรับความรู้สึก การคิด การจดจำ รวมถึงการแสดงออกด้านต่าง ๆ ของร่างกาย หากเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับสมองและระบบประสาทจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และทันท่วงที

Scope of Service

“ศูนย์สมองและระบบประสาท” โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนลพร้อมดูแลรักษาทุกปัญหาที่เกี่ยวกับสมอง และระบบประสาท โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางด้านสมองและระบบประสาท รวมถึงแพทย์สหสาขาวิชาด้านอื่น ๆ พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบำบัด นักโภชนาการที่มีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยโรคสมองและระบบประสาท พร้อมด้วยเครื่องมือ เทคโนโลยี และวิธีการรักษาที่ทันสมัย โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการรักษาที่ต้นเหตุและป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ ร่วมกับการฟื้นฟูสมองโดยคำนึงถึงผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

บริการของศูนย์สมองและระบบประสาท ครอบคลุม

  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคปวดศีรษะ
  • โรคลมชัก
  • โรคเกี่ยวกับการนอนหลับที่ผิดปกติ
  • โรคพาร์กินสันและการเคลื่อนไหวผิดปกติ
  • โรคเกี่ยวข้องกับความจำ เช่น อัลไซเมอร์
  • เนื้องอกในสมอง
  • ศัลยกรรมประสาทและโรคทางระบบประสาทอื่น ๆ

Service Highlights

  • มาตรฐานการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (Primary Stroke Care) ระดับสากลที่รับรองโดย JCI (Joint Commission International) จากประเทศสหรัฐอเมริกา
  • Sleep Lab (Polysomnography) ประเมินหาสาเหตุการนอนหลับที่ผิดปกติ
  • เครื่อง Actigraphy เครื่องมือจับวัดการเคลื่อนไหวติดตามพฤติกรรมคนไข้ขณะนอนหลับ
  • เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง หรือ CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) ปรับความดันลมเพื่อให้ทางเดินหายใจส่วนต้นเปิดขยายตัวไม่ให้มีการอุดกั้นขณะที่นอนหลับ ลดอาการกรนและหยุดหายใจขณะหลับ
  • เทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยโรคทางสมอง เช่น อัลตราซาวนด์ด้วยคลื่นความถี่สูงหลอดเลือดที่บริเวณคอ (Carotid Duplex Scan) การตรวจคลื่นสมองไฟฟ้า (EEG: Electroencephalography) การตรวจเอกซเรย์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI: Magnetic Resomnance Imaging) โดยติดอุปกรณ์คลื่นไฟฟ้าสมอง (Head Box) การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG – fMRI) หน่วยมอนิเตอร์คลื่นสมองเพื่อวินิจฉัยโรคลมชัก EMU (Epilepsy Monitoring Units) การตรวจด้วยเครื่อง SPECT Scan (Single Photon Emission Topography) และ PET/CT (Positron Emission Tomography – Computed Tomography) ที่ระบุตำแหน่งจุดกำเนิดการชักในสมองได้ชัดเจนมากขึ้น
  • การรักษาด้วยเทคนิคต่าง ๆ เช่น การใช้ไฟฟ้ากระตุ้นระบบประสาท การผ่าตัดสมองแบบแผลเล็กโดยที่ไม่ต้องเปิดกะโหลก เทคนิคการผ่าตัดสมองด้วยเทคนิคนำวิถี (Stereotactic Neurosurgery) เป็นต้น

โรคความเสื่อมทางสมองควรต้องใส่ใจรู้เท่าทันเพื่อป้องกันและหาแนวทางการรักษาได้อย่างเหมาะสม นอกจากจะมีคุณภาพชีวิตที่สดใส สมองยังต้องไบรท์ คิด วิเคราะห์ และแยกแยะเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างดี

การรู้เท่าทันความเสื่อมของโรคทางสมอง 3M ได้แก่ Memory (โรคอัลไซเมอร์) Moving (โรคพาร์กินสัน) และ Multiple Sclerosis (โรคเอ็มเอสหรือปลอกเยื่อหุ้มประสาทอักเสบ) ควรดูแลสมองตั้งแต่วัยทำงาน เพราะสมองมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย การสั่งการ การเคลื่อนไหว พฤติกรรม และหน้าที่ต่าง ๆ แต่เมื่ออายุมากขึ้น สมองก็เสื่อมไปตามวัย ทำให้อุบัติการณ์ของโรคสมองเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ จึงยิ่งต้องเฝ้าสังเกตอาการและตรวจวินิจฉัยก่อนอาการของโรคจะลุกลามเกินป้องกันและรักษา

รู้ให้ทันอัลไซเมอร์

ปรากฏการณ์โรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ที่เกิดขึ้นกับคนไทยและยังเป็นปัญหาสุขภาพที่คุกคามคนไทยมานานแล้ว ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเซลล์สมองที่ถูกทำลายด้วยหลายสาเหตุ เช่น การเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย พันธุกรรม อุบัติเหตุทางสมอง โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น โรคนี้มีระยะเวลาในการก่อโรคนาน 15 – 20 ปี กว่าจะแสดงออกถึงอาการให้เห็นอย่างชัดเจน เดิมพบว่าคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจะเป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ 10% ส่วนคนที่อายุ 85 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ 40 – 50% มีการศึกษาพบว่า โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์จะเริ่มมีอาการเริ่มต้น คือ ความจำถดถอยก่อน ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นการยากในการวินิจฉัยจากภาวะความจำถดถอยตามอายุ จากภาวะความจำถดถอยที่เป็นการเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ จากการศึกษาจะเห็นมีสถิติของผู้ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ทั่วโลกถึงเกือบ 50 ล้านคน และในเมืองไทยคาดว่าจะมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงระยะเวลา ใน 10 ปีข้างหน้า

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ให้หายขาดได้ แต่จากการศึกษาวิจัยพบว่า ถ้าตรวจพบว่าเป็นโรคความจำถดถอยในกลุ่มที่จะเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนจะเกิดโรค สามารถที่จะชะลอตัวโรคได้ โดยการดูแลตัวเองอย่างดี รวมทั้งการใช้ยาป้องกัน เพื่อชะลอตัวโรค ปัญหาในปัจจุบัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้อยู่ ปล่อยจนเป็นโรคสมองเสื่อมแล้ว ซึ่งเกินกว่าจะรักษาได้ ดังนั้นการตรวจคัดกรองว่ามีความเสี่ยงหรือไม่ ตั้งแต่อายุ 50 ปี ถือว่าเป็นวิธีการรักษาป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด

หากสามารถวินิจฉัยในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้แต่เนิ่น ๆ ทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาและผู้ป่วยปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตสามารถช่วยชะลอตัวโรค ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น อ่านหนังสือ การทำงาน โดยไม่เกษียณตัวเอง เล่นเกมที่อาศัยการคิดคำนวณ การพบปะพูดคุยเข้าสังคม ดูแลสุขภาพจิตให้ดี คิดบวก ลดความเครียด ทานอาหารที่มีประโยชน์ การนอนหลับที่ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยชะลอหรือทุเลาอาการเสื่อมที่จะเกิดขึ้นได้

อย่าชะล่าใจกับพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสันเป็นโรคทางสมองที่พบได้เป็นอันดับ 2 รองจากอัลไซเมอร์และคาดการณ์ว่าจะมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งโรคพาร์กินสันจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า ความผิดปกติของระบบการเคลื่อนไหว (Motor System Disorders) ซึ่งทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่มาของโรคได้แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากเซลล์สมองผลิตสารที่ชื่อว่า ‘โดพามีน’ ไม่เพียงพอ ซึ่งต้องใช้การสแกนสมอง (CT Scan หรือ MRI Scan) และเทคโนโลยีเครื่องสแกนรังสี F-DOPA PET Scan ซึ่งทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่มาของโรคได้แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากเซลล์สมองผลิตสารที่ชื่อว่า ‘โดพามีน’ ไม่เพียงพอ ซึ่งต้องใช้การสแกนสมอง (CT Scan หรือ MRI Scan) และเทคโนโลยีเครื่องสแกนรังสี F-DOPA PET Scan

สำหรับการวินิจฉัยการทำงานของสมองและตรวจปริมาณสารโดพามีน หน้าที่ของโดพามีนคือ เป็นสารสื่อประสาทที่ผลิตขึ้นในสมอง ช่วยให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวอย่างสมดุลและประสานกัน เมื่อขาดสารนี้ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติทางประสาทส่วนควบคุมการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดอาการ ดังต่อไปนี้

  • สั่น (Tremor) ที่มือ แขน ขา กราม และใบหน้า
  • กล้ามเนื้อเกร็ง (Rigidity) แขนขาหรือลำตัวแข็งไม่สามารถขยับได้
  • เคลื่อนไหวช้าลง (Bradykinesia)
  • เสียการทรงตัว (Postural Instability)
  • กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน

เมื่ออาการเหล่านี้ทวีความรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยจะเดิน พูด หรือทำกิจวัตรประจำวันง่าย ๆ ได้อย่างยากลำบาก มีปัญหาด้านการกลืน การเคี้ยว การพูด การถ่ายปัสสาวะ มีอาการท้องผูก นอกจากนี้อาจมีความจำหลงลืม อาการซึมเศร้า อารมณ์เปลี่ยนแปลง และนอนไม่หลับร่วมด้วย


ปัจจุบันทางการแพทย์มีเทคโนโลยีใหม่ในการติดตามการดำเนินของโรคในผู้ป่วยคือ เครื่องบันทึกการเคลื่อนไหวพีเคจี (PKG : Parkinson Kinetic Graphy) เป็นการบันทึกการเคลื่อนไหวของพาร์กินสันไคเนติกราฟที่จะถูกนำมาใช้ประเมินการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยทั้งวันและทุกวันโดยอัตโนมัติ เหมือนนาฬิกาสวมใส่ที่ข้อมือของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันประมาณ 6 – 10 วัน และเมื่อผู้ป่วยส่งเครื่องบันทึกข้อมูลกลับมาแพทย์ก็จะทราบถึงการเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนไหว หลังจากที่ผู้ป่วยทานยาเลโวโดปา (levodopa) แต่ละวันของผู้ป่วย รวมไปถึงเครื่องจะแจ้งเตือน บันทึกของการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป

โรคเอ็มเอสอย่าละเลย

โรคเอ็มเอส (MS) หรือ Multiple Sclerosis เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของปลอกประสาทในระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งได้แก่ สมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทตา ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรค แต่เชื่อว่าโรคนี้อาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม พันธุกรรม การติดเชื้อไวรัสบางชนิด การที่มีระดับวิตามินดีในร่างกายต่ำ หรือมีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยโรคเอ็มเอสจะเกิดอาการขึ้นในช่วงอายุระหว่าง 20 – 40 ปี ซึ่งเป็นประชากรที่อยู่ในวัยทำงาน จากการสำรวจพบว่า 3 ใน 4 ของผู้ป่วยเอ็มเอสได้รับผลกระทบต่อการทำงาน ทั้งนี้พบว่าหากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษา มากกว่าร้อยละ 30 ของผู้ป่วยเอ็มเอสจะเกิดภาวะทุพพลภาพภายใน 20 – 25 ปี หลังเริ่มมีอาการครั้งแรกและพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2 เท่า รวมไปถึงมีโอกาสถ่ายทอดทางพันธุกรรมหากพบมีพ่อแม่หรือพี่น้องเป็นประมาณ 1%

ลักษณะเฉพาะของโรคเอ็มเอส คือ มักพบอาการผิดปกติของระบบประสาทเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ซึ่งเป็นผลมาจากการอักเสบของระบบประสาทส่วนกลางได้แก่ สมอง ไขสันหลัง รวมถึงเส้นประสาทที่เกี่ยวกับการมองเห็น ความเสียหายที่เกิดจากการทำลายปลอกหุ้มประสาทจะทำให้การส่งสัญญานระหว่างเซลล์ประสาทช้าลงหรือขัดขวางการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทส่วนกลางไปตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกาย

ซึ่งอาการที่เกิดจากการกำเริบของโรคมีได้หลากหลายแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละรายแต่ที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • ปัญหาเกี่ยวกับการเดิน มีอาการเกร็งปวด ขากระตุก ปัสสาวะไม่ออก
  • อาการชาแน่น ๆ รอบอก อ่อนแรงหรือรู้สึกเหมือนมีเข็มแทง ปวดร้าวที่คอและกลางหลัง
  • ปัญหาเรื่องการมองเห็น ตามัวกึ่งเฉียบพลัน เห็นภาพซ้อน สีผิดเพี้ยน
  • ปัญหาเรื่องการทรงตัว ทรงตัวลำบากมีลักษณะเฉพาะคือ มักเป็นและดีขึ้นเอง จากนั้นจะมีอาการกำเริบซ้ำในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งใหม่

ดังนั้นต้องหมั่นสังเกตตนเอง เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญานของโรคเอ็มเอส เพราะโรคเอ็มเอสยังไม่ทราบสาเหตุของโรคอย่างแน่ชัดจึงไม่สามารถป้องกันได้ ควรดูแลสุขภาพของตน ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลด ละ เลิกสุราและบุหรี่ พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่เครียด รวมทั้งเมื่อพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายให้รีบไปพบแพทย์ทันทีน่าจะเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดให้ห่างไกลจากโรคเอ็มเอสและโรคร้ายแรงอื่น ๆ อีกด้วย

ข้อมูล :

ดร.นพ.โยธิน ชินวลัญช์ อายุรแพทย์ด้านสมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล

นพ.อภิชาติ พิศาลพงศ์ อายุรแพทย์ด้านสมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล

พญ.จันจิรา สาธุกิจชัย อายุรแพทย์ด้านสมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล

สอบถามเพิ่มเติม
โทร. 0 2310 3000 หรือ โทร. 1719
Email: [email protected] 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf