การวิจารณ์งานศิลปะลักษณะตัดสิน จำนวนกรรมการ ข้อใดเหมาะสม

มาทำความเข้าใจกับ ความหมายของ การวิเคราะห์ และการวิจารณ์ ศิลปะกันก่อน

การวิเคราะห์งานศิลปะ คือ การพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเพื่อศึกษางานศิลปะซึ่งมีการแบ่งออกเป็นส่วนๆ ไม่ว่าจะทางด้านทัศนธาตุ , องค์ประกอบศิลป์ รวมทั้งความสัมพันธ์ต่างๆ โดยนำข้อมูลในหลายปัจจัย ในหลายองค์ประกอบ มาประเมินผลงานทางด้านศิลปะว่ามีคุณค่าทางด้านใดบ้าง

การวิจารณ์งานศิลปะ คือ การแสดงความคิดเห็นทางด้านศิลปะ ที่ศิลปินได้รังสรรค์ขึ้นมา เป็นการแสดงทัศนะทางด้านสุนทรียศาสตร์ รวมทั้งสาระอื่นๆ เพื่อให้ได้นำไปปรับปรุงในผลงานชิ้นต่อไป หรือ ใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการตัดสินผลงาน อีกทั้งยังเป็นการฝึกวิธีวิเคราะห์ ให้เห็นความแตกต่างทางด้านคุณค่าในผลงานชิ้นนั้นๆ

คุณสมบัติที่นักวิจารณ์พึงมี

  • ต้องมีความรู้เกี่ยวกับศิลปะแบบกว้างขว้าง ในหลายด้าน
  • ต้องมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของศิลปะ
  • ต้องมีความรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์
  • ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างขวาง มั่นใจในตนเอง
  • กล้าแสดงออกตามหลักวิชาการและตามความรู้สึกที่สั่งสมมาจากประสบการณ์

ทฤษฎีการสร้างงานศิลปะ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่…

  • เลียนแบบ – เกิดจากการประจักษ์ในความงามในธรรมชาติ ศิลปินจึงได้ลอกเลียนแบบมา ให้มีความเหมือนทั้งรูปร่าง , รูปทรง และสีสัน
  • สร้างรูปทรงสวยงาม – คือ การสร้างสรรค์รูปทรงใหม่ ให้เกิดความสวยงาม และประกอบไปด้วยทัศนธาตุ ได้แก่ เส้น , รูปทรง , สี , น้ำหนัก , บริเวณว่าง รวมทั้งเทคนิคสร้างสรรค์ผลงาน
  • แสดงอารมณ์ – คือ สร้างงานให้มีความรู้สึก
  • แสดงจินตนาการ – คือ แสดงภาพจินตนาการให้ผู้ชมได้สัมผัส

แนวทางประเมินคุณค่าของงานศิลปะ

สำหรับการประเมินคุณค่างานศิลปะ จะมีการวิเคราะห์จาก 3 ด้าน ได้แก่…

ด้านความงาม

คือ การวิเคราะห์รวมทั้งประเมินคุณค่าทางด้านทักษะฝีมือ รวมทั้งการใช้ทัศนธาตุทางศิลปะ ตลอดจนการจัดองค์ประกอบศิลป์ เป็นการวิเคราะห์ว่าผลงานชิ้นนี้ มีการเปล่งประกายทางด้านความงดงามของศิลปะได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งทำให้ผู้ดูเกิดความเข้าใจในในสุนทรียภาพ โดยลักษณะของการแสดงออกทางด้านความงามในศิลปะ จะเต็มไปด้วยความหลากหลายซึ่งจะมีความแตกต่างกันออกไปตามแต่รูปแบบของยุคสมัย เพราะฉะนั้นเมื่อสรุปการวิเคราะห์ ตลอดจนการวิเคราะห์งานศิลปะทางด้านความงาม ซึ่งก็จะมีการตัดสินในเรื่องรูปแบบต่างๆ

ด้านสาระ

คือ การวิเคราะห์ เพื่อพิจารณาคุณค่าของผลงานศิลปะว่า มีคุณธรรม , จริยธรรม รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงจุดประสงค์ทางด้านจิตวิทยารวมทั้งให้สิ่งใดต่อผู้ชมบ้าง โดยจะเป็นสาระที่เกี่ยวกับสิ่งใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็น ธรรมชาติ , สังคม , ศาสนา , การเมือง , ความฝัน และอื่นๆ อีกมากมาย

 ด้านอารมณ์ความรู้สึก

คือ การประเมินคุณค่าทางด้านคุณสมบัติ ซึ่งเป็นการกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึก อีกทั้งยังเป็นการสื่อความหมายได้อย่างมีนัยยะสำคัญซ่อนอยู่ โดยเป็นผลของการใช้เทคนิคซึ่งแสดงออกให้เห็นถึงความคิด , พลัง ตลอดจนความรู้สึกที่ปรากฏอยู่ในผลงาน

การประเมินคุณค่าของงานทัศนศิลป์

             การประเมินงานศิลปะ หมายถึง การสร้างหลักเกณฑ์เพื่อประเมินผลงานศิลปะให้เกิดความเที่ยงธรรม เป็นการรวบรวมข้อมูลมาประกอบพิจารณาในทุก ๆ ด้านเพื่อการตัดสินใจ การประเมินมีความสำคัญมากและมีผลกระทบโดยตรงต่อนักเรียนหรือศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน จึงควรดำเนินการด้วยความรอบคอบใช้หลักวิชามาประกอบ และมีความยุติธรรมอย่างทั่วถึง ซึ่งโดยทั่วไปการประเมินคุณค่าของงานทัศนศิลป์จะพิจารณาจาก  3  ด้าน ได้แก่

             1. ด้านความงาม  เป็นการประเมินคุณค่าในด้านทักษะฝีมือ การใช้ทัศนธาตุ[1] ทางศิลปะและการจัดองค์ประกอบศิลป์ ว่าผลงานชิ้นนี้แสดงออกทางความงามของศิลปะได้อย่างเหมาะสม ส่งผลต่อผู้ชมหรือผู้ดูให้เกิดความชื่นชมในสุนทรียภาพเพียงใด การแสดงออกทางความงามของศิลปะแต่ละยุค แต่ละสมัยจะมีความแตกต่างกัน ผู้ประเมินจะต้องศึกษาให้เกิดความรู้ความเข้าใจด้วย

             2.  ด้านเนื้อหาสาระ  เป็นการประเมินคุณค่าของผลงานศิลปะแต่ละชิ้นว่ามีลักษณะเนื้อหาสาระอะไรกับผู้ชม ที่จะส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนจุดประสงค์ต่างๆ ซึ่งอาจเป็นสาระเกี่ยวกับธรรมชาติ สังคม ศาสนา การเมือง ปัญญา ความคิดและจินตนาการ

             3.  ด้านอารมณ์ความรู้สึก  เป็นการประเมินคุณค่าที่สามารถกระตุ้นอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ดูโดยการใช้เทคนิควิธีการและสื่อความหมายของวัสดุที่นำมาสร้างสรรค์ ให้แสดงออกถึงความคิด จินตนาการในผลงาน


การประเมินคุณค่าของงานทัศนศิลป์จะพิจารณาด้านความงาม ด้านเนื้อหาสาระ และด้านอารมณ์ความรู้สึก

             หลักเกณฑ์ในการประเมินงานทัศนศิลป์ 
                  มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้ 
                       1.  สื่อความหมายได้อย่างชัดเจนและสอดคล้องกับหัวข้อเรื่องที่กำหนด 
                       2.  ความคิดริเริ่มในการสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงถึงความก้าวหน้า ความแปลกใหม่ทันสมัย
                      3.  เทคนิควิธีการแสดงออกที่ช่วยให้ผลงานมีคุณค่า มีลักษณะเป็นของตนเอง ไม่ลอกเลียนแบบและมีความสามารถในการใช้วัสดุสร้างสรรค์ 
                       4.  มีหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ หรือการจัดภาพที่เหมาะสมสวยงาม
                       5.  มีความประณีตและเรียบร้อยหรือความสมบูรณ์ของผลงานศิลปะ

คณะกรรมการตัดสินการแข่งขันการวาดภาพ กำลังประเมินผลงานผู้เข้าร่วมการแข่งขัน

             ประโยชน์ของการประเมินคุณค่างานทัศนศิลป์
                  มีประโยชน์และความสำคัญ  4  ด้าน ได้แก่
                  1.  ด้านส่งเสริมการพัฒนาผลงาน
                      ข้อมูลที่ได้จากการประเมิน ช่วยให้เห็นลักษณะจุดด้อย จุดเด่น ลักษณะการถ่ายทอดทางด้านการจัดองค์ประกอบศิลป์ เทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานและความสมบูรณ์ของผลงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สร้างสรรค์งานที่จะนำข้อมูลเหล่านั้นไปสู่การแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป 
                  2.  ด้านส่งเสริมการตัดสินผลงานอย่างมีหลักเกณฑ์
                      การประเมินโดยการจำแนกส่วนประกอบต่างๆ ให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียของการแสดงออกทางทัศนธาตุ องค์ประกอบศิลป์ เทคนิคกระบวนการสร้างสรรค์ วัสดุที่ใช้และเนื้อหาสาระอย่างมีหลักเกณฑ์ทางศิลปะ เป็นข้อมูลที่ช่วยส่งเสริมในการตัดสิน ประเมินคุณค่า โดยการให้คะแนนของครูต่อนักเรียน ของคณะกรรมการตัดสินในการประกวดแข่งขันงานศิลปะ รวมถึงเป็นข้อมูลในการพิจารณาตัดสินใจเลือกซื้อผลงานทางศิลปะของผู้ที่สนใจ 
                  3.  ด้านส่งเสริมการพัฒนาเรียนรู้
                      ในการประเมินคุณค่าของงานศิลปะ ผู้ประเมินต้องมีคุณสมบัติทางด้านความรู้ ความเข้าใจในเทคนิคการสร้างงานศิลปะและสาระต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการแสดงออกในผลงาน เพื่อนำสิ่งดังกล่าวมาเป็นข้อมูลในการประเมิน 
                  4.  ด้านส่งเสริมผลงานให้มีคุณค่า
                      ผลงานศิลปะที่ได้รับการประเมินให้ได้รับรางวัล หรือได้รับการยกย่องจะทำให้ศิลปินผู้สร้างสรรค์มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักยอมรับของสาธารณชน เป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพทางศิลปะ ผลงานที่สร้างสรรค์มีมูลค่าสูงขึ้นและเกิดกระแสนิยมในผลงานศิลปะอย่างแพร่หลาย ทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

 
การประเมินคุณค่าผลงานศิลปะช่วยส่งเสริมการพัฒนาผลงาน พัฒนาการเรียนรู้ และทำให้ผู้สร้างสรรค์งาน นำข้อมูลเหล่านั้นไปสู่การแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

 การวิจารณ์งานทัศนศิลป์[2]

             การวิจารณ์งานศิลปะ  หมายถึง การแสดงความคิดเห็นที่มีผลต่อผลงานศิลปะอย่างมีหลักการ เพื่อแสดงความชื่นชมและปรับปรุงพัฒนาผลงาน ตลอดจนให้สามารถประเมินค่าผลงานได้ด้วยความเที่ยงธรรม การวิจารณ์มีทั้งหลักการวิจารณ์ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล และการวิจารณ์ด้วยเหตุผลรสนิยมและทัศนคติส่วนตัว

             จุดประสงค์ของการวิจารณ์งานศิลปะ 
                มีจุดประสงค์ ดังนี้
                1.  วิจารณ์เพื่อความชื่นชม  เป็นการวิจารณ์ส่วนตัวที่มีต่อผลงานศิลปะนั้นๆ เป็นประโยชน์ในการถ่ายทอดความคิดเห็นและความรู้สึกให้ผู้อื่นได้รับทราบ หรือแลกเปลี่ยนทัศนะซึ่งกันและกัน ช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อกัน
                2.  วิจารณ์เพื่อปรับปรุงพัฒนาผลงาน  เป็นการวิจารณ์ผลงานศิลปะในกิจกรรมการเรียนการสอนในระหว่างปฏิบัติงาน เพื่อนำข้อคิดเห็นมาปรับปรุงพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้น เช่น ครูวิจารณ์ผลงานนักเรียนหรือนักเรียนวิจารณ์ผลงานของตนเองหรือของเพื่อนในชั้นเรียน
                3.  วิจารณ์เพื่อประเมินผลหรือตัดสิน  เป็นการวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลในทุกๆ ด้าน เกี่ยวกับผลงานศิลปะ เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจในการวัดประเมินผลการสร้างงานศิลปะ หรือในการตัดสินการประกวดแข่งขันผลงานศิลปะด้านต่างๆ ซึ่งจะต้องมีหลักเกณฑ์และเครื่องมือการวัดผลประเมินผล


คณะกรรมการตัดสินการแข่งขันวาดภาพ กำลังวิเคราะห์ วิจารณ์ภาพ เพื่อประเมินผลหรือตัดสิน

             องค์ประกอบของการวิจารณ์งานศิลปะ
                การวิจารณ์งานศิลปะมีองค์ประกอบสำคัญที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันเป็น  3  ส่วนคือ 
                1.  ศิลปิน (Artist) เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่ถ่ายทอดมาจากแรงบันดาลใจ ทั้งในลักษณะแรงบันดาลใจที่ได้มาจากธรรมชาติและแรงบันดาลใจจากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยผ่านสื่อวัสดุอุปกรณ์เป็นผลงานศิลปะ ศิลปินจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในอันดับแรก  เพราะหากไม่มีศิลปินก็ไม่มีผลงานศิลปะให้ผู้ชมได้วิเคราะห์วิจารณ์


ศิลปินกำลังเขียนภาพโดยใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ ให้ผู้ชมได้วิเคราะห์วิจารณ์

                2.  ผลงานศิลปะ (Work of ART) เป็นสิ่งที่เกิดจากการถ่ายทอดความคิดทางภูมิปัญญาของศิลปินผ่านสื่อ วัสดุด้วยเทคนิคการสร้างสรรค์ที่หลากหลาย เช่น จิตรกรรม การวาดเส้น ภาพพิมพ์ [3] ประติมากรรม[4] สถาปัตยกรรม[5] เป็นต้น ผลงานศิลปินเหล่านี้สัมผัสได้ด้วยการมองเห็น มีคุณค่าต่อผู้ชมและสังคมอย่างใดอย่างหนึ่ง


ผลงานภาพจิตรกรรมที่เกิดจากการถ่ายทอดความคิดทางภูมิปัญญาของศิลปินผ่านสื่อ วัสดุด้วยเทคนิคการสร้างสรรค์

                3.  ผู้ชม (Spectator) เป็นประชาชนที่มาชมผลงานศิลปะซึ่งนับว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างยิ่ง ผู้ชมเหล่านี้เมื่อได้สัมผัสรับรู้ ชื่นชมผลงานศิลปะจะเกิดปฏิกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งทางความรู้สึก บางคนรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ แต่ไม่แสดงความคิดเห็น ในขณะที่บางคนจะแสดงความคิดเห็นวิจารณ์ว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อศิลปินในการพิจารณาปรับปรุงการสร้างผลงานต่อๆ ไป แม้ว่าผู้ชมที่วิจารณ์บางคนอาจมีประสบการณ์ ความรู้ ความเข้าใจด้านศาสตร์แห่งศิลปะน้อย แต่เมื่อฝึกฝนการวิพากษ์วิจารณ์ โดยพยายามศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในผลงานศิลปะประเภทที่ตนสนใจ ผสมผสานกับอารมณ์ความรู้สึกส่วนตัว ก็จะช่วยให้การดูและชื่นชมงานศิลปะมีความประทับใจยิ่งขึ้น

นักเรียนหรือผู้เข้าชมงานศิลปะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการวิพากษ์วิจารณ์ผลงานศิลปะ

             กระบวนการวิจารณ์งานศิลปะตามหลักและวิธีการ
                ในการวิจารณ์งานศิลปะนั้น สิ่งสำคัญก็คือข้อมูลที่นำมาวิจารณ์ได้มาจากการวิเคราะห์ หาคุณค่าผลงานใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความงาม ด้านสาระและด้านอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งจะต้องนำมาจัดลำดับขั้นตอนการวิจารณ์ตามหลักและวิธีการวิจารณ์  5  ขั้นตอน คือ

                1.  ขั้นระบุข้อมูลของผลงาน เป็นข้อมูลรายละเอียดสังเขปเกี่ยวกับประเภทงาน ชื่อผลงาน ชื่อศิลปิน ขนาดวัสดุ เทคนิควิธีการ สร้างเมื่อ พ.ศ. ใด ปัจจุบันติดตั้งอยู่ที่ไหน รูปแบบการสร้างสรรค์เป็นแบบใด ตัวอย่าง เช่น


ภาพราตรีประดับดาว (Starry Night)  ผลงานของฟินเซนต์ ฟาน ก็อก (Vincent van Gogh)
ขนาดภาพ 75.5 x 92 ซม.  เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ   ผลงานปี ค.ศ. 1889

             ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่นิวยอร์กรูปแบบการสร้างสรรค์เป็นงานศิลปะสากล[6] ที่สะท้อนให้   เห็นถึงการถ่ายทอดที่ผสมผสานกัน จากแรงบันดาลใจภายนอก แรงบันดาลใจภายในกับจินตนาการ

                2.  ขั้นพรรณนาผลงาน  เป็นการบันทึกข้อมูลที่เกิดจากการมองเห็นภาพผลงานในขั้นต้นว่า เป็นภาพอะไร เช่น ภาพคน ภาพสัตว์ ภาพทิวทัศน์ ภาพหุ่นนิ่ง เป็นต้น มีเทคนิคในการสร้างสรรค์แบบใด ตัวอย่างเช่น


ภาพน้ำพริกปลาทู   เทคนิคสีน้ำบนกระดาษ    ผลงานของพินิตย์  รุ่งแจ้ง

             เป็นภาพแสดงการถ่ายทอดรูปแบบเหมือนจริง  (Realistic)[7]    การจัดองค์ ประกอบของรูปร่าง วงกลม และทิศทางแนวเส้นของรูปได้อย่างกลมกลืน ลดหลั่นเป็นจังหวะต่อเนื่อง ใช้น้ำหนักสี และขนาดที่แตกต่างกันของภาพทำให้มีจุดเด่นปลาทู และจานชามไม่กลืนหายลงไปกับผักที่เป็นพื้นรองรับ

                3.  ขั้นวิเคราะห์ เป็นการดูลักษณะภาพรวมของผลงานว่าจัดอยู่ในประเภทใด รูปแบบการถ่ายทอดเป็นแบบใด จำแนกทัศนธาตุและองค์ประกอบศิลป์[8] ภาพรวมเป็นส่วนย่อยให้เห็นว่ามีหลักการจัดภาพที่กลมกลืนหรือขัดแย้งอย่างไร

                4.  ขั้นตีความ เป็นการค้นหาความหมายของผลงานว่า ศิลปินหรือผู้สร้างสรรค์ต้องการสื่อให้ผู้ชมผลงานได้รับรู้เกี่ยวกับอะไร เช่น สภาพปัญหาในชุมชน สังคมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น

                5.  ขั้นประเมินผล เป็นการประเมินคุณค่าของผลงานศิลปะชิ้นนั้น จากการพิจารณาทุกข้อในเบื้องต้น สรุปให้เห็นข้อดีและข้อด้อยในด้านเนื้อหาและเรื่องราว หลักทัศนธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ ทักษะฝีมือและการถ่ายทอดความงาม เพื่อการพัฒนาหรือตัดสินผลงานชิ้นนั้น

             ประโยชน์ของการวิจารณ์ 
                1.  ศิลปินได้ข้อคิดนำไปปรับปรุง พัฒนาการสร้างสรรค์ผลงานให้ดีขึ้น 
                2.  ผู้วิจารณ์มีความรู้ ความเข้าใจ และได้ชื่นชมศิลปะมากขึ้น 
                3.  ศิลปิน ผู้ชม ผู้วิจารณ์ นักวิชาการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทำให้เกิดประสบการณ์ในการวิเคราะห์วิจารณ์มากขึ้น 
                4.  ผลงานศิลปะ ศิลปินและผู้วิจารณ์ เป็นที่รู้จักในวงการศิลปะและสังคมมากขึ้น
                5.  ช่วยจรรโลงจิตใจของคนในสังคมให้มีความสุข มีสุนทรียภาพและมีรสนิยมทางความงาม

             การวิจารณ์และชื่นชมงานศิลปะในโรงเรียน
                โรงเรียนเป็นสถาบันหลักของสังคมที่มีหน้าที่ให้การศึกษาและเป็นศูนย์กลางทางวิชาการ การวิจารณ์และการแสดงความชื่นชอบงานศิลปะในโรงเรียน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจในศิลปะได้อย่างกว้างขวาง การวิจารณ์เป็นการเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนการสอน เพื่อเสริมให้นักเรียนกล้าคิด กล้าพูดอย่างมีเหตุผล ดังนั้นครูจึงควรมีส่วนช่วยส่งเสริมด้วยวิธีการตั้งคำถามให้นักเรียนแสดงออกในการแสดงความคิดเห็น หลังจากที่ปฏิบัติผลงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นการแลกเปลี่ยนทัศนะซึ่งกันและกัน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ สนุกสนานเพลิดเพลินรู้จุดบกพร่องของตนเอง เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขพัฒนางานให้มีคุณค่าต่อไป 
                โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจารณ์เพื่อการตัดสินผลงานศิลปะทั้งในกิจกรรมเรียนการสอน และในการประกวดแข่งขันระดับต่างๆ จำเป็นจะต้องใช้หลักการวิจารณ์ที่ถูกต้องเป็นมาตรฐาน โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในเรื่องนั้นๆ และต้องมีความเที่ยงธรรมปราศจากความลำเอียงหรือใช้อคติส่วนตัวในการพิจารณา
                การวิจารณ์และการแสดงความชื่นชมต่อผลงานศิลปะโดยทั่วไป เช่น การชมภาพจิตรกรรมที่ประดับตามสถานที่จัดแสดง หรือหอศิลป์ ผู้ชมมีสิทธิที่จะวิจารณ์และแสดงความชื่นชมในผลงานศิลปะได้อย่างอิสระ  ขึ้นอยู่กับรสนิยมหรือความชอบของผู้วิจารณ์ และการวิจารณ์นั้นไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน  เหมือนกับการวิจารณ์เพื่อให้คะแนนหรือตัดสินรางวัล

             การวิจารณ์งานศิลปะเกี่ยวข้องกับปัจจัย  2  ประการ คือ 
                1.  ผลงานศิลปะ  หมายถึง ผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นอย่างมีคุณค่า แสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ การสื่อความหมาย การจัดองค์ประกอบศิลป์และการแสดงออกทางศิลปะ
                2.  ผู้วิจารณ์  หมายถึง บุคลที่มีความรู้ความเข้าใจในการวิจารณ์ มีความสนใจศึกษาความรู้เพิ่มเติมทางศิลปะอยู่เสมอ มีประสบการณ์ กล้าพูด มีไหวพริบปฏิภาณในการแสดงความคิดเห็น มีใจเป็นกลาง และคำพูดที่ใช้ในการวิจารณ์ควรเป็นคำพูดในเชิงสร้างสรรค์ การวิจารณ์งานศิลปะในโรงเรียนแบ่งผู้วิจารณ์ออกเป็น  3  กลุ่ม คือ
                   2.1  นักเรียนเจ้าของผลงาน  เป็นการวิจารณ์เพื่อนำเสนอผลงาน ได้แก่ การบอกจุดประสงค์ของการสร้างสรรค์ที่แฝงอยู่ในผลงาน รูปแบบและเทคนิควิธีการ ตลอดจนสิ่งที่ควรปรับปรุงพัฒนาต่อไป


นักเรียนเจ้าของผลงาน นำเสนอผลงานเพื่อสื่อให้ผู้ชมเข้าใจในการสร้างสรรค์

                   2.2  นักเรียนในชั้นเรียน  เป็นการวิจารณ์เพื่อแสดงความชื่นชมในผลงาน และให้ข้อเสนอแนะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใน สิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไข


เพื่อนนักเรียนในชั้นเรียน ร่วมวิจารณ์เพื่อแสดงความชื่นชมในผลงานและ 
ให้ข้อเสนอแนะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไข

                   2.3  ครูศิลปะ  เป็นการวิจารณ์เพื่อแสดงความชื่นชมให้กำลังใจ ให้ความรู้ความเข้าใจและแนวคิดในการปรับปรุงพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการวิจารณ์เพื่อประกอบการประเมินค่าให้คะแนนในการเรียนและการประกวดแข่งขันต่างๆ


ครูศิลปะ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการวิเคราะห์ วิจารณ์ และชื่นชมให้กำลังใจในผลงานของนักเรียนที่สร้างสรรค์ขึ้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf