แนวทางการพัฒนา สิ่งแวดล้อม ใน โรงเรียน

คำสำคัญ:

สิ่งแวดล้อมศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต6

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาสิ่งแวดล้อมศึกษา 5 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย ด้านกายภาพสถานศึกษา กิจกรรมสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการเรียนการสอน พฤติกรรมบุคลากรในโรงเรียน และการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพและปัญหาสิ่งแวดล้อมศึกษาได้จากการตอบแบบสอบถาม  แบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบเลือกตอบของครูจำนวน 314 คน และข้อมูลแนวทางการพัฒนาสิ่งแวดล้อมศึกษาได้จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 12 คน สถิติการนำเสนอข้อมูลประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าวิกฤตที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าฉันทามติ ผลการวิจัยปรากฎดังนี้

1. สภาพสิ่งแวดล้อมศึกษาทุกด้านอยู่ในระดับดี โดยโรงเรียนขนาดใหญ่มีสภาพสิ่งแวดล้อมศึกษาดีกว่าโรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็ก

2. ปัญหาสำคัญสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา ได้แก่ โรงเรียนได้รับผลกระทบจากกลิ่น เสียง ขยะและสัตว์พเนจร ชุมชนและบุคลากรในโรงเรียนขาดวินัย และไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมชุมชนและสถานศึกษา

3. แนวทางสำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมศึกษาต้องเกิดจากการร่วมมือของโรงเรียนและชุมชนในการสร้างจิตสำนึกร่วมกัน และร่วมมือกันปรับปรุงและอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทั้งของโรงเรียนและของชุมชน

Downloads

Download data is not yet available.

How to Cite

License

ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์

ขั้นตอนที่ 1 : จัดตั้งคณะทำงาน

คณะทำงาน Eco-Schools เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนโครงการ Eco-Schools และเป็นตัวแทนของทุกคนในโรงเรียน 

  • เน้นนักเรียนเป็นแกนนำในการดำเนินโครงการฯ
  • คณะทำงานจะต้องประชาสัมพันธ์และแจ้งความคืบหน้าการดำเนินโครงการฯ ให้ทุกคนในโรงเรียนรับทราบอย่างสม่ำเสมอ
  • สมาชิกอาจประกอบด้วย: นักเรียน ครู บุคคลากรในโรงเรียน ผู้แทนคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองและชุมชน
  • มีการประชุมคณะกรรมการอยู่เสมอเพื่อวางแผนและติดตามความคืบหน้าในการดำเนินโครงการฯ
     

ขั้นตอนที่ 2 : การทบทวนสถานการ์สิ่งแวดล้อม

การทบทวนสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของโรงเรียน จะช่วยให้เราสามารถระบุจุดเด่นและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่พบ รวมไปถึงประเมินความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาได้

  • มีการทบทวนสถานการณ์สิ่งแวดล้อมครอบคลุมทุกหัวข้อสิ่งแวดล้อม
  • ให้นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการทบทวนสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
  • ผลสรุปการทบทวนสถานการณ์สิ่งแวดล้อมควรนำมาใช้ในการวางแผนการดำเนินงาน
     

ขั้นตอนที่ 3 : การวางแผนดำเนินงาน

การวางแผนการดำเนินงานถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะเป็นแนวทางการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยควรสัมพันธ์กับผลการทบทวนสถานการณ์สิ่งแวดล้อม

  • ควรเลือกหัวข้อสิ่งแวดล้อมจากความเร่งด่วนของปัญหาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ซึ่งได้มาจากผลการทบทวนสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
  • แผนการดำเนินงานควรช่วยส่งเสริมการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่พบ และมีเนื้อหาที่ระบุถึงที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ งบประมาณ และเป้าหมาย
  • การตั้งเป้าหมายของแต่ละกิจกรรมควรมีความชัดเจนและสามารถวัดผลได้
  • นักเรียนควรเป็นผู้การวางแผนการดำเนินงาน โดยมีคุณครูช่วยให้คำปรึกษาและชี้แนะแนวทาง
     

ขั้นตอนที่ 4 : การติดตามและประเมินผล

เป็นการติดตามผลว่าได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ อย่างไร

  • นักเรียนควรเป็นผู้บันทึกและติดตามผลการดำเนินงานด้วยตนเอง
  • ผลการติดตามควรมีการเผยแพร่บนพื้นที่ประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน
  • วิธีการเก็บข้อมูลควรขึ้นอยู่กับเป้าหมายที่ตั้งไว้ วัยและความสามารถในการบันทึกข้อมูลของนักเรียน
  • มีการนำผลการประเมินมาเปรียบเทียบกับแผนการดำเนินงานเพื่อนำมาปรับปรุงให้แผนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
     

ขั้นตอนที่ 5 : การบูรณาหลักสูตรการเรียนการสอน

การบูรณาการโครงการ Eco-Schools กับหลักสูตรการเรียนการสอนจะช่วยเสริมสร้างความเข้าในด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมของทุกคนในโรงเรียน และส่งเสริมให้เกิดการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยื

  • นักเรียนทุกคนควรเข้าใจถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันผ่านการบูรณาการในหลายกลุ่มสาระ
  • กิจกรรมภายใต้โครงการ Eco-Schools บางกิจกรรมสามารถนำมาบูรณาการกับกลุ่มสาระวิชาได้ เช่น วิทยาศาสตร์ สังคม หรือการงานพื้นฐานอาชีพ
     

ขั้นตอนที่ 6 : การประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วม

สร้างการมีส่วนร่วมกับทุกคน เพราะทุกๆ คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

  • ทุกๆคนในโรงเรียน ควรรับทราบและตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินโครงการ Eco-Schools รวมไปถึงผู้ปกครองและชุมชนใกล้เคียงด้วย
  • การเผยแพร่ข้อมูลสามารถทำได้ในหลายช่องทาง เช่น บอร์ดประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน เว็บไซต์โรงเรียน Facebook ฯลฯ
     

ขั้นตอนที่ 7 : การสร้าง ECO-CODE

คือข้อความที่สื่อถึงเป้าหมายและสิ่งที่ตั้งใจดำเนินการเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน

  • เป็นข้อความที่ทุกคนในโรงเรียนสามารถจดจำได้ง่าย
  • ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว อาจตั้งเป็น คำขวัญ สัญลักษณ์ กลอน หรือเพลงได้
  • มีความเชื่อมโยงกับแผนการดำเนินงาน
  • ทุกคนในโรงเรียนสามารถช่วยออกแบบหรือแสดงความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมได้
  • ควรมีการเผยแพร่ทั่วพื้นที่ประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf