เฉลย แบบฝึกหัด อารยธรรม กรีก

ใบงานอารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีก
 ID: 2279565
Language: Thai
School subject: ประวัติศาสตร์
Grade/level: ม.5
Age: 15-18
Main content: อารยธรรมกรีก
Other contents:

เฉลย แบบฝึกหัด อารยธรรม กรีก
 Add to my workbooks (3)
เฉลย แบบฝึกหัด อารยธรรม กรีก
 Embed in my website or blog
เฉลย แบบฝึกหัด อารยธรรม กรีก
 Add to Google Classroom
เฉลย แบบฝึกหัด อารยธรรม กรีก
 Add to Microsoft Teams
เฉลย แบบฝึกหัด อารยธรรม กรีก
 Share through Whatsapp

Link to this worksheet:  Copy
เฉลย แบบฝึกหัด อารยธรรม กรีก

mukda8246


เฉลย แบบฝึกหัด อารยธรรม กรีก

What do you want to do?

เฉลย แบบฝึกหัด อารยธรรม กรีก
เฉลย แบบฝึกหัด อารยธรรม กรีก
Check my answersEmail my answers to my teacher

Enter your full name:

Group/level:

School subject:

Enter your teacher's email or key code:

Cancel

Please allow access to the microphone
Look at the top of your web browser. If you see a message asking for permission to access the microphone, please allow.

Close

ชื่อ ............................................................ชัน ................ เลขที่ ..............

ข้อที่ ก ข ค ง คะแนนเต็ม 10
1 คะแนนที่ได้
2
3 เกณฑ์การประเมิน
4 คะแนนระหว่าง 9-10 อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก
5 คะแนนระหว่าง 7-8 อยู่ในเกณฑ์ ดี
คะแนนระหว่าง 5-6 อยู่ในเกณฑ์ พอใช้
6 คะแนนระหว่าง 0-4 อยู่ในเกณฑ์ ปรับปรุง

7
8
9
10

แบบทดสอบก่อนเรียน 12
เล่มที่ 3 เรื่อง อารยธรรมกรีก-โรมัน

คำชี้แจง
1. ข้อสอบแบบปรนัย จำนวน 10 ข้อ ใช้เวลาในการทำ 10 นาที
2. ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว โดยทำเครื่องหมาย

กากบาท (X) ลงในกระดาษคำตอบ

1. อารยธรรมโรมัน ครอบคลุมดินแดนต่างๆ ยกเว้นข้อใด
ก. ทวีปยุโรป
ข. ทวีปเอเชีย
ค. ทวีปอเมริกา
ง. ทวีปแอฟริก

2. ประมวลกฎหมาย12โต๊ะ เน้นเรื่องใด
ก. ความเสมอภาค
ข. ความถูกต้อง
ค. ความมีเหตุมีผล
ง. ความสุข

3. ลักษณะของงานด้านประติมากรรมของกรีก สะท้อนให้เห็นถึงอะไรมากที่สุด
ก. ธรรมชาติอย่างแท้จริง
ข. ความทุกข์ ทรมานของคน
ค. เน้นความถูกต้องตามหลักกายวิภาคศาสตร์
ง. งานที่แสดงถึงสภาพของมนุษย์ที่เป็นจริงไม่สวยตามแบบอุดมคติ

แบบทดสอบก่อนเรียน 13
เล่มที่ 3 เรื่อง อารยธรรมกรีก-โรมัน

4. พื้นที่ในครอบครองของกรีกโบราณที่มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอสำหรับปลูก
พืชพรรณธัญญาหาร หล่อเลี้ยงนครรัฐกรีก

ก. แหลมเพลอปปอนเนเชียน
ข. บริเวณทะเลดำ ใกล้ตุรกีปัจจุบัน
ค. ทวีปอัฟริกาตอนเหนือ
ง. ลุ่มน้ำไทเบอร์

5. งานวรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องในด้านความไพเราะการถ่ายทอดทางอารมณ์
ได้ดีเยี่ยม มีชื่อว่าอะไร

ก. มหากาพย์ เอเนียดของเวอร์จิล
ข. มหากาพย์อีเลียดและโอดิสซีย์ของโฮเมอร์
ค. งานประเภทปรัชญาของซีเครตีส
ง. คัมภีร์ไบเบิลใหม่

6. แหล่งกาเนิดอารยธรรมกรีก อยู่บริเวณใด
ก. ที่ราบชายฝั่งทะเลอีเจียน
ข. คาบสมุทรอีตาลี
ค. คาบสมุทรบอลข่าน
ง. หมู่เกาะแคริเบียน

แบบทดสอบก่อนเรียน 14
เล่มที่ 3 เรื่อง อารยธรรมกรีก-โรมัน

7. ข้อใดคือชนชั้นสูงในอาณาจักรโรม
ก. เมดิเตอร์เรเนียน
ข. สกอร์เปียน
ค. เพลเบียน
ง. แพทริเชียน

8. อารยธรรมโรมัน เป็นอารยธรรมที่สืบมาจากอารยธรรมใด
ก. เมโสโปเตเมีย
ข. อียิปต์
ค. กรีก
ง. เปอร์เซีย

9. วิหารที่กรีกสร้างไว้บูชาเทพเจ้าต่าง ๆ นิยมสร้างบนเนินดินหรือภูเขาเล็ก ๆ
มีชื่อเรียกว่าอะไร

ก. วิหาร
ข. พีระมิด
ค. ซิกกูแรต
ง. อะครอโพลิส

10. เมืองหลวง ของอาณาจักรโรมัน คือเมืองใด
ก. กรุงเอเธนส์ (Athens)
ข. กรุงโรม (Rome)
ค. กรุงเยรูซาเลม (Jerusalem)
ง. กรุงลอนดอน (London)

15

เนื้อหาและกิจกรรม
เล่มที่ 3

เรื่อง อารยธรรมกรีก-โรมัน

อารยธรรมกรีก 16

อารยธรรมกรีกเริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 750 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีศูนย์กลางอยู่ที่
กรุงเอเธนส์ (Athens) เมืองหลวงของประเทศกรีซในปัจจุบัน เป็นอารยธรรมที่
เจริญรุ่งเรืองและมีอิทธิพลต่อโลกตะวันตกมาก

1. กำเนิดอารยธรรมกรีก

อารยธรรมกรีกที่เป็นมรดกตกทอดมาถึงปัจจุบันนี้ประกอบด้วยอารยธรรมหลัก
2 ส่วน ได้แก่ อารยธรรมของชาวกรีกโบราณหรืออารยธรรมเฮลเลนิก (Hellenic
Civilizaton, ปี 750-336 ก่อนคริสต์ศักราช) และ อารยธรรมเฮลเลนิสติก
(Hellenistic Civilization, ปี 336-31 ก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วง
เวลาที่กรีกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิมาซิโดเนีย (Macedonia) และ
เป็นอารยธรรมที่ผสมผสานกับความเจริญที่รับจากดินแดนรอบๆ ทะเล
เมดิเตอร์เรเนียน ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดอารยธรรมกรีกโดยรวม คือ ที่ตั้ง
ทางภูมิศาสตร์ ชาวกรีกโบราณ และระบอบนครรัฐกรีก

ภาพที่ 1 แผนที่อารยธรรมกรีก
ที่มา : https://sites.google.com

17

ที่ตั้ง อารยธรรมกรีกเกิดขึ้นในบริเวณตอนใต้ของคาบสมุทรบอลข่านและ
ชายฝั่งทะเลอีเจียน ซึ่งกั้นระหว่างคาบสมุทรบอลข่านและเอเชียไมเนอร์ บริเวณ
เหล่านี้อยู่ในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งรายรอบด้วยอารยธรรมสำคัญของโลก
คืออารยธรรมอียิปต์และเมโสโปเตเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอยู่ใกล้กับเกาะครีตซึ่ง
เป็นศูนย์กลางของอารยธรรมไมนวน (Minoan Civilization ประมาณปี 2000-
1400 ก่อนคริสต์ศักราช) ที่เกิดจากการผสมผสานอารยธรรมของดินแดนในแถบ
รอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทำให้ชาวกรีกสมัยโบราณมีโอกาสรับและแลกเปลี่ยน
ความเจริญด้านต่างๆ ของอารยธรรมเมโสโปเตเมียและอียิปต์จากเกาะครีต

พื้นที่ในคาบสมุทรบอลข่านตอนใต้ยังประกอบด้วยภูเขาและที่ราบสูงซึ่งเป็น
อุปสรรคต่อการรวมศูนย์อำนาจปกรอง ทำให้ชาวกรีกสมัยโบราณมีการปกครองแบบ
นครรัฐและมักเกิดสงครามระหว่างนครรัฐ เช่น กรณีนครรัฐสปาร์ตา (Sparta)
ทำสงครามรุกรานกรุงเอเธนส์ อนึ่ง กรีกยังมีพื้นที่ราบเพาะปลูกไม่มากนัก ทำให้
ไม่สามารถพึ่งพาการประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้เพียงอย่างเดียว แต่สภาพที่ตั้ง
ซึ่งมีชายฝั่งทะเลและท่าเรือที่เหมาะสมจำนวนมาก ชาวกรีกจึงสามารถประกอบ
อาชีพประมงและเดินเรือค้าขายกับดินแดนต่างๆ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน รวมทั้ง
มีโอกาสขยายอิทธิพลไปยึดครองดินแดนอื่นๆ ในเขตเอเชียไมเนอร์ด้วย ทำให้
เกิดการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดอารยธรรมต่อกัน โดยเฉพาะการนำอารยธรรมของ
โลกตะวันออกไปสู่ตะวันตก

18

ชาวกรีกโบราณ ชาวกรีกโบราณเรียกตัวเองว่า “เฮลลีน” (Hellene) เป็น
พวกอินโด-ยูโรเปียนกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาจากทางตอนเหนือของประเทศกรีซ
ปัจจุบันเมื่อประมาณ 2000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในระยะแรก กระจายอยู่เป็นเผ่า
ต่างๆ ในคาบสมุทรบอลข่านและเขตทะเลอีเจียน ที่สำคัญได้แก่ พวกไอโอเนียน
(Ionians) และพวกไมซีเนียน (Mycenaeans) โดยทั่วไปชาวกรีกโบราณ
ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเดินเรือ ต่อมาเผ่าที่มีความเจริญได้ขยายอำนาจและ
ก่อตั้งเป็นนครรัฐ ที่สำคัญได้แก่นครรัฐของพวกไมซีเนียนซึ่งยึดครองพื้นที่ส่วน
ใหญ่ และมีอำนาจสูงสุดประมาณปี 1600-1100 ก่อนคริสต์ศักราช โดยมี
ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไมซีเนทางตอนใต้ของประเทศกรีซในปัจจุบัน พวกไมซี
เนียนเป็นนักรบที่มีความเก่งกล้าสามารถยึดครองดินแดนของนครรัฐอื่นๆ รวมทั้ง
เกาะครีต และรับอิทธิพลของอารยธรรมต่างๆ โดยเฉพาะอารยธรรมไมนวนของชาว
เกาะครีต

ต่อมาประมาณปี 1100 ก่อนคริสต์ศักราช พวกกรีกอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า
ดอเรียน (Dorians) ซึ่งอพยพมาจากทางเหนือและขยายอำนาจครอบครองดิน
แดนของพวกไมซีเนียน พวกนี้ได้สร้างนครรัฐสปาร์ตาเป็นศูนย์กลางปกครองของ
ตน พวกดอเรียนมีความเจริญน้อยกว่าไมซีเนียนและไม่รู้หนังสือ จึงไม่มีหลักฐาน
ที่กล่าวถึงดินแดนกรีกภายใต้อิทธิพลของพวกดอเรียนในช่วงปี 1100-750 ก่อน
คริสต์ศักราชมากนัก จนกระทั่งประมาณปี 750 ก่อนคริสต์ศักราช ได้มีการ
ประดิษฐ์อักษรซึ่งรับรูปแบบมาจากอักษรและพยัญชนะของพวกฟีนิเชียนที่เข้ามา
ติดต่อค้าขายในช่วงนั้น อย่างไรก็ตามแม้พวกดอเรียนจะมีอำนาจเข้มแข็งแต่ก็ไม่
สามารถรวมอำนาจปกครองนครรัฐกรีกได้ทั้งหมด

19

ภาพที่ 2 กษัตริย์ฟิลิปแห่งมาซิโดเนีย
ที่มา : https://pantip.com

หลังจากนครรัฐสปาร์ตาเสื่อมอำนาจ เมื่อปี 371 ก่อนคริสต์ศักราชนครรัฐกรีก
อื่น ๆ ก็พยายามรวมตัวกันโดยมีนครรัฐทีบีส (Thebes) เป็นผู้นำ แต่ในที่สุดก็ถูก
กษัตริย์ฟิลิปแห่งมาซิโดเนียซึ่งอยู่ในเขตเอเชียไมเนอร์รุกรานและครอบครองเมื่อ
ปี 338 ก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาเมื่อพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander
the Great, ปี 336-323 ก่อนคริสต์ศักราช) โอรสของพระเจ้าฟิลิปได้ปกครอง
จักรวรรดิมาซิโดเนีย พระองศ์ได้ขยายอาณาจักรออกไปอย่างกว้างขวางจนถึงเขตลุ่ม
แม่น้ำสินธุและได้ครอบครองแหล่งอารยธรรมต่าง ๆ ของโลก ได้แก่ อียิปต์ เมโส
โปเตเมีย และเปอร์เซีย จึงมีการรับความเจริญจากแหล่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาผสม
ผสานกับอารยธรรมกรีก เรียกว่า อารยธรรมเฮลเลนิสติกตามชื่อสมัยเฮลเลนิสติก
(Hellenistic) ซึ่งเริ่มตั้งแต่สมัยของพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราชจนกระทั่งสิ้น
สลายเมื่อประมาณปี 146 ก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นดินแดนกรีกได้ตกอยู่ใต้การ
ปกครองของจักรวรรดิโรมัน ความเจริญต่าง ๆ ที่ชาวกรีกสั่งสมไว้ก็กลายเป็นส่วน
หนึ่งของอารยธรรมโรมัน

20

ระบอบนครรัฐกรีก การปกครองแบบนครรัฐของกรีกที่มีความหลากหลาย ส่ง
เสริมให้นครรัฐแต่ละแห่งมีโอกาสพัฒนารูปแบบและวิธีการปกครองของตนเอง
นครรัฐสำคัญที่มีบทบาทพัฒนาอารยธรรมด้านการปกครอง ได้แก่ สปาร์ตาและ
เอเธนส์

นครรัฐสปาร์ตา มีการปกครองแบบทหารนิยม คณะผู้ปกครองมีอำนาจสูงสุด
และเด็ดขาด พลเมืองชายทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 20-60 ปี ต้องถูกฝึกฝนให้เป็น
ทหาร เรียนรู้วิธีการต่อสู้และเอาตัวรอดในสงคราม แม้แต่พลเมืองหญิงก็ยังต้องฝึก
ให้มีสุขภาพแข็งแรงเพื่อเตรียมเป็นมารดาของทหารที่แข็งแกร่งในอนาคต พวก
สปาร์ตายังต่อต้านความมั่งคั่งฟุ่มเฟือย เพราะเกรงว่าอำนาจของเงินตราจะทำลาย
ระเบียบวินัยทหาร รวมทั้งยังไม่สนับสนุนการค้าขายและการสร้างสรรค์ศิลปกรรม
ใดๆ การปกครองของพวกสปาร์ตานับเป็นการขัดขวางสิทธิของปัจเจกชน และ
เป็นต้นกำเนิดของระบอบการปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism)

นครรัฐเอเธนส์ เป็นต้นกำเนิดของรัฐประชาธิปไตย นครรัฐเอเธนส์ปกครอง
โดยสภาห้าร้อย ซึ่งได้รับเลือกจากพลเมืองเอเธนส์ที่มีสิทธิออกเสียง สภานี้มีหน้า
ที่ตรวจสอบร่างกฎหมายและบริหารการปกครอง นอกจากนี้ยังมีสภาราษฎร ซึ่งเป็น
ที่ประชุมของพลเมืองที่มีสิทธิออกเสียงทุกคนและทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมาย
การที่เอเธนส์ให้สิทธิและเสรีภาพแก่ปัจเจกชน ทำให้เกิดนักคิดและนักปราชญ์ที่
เรียกว่าพวกโซฟิสต์ (Sophists) สำนักต่างๆ ในสังคมเอเธนส์ แนวคิดและ
ปรัชญาของนักปรัชญาคนสำคัญ ได้แก่ โซเครติส และเพลโต ยังเป็นหลักปรัชญา
ของโลกตะวันตกด้วย

21

2. ความเจริญรุ่งเรืองและมรดกสำคัญของอารยธรรมกรีก

ชาวกรีกได้สร้างสรรค์ความเจริญให้เป็นมรดกแก่ชาวโลกจำนวนมาก ที่สำคัญ
ได้แก่ ความเจริญด้านศิลปกรรม ปรัชญา การศึกษา วรรณกรรมและวิทยาการ
ต่าง ๆ

ศิลปกรรม
ความเจริญด้านศิลปกรรมเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งของอารยธรรมกรีกซึ่งได้รับ
การยกย่องว่าเป็นต้นแบบของงานศิลปกรรมของโลก ส่วนใหญ่เป็นงาน
สร้างสรรค์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความศรัทธาทางศาสนา โดยสร้างขึ้นเพื่อ
แสดงความเคารพบูชาและบวงสรวงเทพเจ้าของตน ผลงานที่ได้รับการยกย่องมี
จำนวนมากที่สำคัญได้แก่ ด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และศิลปะ
การแสดง

ภาพที่ 3 สถาปัตยกรรม
ที่มา : https://writer.dek-d.com

22

ด้านสถาปัตยกรรม
ชาวเอเธนส์ได้สร้างสรรค์งานด้านสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นให้แก่ชาวโลก
จำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างอาคารเพื่อกิจกรรมสาธารณะ เช่น วิหาร
สนามกีฬา และโรงละคร ความโดดเด่นของงานสถาปัตยกรรมไม่ได้ขึ้นอยู่กับความ
ใหญ่โตของสิ่งก่อสร้าง แต่เป็นความงดงามของสัดส่วนที่สมบูรณ์แบบ ตัวอย่างเช่น
วิหารพาร์เทนอน (Parthenon) ที่ตั้งอยู่บนเนินเขาอะโครโพลิส (Acropolis)
เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีสัดส่วนงดงามทั้งความยาว ความกว้างและความสูง จัดว่าเป็นผล
งานชิ้นเอกของโลก

ภาพที่ 4 วิหารพาร์เทนอน
ที่มา : https://travel.trueid.net

23

ด้านประติมากรรม
ผลงานด้านประติมากรรมจัดว่าเป็นสิ่งที่โดดเด่นที่สุดในงานศิลปกรรมของ
กรีก ชาวกรีกสร้างงานประติมากรรมจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นรูปปั้นเทพเจ้าของ
กรีก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากชาวกรีกยอมรับและเชื่อมั่นคุณค่าของมนุษย์ ผลงาน
ประติมากรรมจึงดูเป็นธรรมชาติ ลักษณะของสรีระกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นคล้าย
มนุษย์ที่มีชีวิต ผลงานชิ้นเยี่ยมได้แก่ รูปปั้นเทพเจ้าอะทีนา ที่วิหารพาร์เทนอน
และเทพเจ้าซุส ที่วิหารแห่งโอลิมเปีย

ภาพที่ 5 รูปปั้นเทพเจ้าอะทีนา
ที่มา : https://ancientgreece604.wordpress.com

ภาพที่ 6 รูปปั้นเทพเจ้าซุส
ที่มา : https://7wonder.wordpress.com

24

ด้านจิตรกรรม
ที่ปรากฏอยู่ส่วนใหญ่เป็นลวดลายที่เขียนบนเครื่องปั้นดินเผา เช่น แจกัน
คนโท ฯลฯ และจิตรกรรมฝาผนังที่พบในวิหารและกำแพง
ศิลปะการแสดง
ชาวกรีกได้คิดค้นศิลปะการแสดงประเภทต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นการจัดแสดง
เพื่อเฉลิมฉลองพิธีบวงสรวงเทพเจ้าของตน เช่น ละครกลางแจ้งซึ่งเป็นต้นแบบ
ของการแสดงละครในปัจจุบัน ดนตรีและการละเล่นอื่นๆ
ด้านปรัชญา
ความเจริญด้านปรัชญาได้รับการยกย่องว่าเป็นความเจริญสูงสุดของ
ภูมิปัญญากรีกเช่นเดียวกับความเจริญด้านศิลปกรรม นักปรัชญากรีกที่มีชื่อเสียง
โดดเด่น ได้แก่
1. โซเครติส (Socrates) เกิดที่นครเอเธนส์ มีชีวิตอยู่ระหว่างปี 469-399
ก่อนคริสต์ศักราช เขาสอนให้คนใช้เหตุผลและสติปัญญาในการแสวงหาความ
จริงเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ วิธีสอนของเขาซึ่งเรียกว่า “Socretic method” ไม่เน้น
การท่องจำ แต่ใช้วิธีตั้งคำถามโดยไม่ต้องการคำตอบ
แต่ให้ผู้ถูกถามขบคิดปัญหาเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง
แม้โซเครติสจะสั่งสอนลูกศิษย์มากมาย แต่ก็ไม่เคย
มีผลงานเขียนของตนเอง

ภาพที่ 7 โซเครติส
ที่มา : http://www.thaigoodview.com

25

2. เพลโต (Plato) เป็นศิษย์เอกของโซเครติส เกิดที่นครเอเธนส์
ประมาณ 429 ปีก่อนคริสต์ศักราชและเป็นผู้ถ่ายทอดหลักการและความคิดของโซ
เครติสให้ชาวโลกได้รับรู้ เพลโตได้เปิดโรงเรียนชื่อ “อะแคเดอมี” (Academy)
และได้เขียนหนังสือที่สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับการปกครอง การศึกษา ระบบ
ยุติธรรม ผลงานที่โดนเด่นและทำให้เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งปรัชญา
การเมืองสมัยใหม่คือหนังสือชื่อ สาธารณรัฐ (Republic) ซึ่งเสนอแนวคิดในการ
ปกครองประเทศและมีอิทธิพลต่อความคิดทางการเมืองของผู้คนทั่วโลก

ภาพที่ 8 เพลโต
ที่มา : http://th.swewe.net

3. อริสโตเติล (Aristotle) เป็นทั้งนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ เขา
เป็นศิษย์ที่ชาญฉลาดของเพลโตและเคยเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าอเล็กซานเด
อร์มหาราชแห่งมาซิโดเนีย อริสโตเติลเป็นทั้งปราชญ์และนักวิจัยที่มีความสนใจ
หลากหลาย นอกจากปรัชญาทางการเมืองแล้ว

26

เขายังสนใจวิทยาการใหม่ๆ อีกมาก เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ หลัก
ตรรกศาสตร์ วาทกรรม จริยศาสตร์ ฯลฯ ผลงานที่โดดเด่นของเขาคือหนังสือชื่อ
การเมือง (Politics) ซึ่งเป็นการวิจัยรูปแบบการปกครองของนครรัฐต่างๆ ถึง
150 แห่ง

ภาพที่ 9 อริสโตเติล
ที่มา : https://www.baanjomyut.com

ด้านการศึกษา
การศึกษามีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวกรีก เพราะทำให้มีสถานะที่ดีใน
สังคม ผู้ที่ได้รับการศึกษาสูงจะมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครอง โดยเฉพาะชาว
เอเธนส์เชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยจะประสบความสำเร็จได้ถ้าหากผู้นำมีการศึกษา
ดังนั้นจึงจัดการศึกษาขั้นประถมให้แก่เด็กชายโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน

27

วิชาที่สอนในระดับประถมศึกษา ได้แก่ ไวยากรณ์กรีก ซึ่งรวมถึงมหากาพย์อี
เลียด (Iliad) และ โอเดสซี (Odyssey) ของโฮเมอร์ (Homer) ดนตรี และ
ยิมนาสติก หลักสูตรนี้เน้นการฝึกฝนความรู้ด้านภาษา อารมณ์ และความ
แข็งแกร่งของร่างกาย ส่วนเด็กโตจะศึกษาวิชากวีนิพนธ์ การปกครอง จริยศาสตร์
ตรีโกณมิติ ดาราศาสตร์ วาทกรรม เมื่อสำเร็จหลักสูตรแล้ว เยาวชนชายเหล่านี้ก็มี
ความสมบูรณ์ทั้งสติปัญญาและร่างกายและพร้อมเป็นพลเมืองกรีกเมื่ออายุครบ
19 ปี

วิธีจัดหลักสูตรที่สร้างความพร้อมให้แก่พลเมืองทั้งด้านสติปัญญา อารมณ์
และร่างกายนี้ เป็นแบบอย่างที่นักการศึกษาของโลกตะวันตกนำมาพัฒนาใช้
จนถึงปัจจุบัน

ด้านวรรณกรรม
วรรณกรรมของกรีกได้รับการยกย่องอยู่ในกลุ่มวรรณกรรมที่ดีที่สุดของ
โลก วรรณกรรมที่โดดเด่นได้แก่ มหากาพย์ของโฮเมอร์เรื่อง อีเลียด และ โอ
เดสซี ซึ่งแต่งขึ้นประมาณช่วงศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช เพื่อสะท้อนความ
รู้สึกของกวีต่อโศกนาฏกรรมในสงครามกรุงทรอย (Troy) นอกจากความงดงาม
ของภาษาและการดำเนินเรื่องแล้ว มหากาพย์ทั้งสองเรื่องนี้ยังให้ข้อมูลทาง
ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับวิถีชีวิต ประเพณีและความคิดของชาวกรีกในช่วง 1000-
700 ปีก่อนคริสต์ศักราช

28

นอกจากผลงานที่ยิ่งใหญ่นี้แล้ว กรีกยังมีผลงานด้านวรรณกรรมอีกจำนวน
มาก เช่น โศลก กวีนิพนธ์ วรรณคดี และบทละคร ซึ่งมีทั้งประเภทโศกนาฏกรรม
และสุขนาฏกรรม จัดเป็นต้นแบบของการแสดงละครของชาวตะวันตกที่สืบเนื่องมา
ถึงปัจจุบัน ความเจริญของวิทยาการต่าง ๆ กรีกเป็นต้นแบบของโลกตะวันตกใน
การพัฒนาความเจริญด้านวิทยาการต่าง ๆ

ด้านประวัติศาสตร์
กรีกเป็นชาติแรกในโลกตะวันตกที่เริ่มศึกษาประวัติศาสตร์ตามแบบวิธีการ
ทางประวัติศาสตร์ซึ่งได้แก่ การสืบค้นข้อมูล การตรวจสอบหลักฐาน และการเลือก
ใช้ข้อมูล นักประวัติศาสตร์กรีกคนแรกที่เริ่มเขียนงานประวัติศาตร์ในลักษณะนี้คือ
เฮโรโดตัส (Herodotus) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ของ
โลกตะวันตก นอกจากนี้ยังมี ทูซิดิดีส (Thucydides) นักประวัติศาสตร์ที่ได้รับ
การยกย่องด้านการสร้างผลงานทางประวัติศาสตร์และมาตรฐานของวิธีการศึกษา
ค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ยึดถือกันอยู่ในปัจจุบัน

คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
เจริญรุ่งเรืองมากตั้งแต่ 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกค้น
พบทฤษฎีทางเรขาคณิตและพีชคณิต ซึ่งเป็นพื้นฐานของการคำนวณและ
ประมวลผลขั้นสูง นอกจากนี้กรีกยังมีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยมี
อริสโตเติลเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาวิชาพฤกษศาสตร์ สัตวแพทย์ และ
กายวิภาค

29

ด้านการแพทย์
ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) เป็นแพทย์ชาวกรีกที่มีชื่อเสียง และค้นพบว่า
โรคร้ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากธรรมชาติไม่ใช่การลงโทษลงพระเจ้า เขาเชื่อ
ว่าวิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือการควบคุมด้านโภชนาการและการพักผ่อน นอกจากนี้
ฮิปโปเครตีสยังเป็นผู้ริเริ่มวิธีการรักษาโรคด้วยการผ่าตัด และกำหนดหลักจรรยา
แพทย์ที่ถือปฏิบัติต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ดาราศาสตร์และภูมิศาสตร์
ความก้าวหน้าด้านคณิตศาสตร์ ช่วยให้นักดาราศาสตร์ชาวกรีกคำนวณ
ตำแหน่งของดวงดาวและระบบสุริยะจักรวาล นักดาราศาสตร์กรีกบางคนเชื่อว่าโลก
และดาวเคราะห์ดวงอื่นหมุนรอบดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่สามารถโน้ม
น้าวให้ชาวกรีกยอมรับการค้นพบนี้ นักภูมิศาสตร์กรีกยังเชื่อว่าโลกกลมซึ่งทำให้
สามารถเดินเรือจากกรีกไปถึงอินเดียได้ รวมทั้งยังค้นพบว่าการขึ้นลงของกระแสน้ำ
เกิดจากอิทธิพลของดวงจันทร์

30

เนื้อหาและกิจกรรม
เล่มที่ 3

เรื่อง อารยธรรมโรมัน

31

1. กำเนิดอารยธรรมโรมัน

อารยธรรมโรมันมีศูนย์กลางอยู่ที่แหลมอิตาลี เป็นอารยธรรมของพวกอินโด-
ยูโรเปียนเผ่าละติน (Latin) ซึ่งอพยพจากทางตอนเหนือมาตั้งถิ่นฐานในแหลม
อิตาลีเมื่อประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และเรียกตัวเองว่า “โรมัน” พวก
โรมันได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครองดินแดนที่เป็นศูนย์กลางความเจริญของอารย
ธรรมเฮลเลนิสติกซึ่งสลายเมื่อประมาณปี 146 ก่อนคริสต์ศักราช และดินแดน
อื่นๆ ทั้งในยุโรปและแอฟริกาเหนือ ทำให้อารยธรรมของโลกตะวันออกซึ่งผสม
ผสานอยู่ในอารยธรรมกรีกได้ขยายเข้าไปในทวีปยุโรป และเป็นรากฐานของ
อารยธรรมตะวันตกในปัจจุบัน

จักรวรรดิโรมันขยายอำนาจที่ยิ่งใหญ่เหนือดินแดนต่างๆ นานหลายร้อยปี
โดยมีปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการขยายอำนาจของโรมันคือ สภาพภูมิศาสตร์ของ
แหลมอิตาลี ระบอบการปกครอง และกองทัพโรมัน

ภาพที่ 10 แผนที่อารยธรรมโรมัน
ที่มา : https://sites.google.com

32

สภาพภูมิศาสตร์ของแหลมอิตาลี
แหลมอิตาลีตั้งอยู่กึ่งกลางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ระหว่างคาบสมุทรบอลข่าน
และคาบสมุทรไอบีเรีย ซึ่งสะดวกต่อการติดต่อกับเอเชียไมเนอร์และยุโรปตอนใต้
นอกจากนี้รูปร่างของแหลมอิตาลียังเปรียบเสมือนรองเท้าบูตที่ยื่นเข้าไปในทะเล
เมดิเตอร์เรเนียน ทำให้สามารถติดต่อกับดินแดนรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
โดยเฉพาะตอนเหนือของทวีปแอฟริกา ตอนเหนือของแหลมอิตาลีแม้จะมีเทือกเขา
แอลป์ (Alps) ขวางกั้นแต่ชาวโรมันก็สามารถติดต่อกับดินแดนตอนกลางของยุโรป
ได้ไม่ยากนักเนื่องจากมีช่องเขาที่สามารถเดินทางผ่านได้
นอกจากนี้ชายฝั่งทะเลที่ยาวเหยียดของแหลมอิตาลีก็ช่วยให้ชาวโรมันติดต่อ
กับดินแดนอื่น ๆ ได้สะดวก ลักษณะที่ตั้งดังกล่าวแม้จะเคยเป็นจุดอ่อนที่เปิด
โอกาสให้ศัตรูที่เข้มแข็งกว่าเข้ามารุกรานชาวโรมันสมัยโบราณได้โดยง่าย แต่ใน
ทางตรงข้าม ชาวโรมันก็ใช้ประโยชน์จากสภาพภูมิศาสตร์ของตนในการรุกรานดิน
แดนอื่นๆ ทั่วทุกทิศ จนขยายอำนาจเป็นจักรวรรดิโรมันในเวลาต่อมา

แหลมอิตาลียังมีพื้นที่ราบเชิงเขาที่มีดินอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งมีภูมิอากาศที่
อบอุ่นช่วยให้การเพาะปลูกได้ผลดี ชาวโรมันจึงมีเศรษฐกิจรุ่งเรือง สามารถขยาย
ตลาดการค้าภายในดินแดนของตนและไม่ต้องพึ่งพาการค้าต่างประเทศมากนัก

33

ต่อมาเมื่อโรมันขยายอำนาจครอบครองดินแดนอื่นๆอย่างรวดเร็ว จึงเปลี่ยน
ระบอบปกครองเป็นจักรวรรดิ มีจักรวรรดิเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด จักรวรรดิได้แต่งตั้ง
ชาวโรมันปกครองอาณานิคมต่างๆ โดยตรง ทำให้สามารถควบคุมดินแดนต่างๆ
และส่งผลให้จักรวรรดิโรมันมีอำนาจยืนยาวหลายร้อยปี

ภาพที่ 11 เทือกเขาอะเพนไนน์
ที่มา : https://twitter.com

กองทัพโรมัน ความเข้มแข็งของกองทัพโรมันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมการ
ขยายอิทธิพลของจักรวรรดิโรมัน กองทัพโรมันมีชื่อเสียงในด้านความสามารถและ
ประสิทธิภาพการรบ ความสำเร็จส่วนใหญ่เกิดจากการจัดองศ์กรภายในกองทัพที่
ดีเยี่ยมและการฝึกฝนทหารให้มีประสิทธิภาพและมีวินัย โดยใช้บทลงโทษที่
รุนแรง นอกจากนี้ความเข้มแข็งของกองทัพยังรวมถึงความรับผิดชอบของทหาร
แต่ละคนอีกด้วย (ทหารโรมันประกอบด้วยพลเมืองชายทุกคน มีหน้าที่รับใช้
กองทัพในยามเกิดศึกสงคราม ทหารเหล่านี้ไม่มีตำแหน่งในกองทัพ เว้นแต่ได้
ปฏิบัติหน้าที่เกินกว่า 10 ปีขึ้นไป)

34

ภาพที่ 12 กองทัพโรมัน
ที่มา : https://www.blockdit.com

กองทัพโรมันมีสถานะสำคัญมากขึ้นในสมัยจักรวรรดิ ซึ่งต้องอาศัยกองทัพ
ค้ำจุนอำนาจของจักรวรรดิทหารโรมันถูกมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ปกครอง
จักรวรรดิและเขตแดน จักรวรรดิโรมันได้สร้างป้อมและค่ายทหารจำนวนมากตาม
แนวชายแดนของจักรวรรดิโดยเฉพาะทางตอนเหนือ โดยเกณฑ์ชาวพื้นเมืองของ
ดินแดนอาณานิคมมาเป็นทหาร ซึ่งได้รับสัญญาว่าถ้าปฏิบัติหน้าที่ครบ 25 ปี ก็จะ
ได้รับสิทธิเป็นพลเมืองโรมัน

ดังนั้นจักรววรดิโรมัน จึงมีทหารปฏิบัติหน้าที่รักษาชายแดนประมาณเกือบ
500000 คน เพื่อเป็นการกระชับการปกครองดินแดนอาณานิคม จักรวรรดิโรมัน
ได้สร้างถนนจำนวนมากเชื่อมระหว่างค่ายทหารซึ่งต่อมาถูกพัฒนาขึ้นเป็นเมืองกับ
เมืองหลักต่างๆ ในเขตจักรวรรดิ และยังสร้างถนนหลวงเชื่อมเมืองหลักเหล่านี้กับ
กรุงโรม จนมีคำขวัญว่า “ถนนทุกสายมุ่งสู่กรุงโรม”

35

ชาวโรมันโบราณที่อพยพเข้ามาอยู่ในแหลมอิตาลีประกอบด้วยเผ่า 2 เผ่า คือ
พวกละติน
ซึ่งอพยพมาจากทางตอนเหนือ เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตที่ราบตะวันตก

และตามแนวแม่น้ำไทเบอร์ (Tiber River) จากนั้นได้สร้างเมืองต่างๆ ขึ้นรวมทั้ง
กรุงโรม

พวกอีทรัสคัน
ซึ่งอพยพมาจากเอเชียไมเนอร์เมื่อประมาณ 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวก
อีทรัสคันได้ขยายอาณาเขตรุกรานดินแดนของพวกละติน และสถาปนากษัตริย์
ปกครองแหลมอิตาลีเมื่อประมาณ 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช หลังจากขยายอำนาจ
ปกครองได้ประมาณ 100 ปี พวกอีทรัสคันก็สูญเสียอำนาจ และผสมกลมกลืนกับ
พวกละตินจนกลายเป็นชาวโรมันในเวลาต่อมา ความเจริญรุ่งเรืองที่พวกอีทรัสคัน
สร้างไว้ให้แก่อารยธรรมโรมันคือ การนำตัวอักษรกรีกเข้ามาใช้ในแหลมอิตาลี ซึ่ง
ต่อมาได้พัฒนาเป็นอักษรโรมัน

พัฒนาการของสาธารณรัฐในโรมัน ชาวโรมันได้สถาปนาสาธารณรัฐโรมันขึ้น
หลังจากอีทรัสคันเสื่อมสลายไป จากนั้นได้ขยายอำนาจทั่วแหลมอิตาลีและในดิน
แดนรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โรมันได้ทำสงครามพูนิก (Punic War) กับ
คาร์เทจ (Carthage) ถึง 3 ครั้ง คาร์เทจเป็นนครริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา ในอดีตเป็นอาณานิคมที่ชาวฟินิเซียนสร้างขึ้น
เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

36

ซึ่งมีอาณานิคมอยู่ไม่ไกลจากแหลมอิตาลีมากนัก คาร์เทจพ่ายแพ้แก่โรมันใน
สงครามพูนิกทั้ง 3 ครั้ง ทำให้โรมันมีอำนาจเหนือดินแดนรอบทะเเมดิเตอร์เร
เนียนด้านตะวันตก รวมทั้งสเปน ซึ่งอุดมด้วยเหมืองทองและเงิน นอกจากนี้แล้ว
โรมันยังเอาชนะอาณาจักรซิโดเนียซึ่งเป็นพันธมิตรของคาร์เทจได้เมื่อปี 147
ก่อนคริสต์ศักราช

ดังนั้นนครรัฐกรีกทั้งปวง ตลอดจนดินแดนในเขตเอเชียไมเนอร์ซึ่งเป็นอดีต
อาณานิคมของมาซิโดเนียจึงอยู่ภายในอำนาจของโรมันด้วย

การทำสงครามขยายอำนาจครอบครองดินแดนต่างๆ ทำให้เกิดผู้นำทางการ
ทหารซึ่งได้รับความจงรักภักดีจากทหารของตน เกิดการแก่งแย่งอำนาจกันระหว่าง
กลุ่มผู้นำกองทัพกับสมาชิกสภาซีเนตซึ่งคุมอำนาจปกครองอยู่เดิม

ในปี 46 ก่อนคริสต์ศักราช จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) แม่ทัพโรมันซึ่ง
มีฐานอำนาจอยู่ที่แหลมอิตาลี สเปน กรีก และอียิปต์ ได้เข้าควบคุมกรุงโรม ปีต่อ
มาเขาได้รับการสถาปนาเป็นผู้เผด็จการ (Dictator) และมีอำนาจสูงสุดเทียบ
เท่ากษัตริย์ ขณะนั้นโรมันยังคงปกครองในระบอบสาธารณรัฐ แต่อำนาจของ
องค์กรการเมืองถูกลิดรอน เช่น การเพิ่มจำนวนสมาชิกในสภาซีเนตจากเดิมซึ่งมี
เพียง 300 คน เป็น 900 คน และยังอนุญาตให้สมาชิกมาจากพลเมืองกลุ่มอื่นๆ
ได้นอกเหนือจากเดิมที่สงวนให้เฉพาะกลุ่มชนชั้นสูงเท่านั้น นอกจากนี้ซีซาร์ยัง
ให้สถานะ “พลเมืองโรมัน” แก่ประชาชนทั่วไปตามเขตต่างๆ มากขึ้น

37

นโยบายดังกล่าวช่วยเพิ่มอิทธิพลและอำนาจของซีซาร์ เป็นเหตุให้มีผู้อิจฉา
ริษยาอำนาจของเขา ซีซาร์ถูกลักลอบสังหารเมื่อปี 44 ก่อนคริสต์ศักราช

ต่อมาในปี 27 ก่อนคริสต์ศักราช ออคเตเวียน (Octavian) หลานชายของซี
ซาร์ได้เปลี่ยนแปลงระบอบสาธารณรัฐเป็นระบอบจักรวรรดิ และสถาปนาตนเอง
เป็นจักรพรรดิออกุสตุส (Augustus) ครองอำนาจระหว่างปี 27-14 ก่อนคริสต์
ศักราช พระองค์ทรงเป็นทั้งประมุขสูงสุดที่มีอำนาจปกครองด้านบริหารและ
นิติบัญญัติ รวมทั้งเป็นจอมทัพอีกด้วย

ในสมัยจักรพรรดิออกุสตุสนี้จักรวรรดิโรมันได้ขยายอำนาจออกไปไกลถึง
สเปน ซีเรีย เขตลุ่มแม่น้ำไรน์ และแม่น้ำดานูป ตลอดจนถึงเขตทะเลทรายซาฮา
ราในทวีปแอฟริกา ระหว่าง ค.ศ.117-180 จักรวรรดิโรมันเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด
สามารถขยายอิทธิพลครอบครองดินแดนมากกว่าครึ่งหนึ่งของภาคพื้นทวีปยุโรป
รวมทั้งเกาะอังกฤษ (ยกเว้นสกอตแลนด์)

ส่วนทางด้านตะวันออกก็สามารถขยายอิทธิพลต่อเนื่องไปจนถึงดินแดนเมโส
โปเตเมียและอาร์เมเนีย ความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโรมันส่งผลให้อารยธรรมโรมัน
แพร่เข้าไปในดินแดนต่างๆ โดยเฉพาะทวีปยุโรปซึ่งรับความเจริญจากอารยธรรม
โรมันทั้งด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม

38

ความเสื่อมของจักรวรรดิโรมัน ตั้งแต่ ค.ศ. 180 จักรวรรดิโรมันเริ่มเสื่อม
อำนาจลง เนื่องจากไม่สามรถปกครองจักรวรรดิที่มีขนาดกว้างใหญ่มากๆ ได้บาง
ช่วงต้องมีการแต่งตั้งจักรพรรดิร่วมเพื่อแยกกันปกครองจักรวรรดิ ใน ค.ศ. 324
จักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine) ได้ปกครองจักรวรรดิโรมัน และเกิด
เหตุการณ์สำคัญ 2 เหตุการณ์ คือ

เหตุการณ์ที่ 1
ได้แก่การย้ายศูนย์กลางการปกครองจากกรุงโรมไปยังกรุงคอนสแตนติโน
เปิล (Constantinople) เรียกว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine) เมื่อ
ค.ศ. 330 ทำให้จักรวรรดิโรมันถูกแบ่งแยกเป็น 2 ส่วน คือ จักรวรรดิโรมันตะวัน
ตก ซึ่งยังคงมีศูนย์กลางที่กรุงโรม และจักรวรรดิไบแซนไทน์หรือหรือจักรวรรดิ
โรมันตะวันออก มีศูนย์กลางที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันคือนครอิสตันบูล
ในประเทศตุรกี) ส่งผลให้จักรวรรดิโรมันเสื่อมอำนาจลงและถูกรุกรานในเวลาต่อ
มา
เหตุการณ์ที่ 2
การที่จักรพรรดิคอนสแตนตินหันไปนับถือศาสนาคริสต์และทำให้คริสต์
ศาสนาแพร่หลายในเขตจักรวรรดิโรมัน และกลายเป็นศาสนาหลักของโลกตะวัน
ตกในเวลาต่อมา

39

ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันถูกแบ่งแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง
จักรวรรดิโรมันตะวันตกอ่อนแอลงตามลำดับเพราะถูกทำลายโดยพวกอารยชน
สำคัญ 2 เผ่า คือ

- เผ่าเยอรมัน ซึ่งมาจากทางเหนือของแม่น้ำไรน์และแม่น้ำดานูบ
- พวกฮัน (Huns) ซึ่งเป็นเชื้อสายเอเชียมาจากทางเหนือของทะเลดำ
พวกเยอรมันโจมตีกรุงโรมได้ใน ค.ศ. 410 และปล้นสะดมทุกสิ่งทุกอย่าง ทำให้
เกิดความระส่ำระสายขึ้นในจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในที่สุดจักรพรรดิองค์สุดท้าย
ของจักรวรรดิโรมันตะวันตกก็ถูกโค่นใน ค.ศ. 476 ซึ่งนักประวัติศาสตร์ถือว่าเป็นปี
ที่จักรวรรดิโรมันล่มสลาย แม้ว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังดำรงอยู่ต่อไปก็ตาม

3. ความเจริญรุ่งเรืองและมรดกสำคัญของอารยธรรมโรมัน

ชาวโรมันได้ใช้เวลานานกว่า 600 ปีในการผสมผสานและหล่อหลอม
อารยธรรมของตน ซึ่งได้เผยแพร่ไปทั่วจักรวรรดิโรมันที่กว้างใหญ่ ความโดดเด่น
ของอารยธรรมโรมันเกิดจากรากฐานที่แข็งแรง ซึ่งได้รับจากอารยธรรมกรีกและ
อารยธรรมของดินแดนรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนผสานกับความเจริญก้าวหน้า
ที่เป็นภูมิปัญญาของชาวโรมันเองที่พยายามคิดค้นและสร้างระบบต่างๆ เพื่อดำรง
ความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโรมันไว้ ทำให้จักรวรรดิโรมันเจริญก้าวหน้า ทั้งด้านการ
ปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม

40

ด้านการปกครอง
อารยธรรมด้านการปกครองเป็นภูมิปัญญาของชาวโรมันที่ได้พัฒนาระบอบ
การปกครองของตนขึ้นเป็นระบอบสาธารณรัฐและจักรวรรดิ เพื่อสร้างความ
แข็งแกร่งให้กับจักรวรรดิโรมัน จุดเด่นของการปกครองแบบโรมัน คือการให้
พลเมืองมีส่วนร่วมในการบริหารราชการส่วนกลาง และการปกครองโดยใช้หลัก
กฎหมาย
การปกครองส่วนกลาง
พลเมืองโรมันแต่ล่ะกลุ่ม ทั้งชนชั้นสูง สามัญชน และทหาร ต่างมีโอกาส
เลือกผู้แทนของตนเข้าไปบริหารประเทศรวม 3 สภา คือ

1. สภาซีเนต (Senate) ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มแพทริเซียน
(Patricians) หรือชนชั้นสูง

2. สภากองร้อย (Assembly of Centuries) ซึ่งเป็นตัวแทนของ
กลุ่มทหารเหล่าต่างๆ และ

3. ราษฎร (Assembly of Tribes) ซึ่งเป็นตัวแทนของพวกพลีเบียน
(Ple-beians) หรือสามัญชนเผ่าต่างๆ รวม 35 เผ่า

แต่ละสภามีหน้าที่และอำนาจแตกต่างกัน รวมทั้งการคัดเลือกเจ้าหน้าที่ไป
บริหารงานส่วนต่างๆ แต่โดยรวมแล้วสภาซีเนตมีอำนาจสูงสุด เพราะได้ควบคุม
การปกครองทั้งด้านบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ตลอดจนกำหนดนโยบาย
ต่างประเทศด้วย

41

กฎหมายโรมัน โรมันมีกฎหมายมาตั้งแต่สมัยสาธารณรัฐ ในระยะแรก
กฎหมายไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์ การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปตามวินิจฉัย
ของผู้พิพากษาซึ่งเป็นกลุ่มชนชั้นสูง ดังนั้นพวกสามัญชนจึงเรียกร้องให้เขียน
กฎหมายเป็นลายลักษณ์ ซึ่งต่อมาได้แกะสลักบนแผ่นไม้รวม 12 แผ่น เรียกว่า
"กฎหมายสิบสองโต๊ะ (Twelve Tables)"

ความโดดเด่นของกฎหมายโรมัน คือ ความทันสมัย เพราะมีการปรับปรุง
แก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับโครงสร้างการปกครองที่เปลี่ยนเป็นระบอบ
จักรวรรดิและสภาพแวดล้อมของประชาชนในทุกส่วนของจักรวรรดิ นอกจากนี้
ตุลาการชาวโรมันยังมีส่วนทำให้เกิดการยอมรับหลักการพื้นฐานของกฎหมายว่า
ประชาชนทุกคนมีความเสมอภาคกันภายใต้กฎหมาย ซึ่งรวมถึงกระบวนการ
ยุติธรรมที่ยึดเป็นแบบอย่างปฏิบัติต่อมาถึงปัจจุบันคือ ให้สันนิษฐานว่าผู้ต้องหา
ทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อน จนกว่าจะมีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่ามีการกระทำความ
ผิด

กฎหมายโรมันเป็นมรดกทางอารยธรรมที่สำคัญ เพราะเป็นพื้นฐานของหลัก
กฎหมายของประเทศต่างๆในทวีปยุโรป และยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกฎและข้อ
บังคับของศาสนาคริสต์

ด้านเศรษฐกิจ
จักรวรรดิโรมันมีนโยบายส่งเสริมการผลิตทางด้านเกษตรกรรม และ
อุตสาหกรรม รวมทั้งการค้ากับดินแดนภายในและภายนอกจักรวรรดิ

42

ด้านเกษตรกรรม
เดิมชาวโรมันในแหลมอิตาลีประกอบเกษตรกรรมเป็นหลัก และพึ่งพิงการ
ผลิตภายในดินแดนของตน ต่อมาเมื่อจักรวรรดิโรมันขยายอำนาจออกไปครอบ
ครองดินแดนอื่นๆ การเพาะปลูกพืชและข้าวในแหลมอิตาลีเริ่มลดลง เนื่องจากรัฐ
ส่งเสริมให้ดินแดนอื่นๆ นอกแหลมอิตาลีปลูกข้าว โดยวิธีการปฏิรูปที่ดิน ดินแดน
ที่ปลูกข้าวส่วนใหญ่อยู่ในแคว้นกอล (Gaull) เขตประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน และ
ตอนเหนือของแอฟริกา ส่วนพื้นที่การเกษตรในแหลมอิตาลีส่วนใหญ่เปลี่ยนไป
ทำไร่องุ่นและเลี้ยงสัตว์
ด้านการค้า
การค้าในจักรวรรดิโรมันรุ่งเรืองมาก มีทั้งการค้ากับดินแดนภายในและนอก
จักรวรรดิ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การค้าเจริญรุ่งเรือง ได้แก่ ขนาดของดินแดนที่กว้าง
ใหญ่และจำนวนประชากร ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่สามารถรองรับสินค้าต่างๆได้
มาก นอกจากนี้การจัดเก็บภาษีการค้าก็อยู่ในอัตราต่ำและยังมีการใช้เงินสกุล
เดียวกันทั่วจักรวรรดิ ประกอบกับภายในจักรวรรดิโรมันมีระบบคมนาคมขนส่งทาง
บก คือ ถนนและสะพานที่ติดต่อเชื่อมโยงกับดินแดนต่างๆ ได้สะดวก ทำให้การ
ติดต่อค้าขายสะดวกรวดเร็ว การค้ากับดินแดนนอกจักรวรรดิโรมันที่สำคัญได้แก่
ทวีปเอเชีย โดยเฉพาะการค้ากับอินเดียซึ่งส่งสินค้าประเภทเครื่องเทศ ผ้าฝ้าย
และสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ สำหรับชนชั้นสูงเข้ามาจำหน่าย โดยมีกรุงโรมและนครอะ
เล็กซานเดรียในอียิปต์เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ

43

ด้านอุตสาหกรรม
ความรุ่งเรืองทางกาค้าของจักรวรรดิโรมันส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้า
อุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง ดินแดนที่มีการประกอบอุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่
แหลมอิตาลี สเปน และแคว้นกอล ซึ่งผลิตสินค้าประเภทเครื่องปั้นดินเผาและสิ่ง
ทอ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมในเขตจักรวรรดิโรมันส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรม
ขนาดเล็กที่ใช้แรงงานคนเป็นหลัก
ด้านสังคม
จักรวรรดิโรมันมีความเจริญด้านสังคมมาก ที่สำคัญได้แก่ ภาษา การศึกษา
วรรณกรรม การก่อสร้าง และสถาปัตยกรรม วิทยาการต่างๆ และวิถีดำรงชีวิตของ
ชาวโรมัน

ภาษาละติน ชาวโรมันพัฒนาภาษาละตินจากตัวพยัญชนะในภาษากรีก
ที่พวกอีทรัสคันนำมาใช้ในแหลมอิตาลี ภาษาละตินมีพยัญชนะ 23 ตัว ใช้กัน
แพร่หลายในมหาวิทยาลัยของยุโรปสมัยกลาง และเป็นภาษาทางราชการของ
ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกมาจนถึงศตวรรษ 1960 นอกจากนี้ภาษาละติน
ยังเป็นภาษากฎหมายของประเทศในยุโรปตะวันตกนานหลายร้อยปีและเป็นราก
ของภาษาในยุโรป ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส และโรมาเนีย
ภาษาละตินยังถูกนำไปใช้เป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับภาษากรีกด้วย

ภาพที่ 13 พยัญชนะภาษาละติน
ที่มา : https://www.blockdit.com

44

ด้านการศึกษา
โรมันส่งเสริมการศึกษาแก่ประชาชนของตนทั่วจักรวรรดิในระดับประถมและ
มัธยม โดยรัฐจัดให้เยาวชนทั้งชายและหญิงที่มีอายุ 7 ปี เข้าศึกษาในโรงเรียน
ประถมโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน ส่วนการศึกษาระดับมัธยมเริ่มเมื่ออายุ 13 ปี
วิชาที่เยาวชนโรมันต้องศึกษาในระดับพื้นฐาน ได้แก่ ภาษาละติน เลขคณิต และ
ดนตรี ผู้ที่ต้องการศึกษาวิทยาการเฉพาะด้าน ต้องเดินทางไปศึกษาตามเมืองที่
เปิดสอนวิชานั้นๆ โดยเฉพาะ เช่น กรุงเอเธนส์สอนวิชาปรัชญา นครอะเล็กซาน
เดรียสอนวิชาการแพทย์ ส่วนกรุงโรมเปิดสอนวิชากฎหมาย คณิตศาสตร์ และ
วิศวกรรมศาสตร์

ภาพที่ 14 แทซิอุส
ที่มา : https://romehistorythailand.wordpress.com

ด้านวรรณกรรม
โรมันได้รับอิทธิพลด้านวรรณกรรมจากกรีก ประกอบกับได้รับการส่งเสริม
จากจักรพรรดิโรมัน จึงมีผลงานด้านวรรณกรรมจำนวนมากทั้งบทกวีและร้อยแก้ว มี
การนำวรรณกรรมกรีกมาเขียนเป็นภาษาละตินเพื่อเผยแพร่ในหมู่ชาวโรมัน และ
ยังมีผลงานด้านประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์โรมันที่มีชื่อเสียงคือ แทซิอุส
(Tacitus)

45

ซึ่งวิพากษ์การใช้ชีวิตฟุ่มเฟือยของชาวโรมัน ส่วนกวีที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคน
หนึ่งของโรมันคือ ซิเซโร (Cicero) ซึ่งมีผลงานจำนวนมากรวมทั้งการแสดงความ
คิดเห็นทางการเมือง

การก่อสร้างและสถาปัตยกรรม ผลงานด้านการก่อสร้างเป็นมรดกที่ยิ่งใหญ่
ของชาวโรมัน โรมันเรียนรู้พื้นฐานและเทคนิคการก่อสร้าง การวางผังเมืองและ
ระบบระบายน้ำจากกรีกจากนั้นได้พัฒนาระบบก่อสร้างของตนเอง ชาวโรมันได้
สร้างผลงานไว้เป็นจำนวนมาก เช่น ถนน สะพาน ท่อส่งน้ำประปา อัฒจันทร์
ครึ่งวงกลม สนามกีฬา ฯลฯ อนึ่ง ในสมัยนี้มีการใช้ปูนซีเมนต์เป็นวัสดุก่อสร้าง
อย่างแพร่หลาย นอกจากผลงานด้านการก่อสร้างแล้ว โรมันยังมีผลงานด้าน
สถาปัตยกรรมซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นศิลปกรรมที่งดงามจำนวนมาก เช่น
พระราชวัง วิหาร โรงละครสร้างเป็นอัฒจันทร์ครึ่งวงกลม ฯลฯ อย่างไรก็ตาม
แม้ว่าโรมันจะรับสถาปัตยกรรมกรีกเป็นต้นแบบงานสถาปัตยกรรมของตน แต่
ชาวโรมันก็ได้พัฒนารูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตนด้วย เช่น ประตู วงโค้ง
และหลังคาแบบโดม

ภาพที่ 15 โคลอสเซียม
ที่มา : https://thaifly.com

46

ด้านวิทยาการต่างๆ
ชาวโรมันได้สร้างคุณูปการสำคัญให้แก่ชาวโลกซึ่งได้แก่การรวบรวมและ
บันทึกวิทยาการต่างๆ เช่น ตำราด้านการแพทย์ ดาราศาสตร์ เกษตรศาสตร์
สัตวแพทย์ ฯลฯ อย่างไรก็ตามการแพทย์และสาธารณสุขของโรมันนับว่าก้าวหน้า
มาก แพทย์โรมันสามารถผ่าตัดรักษาโรคได้หลายโรค โดยเฉพาะการผ่าตัด
ทำคลอดทารกจากทางหน้าท้องของมารดา ซึ่งเรียกว่า ศัลยกรรมซีซาร์
(Caesarean Operation) นอกจากนี้ยังมีการสร้างโรงพยาบาลระบบบำบัดน้ำเสีย
และสิ่งปฏิกูล

ภาพที่ 16 ศัลยกรรมซีซาร์
ที่มา : https://romanstory.wordpress.com/

วิถีชีวิตของชาวโรมัน ความเจริญรุ่งเรืองของจักรวรรดิโรมัน ทำให้ชนชั้นสูงชาว
โรมันและผู้มีฐานะมั่งคั่งดำรงชีวิตอย่างฟุ่มเฟือยหรูหรา ทั้งการสร้างคฤหาสน์ที่โอ่อ่า
สุขสบาย มีสิ่งบำเรอความสะดวกครบถ้วน ลักษณะเด่นที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตที่
หรูหราของชาวโรมันคืออ่างอาบน้ำ ซึ่งมีทั้งที่อยู่ในบ้านและที่อาบน้ำสาธารณะ ใน
ทางตรงข้ามประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน โดยเฉพาะในกรุงโรมมีคนจน
จำนวนมากซึ่งมีชีวิตยากจน

47

ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างและขาดสวัสดิการ ลักษณะเช่นนี้สะท้อนถึงปัญหา
สังคมของเมืองใหญ่ที่เจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุ แต่มักประสบปัญหาด้าน
คุณภาพชีวิตของประชาชน

โดยสรุป อารยธรรมสมัยโบราณคือเมโสโปเตเมียและอียิปต์ แม้จะมีแหล่ง
กำเนิดอยู่ในเขตทวีปเอเชียและทางตอนเหนือของแอฟริกา แต่ความเจริญส่วน
ใหญ่กลับเป็นรากฐานของอารยธรรมตะวันตก เนื่องจากกรีกและโรมันรับเอาความ
เจริญของอารยธรรมอียิปต์และเมโสโปเตเมียไปพัฒนาและผสมผสานกลมกลืน
เป็นอารยธรรมของตน ซึ่งได้ลืบทอดไปสู่ทวีปยุโรปพร้อมกับการขยายตัวของ
จักรวรรดิโรมัน ทำให้อารยธรรมตะวันตกหล่อหลอมขึ้นจากความหลากหลาย ส่วน
อารยธรรมจีนและอินเดียเป็นอารยธรรมหลักของอารยธรรมตะวันออกโบราณที่ได้
รับอิทธิพลจากโลกภายนอกไม่มากนัก เป็นพลให้พัฒนาการของอารยธรรมตะวัน
ออกและอารยธรรมตะวันตกในเวลาต่อมาต่างมีเอกลักษณ์ของตนเอง

แหล่งศึกษาเพิ่มเติม 48

https://www.youtube.com/watch?v=uVoA_3j6qJA อารยธรรมกรีกโบราณ

https://www.youtube.com/watch?v=xBTAPkJFOwU กรีกอารยธรรมเปลี่ยนโลก

https://www.youtube.com/watch?v=e08GtzzOJbE อารยธรรมโรมันยุครุ่งเรือง

https://www.youtube.com/watch?v=fHBaqUmaS4Q อารยธรรมโรมัน (ยุคโบราณ)

กิจกรรมที่ 1 49

ชื่อ –นามสกุล ............................................................. ชั้น ................. เลขที่ ................