Market cap ส งกว า ม ลค าก จการ

นักลงทุนคงคุ้นเคยกันดีกับคำว่าหุ้นขนาดเล็ด ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยที่หุ้นแต่ละขนาดนั้นอาจมีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างกัน เช่น อัตราการเจริญเติบโตของธุรกิจ อัตราการจ่ายเงินปันผล ความเสี่ยง หรือค่า PE เป็นต้น ซึ่งนักลงทุนอาจจะใช้ลักษณะเฉพาะของหุ้นแต่ละขนาดมาเป็นองค์ประกอบก่อนการตัดสินใจลงทุนได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น มีหุ้น 3 บริษัทดำเนินธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน และมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่มีขนาดที่แตกต่างกัน โดยแบ่งเป็นหุ้นขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ นักลงทุนบางกลุ่มอาจชอบลงทุนในหุ้นขนาดเล็กมากกว่า เพราะหุ้นขนาดเล็กอาจมีเปอร์เซ็นต์การเติบโตที่มากกว่าหุ้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ ในขณะเดียวกัน นักลงทุนอีกกลุ่มหนึ่งอาจชอบลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่มากกว่า เพราะ บริษัทขนาดใหญ่มีฐานลูกค้าที่กว้างกว่า จึงสามารถผลิตสินค้าหรือให้บริการได้มาก เกิดการประหยัดจากขนาด (Economies of scale) และอาจนำมาซึ่งผลกำไรที่มากกว่า

คำจำกัดความของหุ้นขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ (Small-, Mid-, and Large-Cap Stocks)

ตามคำจำกัดความของ มอร์นิ่งสตาร์ หุ้นขนาดใหญ่ คือ หุ้นที่มีมูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalisation or Market Cap) อยู่ใน 70% แรกของมูลค่าตลาดโดยรวม หุ้นขนาดกลาง คือ หุ้นที่มีมูลค่าตามราคาตลาด อยู่ใน 20% ถัดมา และหุ้นขนาดเล็ก คือ หุ้นที่เหลือ นั่นคือ 10% สุดท้าย

กรณีของประเทศไทยนั้น การพิจารณาว่า หุ้นนั้นๆ เป็นหุ้นขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ เราสามารถดูได้จากดัชนี FTSE SET Large Cap, FTSE SET Mid Cap, และ FTSE SET Small Cap ซึ่งดัชนี FTSE SET เป็นดัชนีที่เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของ ตลาดหลักทรัพย์ฯ และ FTSE Group เพื่อยกระดับดัชนีของตลาดทุนไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและสอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุนไทยและต่างประเทศมากขึ้น

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้แบ่งหุ้นตามขนาด ผ่านดัชนีทั้งสามด้วยหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

FTSE SET Large Cap (FSTHL) ประกอบด้วยหลักทรัพย์ 30 ตัวแรกในกระดานหลัก (SET main board) เรียงตาม Market Cap ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก (Free Float & Liquidity Screening)

FTSE SET Mid Cap (FSTHM) ประกอบด้วยหลักทรัพย์ที่อยู่ใน 90% แรกของกระดานหลักเรียงตาม Market Cap ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก แต่ไม่อยู่ใน FTSE SET Large Cap

FTSE SET Small Cap (FSTHS) ประกอบด้วยหลักทรัพย์ที่อยู่ใน 98% แรกของกระดานหลัก เรียงตาม market cap ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก แต่ไม่อยู่ใน FTSE SET Large Capและ FTSE SET Mid Cap Index

ลักษณะของหุ้นขนาดใหญ่

บริษัทหรือหุ้นที่จัดอยู่ในกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่นั้น มักเป็นบริษัทที่เป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง และมักจะตกเป็นข่าวให้เห็นอยู่บ่อยๆ อีกทั้งหุ้นกลุ่มนี้ยังถูกถือโดยนักลงทุนจำนวนมาก

นักลงทุนโดยทั่วไปจะตระหนักว่าหุ้นหรือบริษัทขนาดใหญ่ค่อนข้างที่จะมั่นคง ดังนั้นอัตราการเติบโตของบริษัทเหล่านี้จะมีอัตราการเติบโตที่ไม่โดดเด่น ไม่เติบโตอย่างก้าวกระโดดเหมือนบริษัทขนาดเล็ก และบริษัทขนาดใหญ่เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นอีกด้วย นอกจากนี้หุ้นขนาดใหญ่ส่วนมากจะมีความต้องการซื้อมาก ดังนั้นอาจเป็นเรื่องยากที่จะซื้อหุ้นเหล่านั้นในราคาที่ต่ำกว่าราคายุติธรรม (Fair price) เมื่อเป็นเช่นนี้อาจจะไม่ง่ายที่จะทำกำไรจากส่วนต่างของราคา (Capital gain) กับหุ้นขนาดใหญ่

ลักษณะของหุ้นขนาดกลาง

นักลงทุนบางกลุ่มอาจชอบลงทุนในหุ้นขนาดกลางมากกว่า เพราะบริษัทเหล่านี้อาจมีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วกว่าบริษัทขนาดใหญ่ และบางครั้งอาจซื้อหุ้นเหล่านั้นได้ในราคาที่ต่ำกว่าราคายุติธรรม (Fair price) เนื่องจากหุ้นเหล่านี้ไม่ได้เป็นที่นิยมเท่าหุ้นขนาดใหญ่

หุ้นขนาดกลางมักเป็นเป้าหมายของบริษัทขนาดใหญ่ในการที่จะเข้าซื้อและควบรวมกิจการ (Mergers and Acquisitions) ซึ่งข้อดีก็คือ บริษัทที่มาเข้าซื้ออาจยินดีที่จะจ่ายชดเชย (Premium) ให้กับหุ้นของบริษัทขนาดกลางนั้นๆ ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์กับผู้ถือหุ้นของบริษัทขนาดกลางดังกล่าวนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม หากนักลงทุนเข้าซื้อหุ้นในจังหวะที่ราคาแพงเกินไป ก็คงเป็นการยากที่จะทำกำไรจากส่วนต่างของราคา ซึ่งก็จะส่งผลเสียต่อผู้ลงทุนเช่นกัน แน่นอนว่า ข้อเท็จจริงดังกล่าวส่งผลแบบเดียวกันกับหุ้นขนาดใหญ่และขนาดเล็กด้วย

ลักษณะของหุ้นขนาดเล็ก

หุ้นขนาดเล็กมักเป็นที่รู้กันว่า เป็นหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูง แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นหุ้นที่มีความผันผวนสูงด้วย เพราะหุ้นเหล่านี้เป็นหุ้นที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก เป็นบริษัทขนาดเล็ก และอยู่ในขั้นแรกๆของวัฏจักรธุรกิจ ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะเติบโตอย่างก้าวกระโดด ในขณะเดียวกันก็มีโอกาสที่จะล้มและหายไปจากตลาดด้วย

โครงสร้างผู้ถือหุ้นของบริษัทขนาดเล็กนั้น เจ้าของหรือบอร์ดบริหารมักจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เมื่อเป็นเช่นนี้ราคาหุ้นนอกจากจะขึ้นกับผลการดำเนินงานของบริษัทแล้ว ยังอาจขึ้นกับการตัดสินใจบางอย่างของเจ้าของด้วย เพราะเจ้าของบริษัทเองก็คงไม่อยากจะขาดทุนไปพร้อมๆกันกับบริษัทที่ตัวเองสร้างมา

จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าหุ้นแต่ละขนาดมีข้อดีและข้อด้อยที่แตกต่างกัน นักลงทุนอาจใช้ลักษณะเฉพาะอย่างของหุ้นแต่ละขนาดมาประกอบการตัดสินใจก่อนลงทุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลงทุนของตนเอง หรืออาจเลือกลงทุนในหุ้นทั้งสามขนาดคละกันไปเพื่อกระจายความเสี่ยงโดยปรับน้ำหนักการลงทุนในหุ้นแต่ละขนาดให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการลงทุนก็ได้เช่นกัน เช่น หากนักลงทุนยอมรับความเสี่ยงได้มากแลกกับการมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น ก็อาจจะให้น้ำหนักกับหุ้นขนาดเล็กมากหน่อย แต่ถ้านักลงทุนชอบหุ้นที่มีความมั่นคง มีการจ่ายปันผลสม่ำเสมอ ก็ให้น้ำหนักกับหุ้นขนาดใหญ่ เป็นต้น

มูลค่าทางบัญชี คือ มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัทตามงบดุล ขณะที่มูลค่าตลาด คือ มูลค่าของบริษัทตามราคาหุ้น (ในปัจจุบัน) ซึ่งทั้งสองถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการคัดเลือกหุ้นและนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ โดยเมื่อคำนวณหามูลค่าทางบัญชีและมูลค่าตลาดแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้อาจมีความแตกต่างกันหรืออาจเหมือนกันก็ได้ จึงต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่ก่อนตัดสินใจลงทุน

หากเอ่ยชื่อ วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) นักลงทุนคงรู้จักกันดี โดยเฉพาะนักลงทุนหุ้นคุณค่า (Value Investor) ซึ่งเทคนิคสำคัญหนึ่งที่บัฟเฟตต์ใช้ในการเลือกหุ้นเพื่อสร้างความมั่งคั่ง ก็คือ การเลือกหุ้นที่มีมูลค่าตลาดต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี

คำถามที่ตามมา ก็คือ มูลค่าทางบัญชี (Book Value) และมูลค่าตลาด (Market Value) แตกต่างกันอย่างไร และช่วยให้นักลงทุนบรรลุเป้าหมายการลงทุนได้อย่างไร

มาเริ่มกันที่มูลค่าทางบัญชี หมายถึง มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัท (Net Asset Value : NAV) ตามงบดุลล่าสุดของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ดังนั้น มูลค่าทางบัญชีจะเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับหากบริษัทตัดสินใจที่จะเลิกกิจการ โดยคำนวณได้จากการนำสินทรัพย์รวมหักด้วยหนี้สินรวม

มูลค่าทางบัญชี = สินทรัพย์รวม - หนี้สินรวม

ตัวอย่าง

บริษัท ABC มีสินทรัพย์รวมทั้งหมด 200 ล้านบาท และมีหนี้สินรวม 90 ล้านบาท มูลค่าทางบัญชีของบริษัทจะเท่ากับ 110 ล้าน (200 – 90) ดังนั้น ถ้าหากบริษัทมีการยกเลิกกิจการและทำการขายสินทรัพย์เพื่อชำระหนี้ มูลค่าสุทธิของบริษัทจะอยู่ที่ 110 ล้านบาท

โดยสินทรัพย์รวมที่นำมาใช้คำนวนเพื่อหามูลค่าทางบัญชีจะครอบคลุมสินทรัพย์ทางการเงินทุกประเภท รวมถึงเงินสด เงินลงทุนระยะสั้น ลูกหนี้การค้า สินทรัพย์ทางกายภาพ เช่น สินค้าคงคลัง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ก็เป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์รวมเช่นกัน และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนอย่าง เช่น เครื่องหมายการค้า ทรัพย์สินทางปัญญา ก็จะถูกคำนวนเป็นหนึ่งในสินทรัพย์รวมเช่นกันถ้าหากมีการลงบัญชีอยู่ในงบการเงิน

ส่วนหนี้สินรวม คือ หนี้สินของธุรกิจที่มีทั้งหมด เช่น เจ้าหนี้การค้า หนี้สินทั้งหมดจากทุกสถาบันการเงิน ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี และค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่น ๆ

ซึ่งการหาตัวเลขเพื่อนำมาคำนวณมูลค่าทางบัญชีของบริษัทสามารถทำได้ง่าย โดยการดูสินทรัพย์และหนี้สินจากงบดุลในงบการเงิน

หลังจากได้มูลค่าทางบัญชีของบริษัทแล้ว ถ้าต้องการรู้ว่ามูลค่าทางบัญชีต่อหุ้นเป็นเท่าใด ก็สามารหาได้จากการนำมูลค่าทางบัญชีหารด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่บริษัทออกและเรียกชำระแล้ว ก็จะได้มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (Book Value per Share) ซึ่งจะช่วยให้สามารถเปรียบเทียบกับมูลค่าตลาดของหุ้นได้

ข้อจำกัดของมูลค่าทางบัญชี

มูลค่าทางบัญชีของหุ้นก็มีข้อจำกัด ประเด็นสำคัญประการหนึ่งเกี่ยวกับมูลค่าทางบัญชี คือ บริษัทต่าง ๆ รายงานตัวเลขเป็นรายงวด (รายไตรมาสหรือรายปี) หลังจากนั้นนักลงทุนจะไม่สามารถทราบถึงการเปลี่ยนแปลงได้จนกว่าบริษัทจะเปิดเผยตัวเลขในงวดถัดไป

การประเมินมูลค่าทางบัญชีเป็นแนวคิดทางบัญชี ดังนั้น จึงต้องมีการปรับตัวเลขบางอย่าง เช่น ค่าเสื่อมราคาที่อาจจะเข้าใจและประเมินได้ยาก หากบริษัทคิดค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์นักลงทุนอาจใช้เวลานานในการทำความเข้าใจผลกระทบกับมูลค่าทางบัญชี

นอกจากนี้ ค่าเสื่อมราคาและแนวปฏิบัติทางบัญชีสามารถสร้างปัญหาอื่น ๆ ได้ เช่น บริษัทอาจรายงานมูลค่าอุปกรณ์บางอย่างที่สูงเกินไปหากใช้การคำนวนค่าเสื่อมราคาด้วยวิธีแบบเส้นตรง หรือข้อจำกัดอีกประการ คือ มูลค่าทางบัญชีไม่ได้รวมผลกระทบทั้งหมดของทรัพย์สินและต้นทุนในการขาย ทำให้การประเมินมูลค่าทางบัญชีอาจสูงเกินไปหากบริษัทล้มละลายและมีสิทธิโดยยึดทรัพย์สิน ยิ่งไปกว่านั้นสินทรัพย์จะขายไม่ได้ในราคาที่ดีหากเจ้าหนี้ขายในช่วงที่ตลาดซบเซาหรือเศรษฐกิจถดถอย

สำหรับมูลค่าของสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ เช่น ลิขสิทธิ์ก็มีความยากลำบากในการกำหนดมูลค่า ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับมูลค่าทางบัญชีอันเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หรือปัจจัยต่าง ๆ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญามีบทบาทสำคัญในการกำหนดผลกำไร ส่งผลให้นักบัญชีต้องคิดหาวิธีการประเมินมูลค่าสิ่งที่จับต้องไม่ได้อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มูลค่าทางบัญชีเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

ขณะที่มูลค่าตลาด หมายถึง มูลค่าของบริษัทตามราคาหุ้น (ในปัจจุบัน) พูดง่าย ๆ ก็คือ มูลค่าตลาดเท่ากับมูลค่าหุ้นตามราคาตลาด โดยคำนวณได้จากราคาตลาดต่อหุ้นคูณด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมด

มูลค่าตลาด = ราคาตลาดต่อหุ้น x จำนวนหุ้นสามัญทั้งหมด

ตัวอย่าง

บริษัท XYZ มีหุ้นสามัญทั้งหมด 100 ล้านหุ้น ราคาหุ้นของบริษัทมีการซื้อขาย ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 0.75 บาทต่อหุ้น ดังนั้น มูลค่าบริษัทอยู่ที่ 100 ล้านบาทคูณด้วย 0.75 บาท เท่ากับบริษัท XYZ มีมูลค่าตลาดที่ 75 ล้านบาท

ข้อจำกัดของมูลค่าตลาด

แม้ว่ามูลค่าตามราคาตลาดจะแสดงถึงการรับรู้ของตลาดเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าของบริษัท แต่อาจไม่ได้แสดงถึงภาพจริงเสมอไป เพราะโดยปกติแล้วราคาหุ้นจะเคลื่อนไหวขึ้นหรือลงระหว่างวันได้ตลอดเวลา หรือหุ้นมักจะซื้อหรือขายมากเกินไปในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เป็นต้น

ดังนั้น นักลงทุน (โดยเฉพาะผู้ที่เน้นลงทุนระยะยาว) ควรระมัดระวังความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในระหว่างวันหรือปัจจัยที่เข้ามากระทบในช่วงสั้น ๆ เป็นครั้งคราวซึ่งอาจกระทบกับมูลค่าตลาด เช่น มูลค่าตลาดหุ้นเทคโนโลยีพุ่งสูงกว่าการประเมินมูลค่าทางบัญชีในช่วงปี 1920 และเมื่อเกิดวิกฤติฟองสบู่ดอทคอม ในปี 2000 มูลค่าตลาดของหลายบริษัทก็ลดต่ำลงกว่ามูลค่าทางบัญชีในช่วงปี 1929 ดังนั้น การพึ่งพามูลค่าตลาดเพียงอย่างเดียวอาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการประเมินศักยภาพของหุ้น

ส่งท้าย ถ้ามูลค่าทางบัญชีมากกว่ามูลค่าตลาด

เป็นเรื่องปกติที่บริษัทจะซื้อขายด้วยมูลค่าตลาดที่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี เมื่อเกิดกรณีนี้มักบ่งชี้ว่าตลาดสูญเสียความมั่นใจในบริษัทไปชั่วขณะ อาจเป็นเพราะปัญหาทางธุรกิจ การแพ้คดีความที่สำคัญ พูดง่าย ๆ คือ ตลาดไม่เชื่อว่าบริษัทมีมูลค่าทางบัญชีที่น่าสนใจ โดยนักลงทุนหุ้นคุณค่ามักจะชอบบริษัทที่มีมูลค่าตลาดต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี เพราะมองว่าเป็นสัญญาณของการประเมินมูลค่าที่ต่ำเกินไปและหวังว่าการรับรู้ของตลาดจะไม่ถูกต้อง ในสถานการณ์นี้ อาจมองว่าตลาดกำลังเปิดโอกาสให้นักลงทุนลงทุนในบริษัทที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าสุทธิที่ระบุไว้ แต่อย่าลืมไม่มีการรับประกันว่าราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้นในอนาคต

ถ้ามูลค่าตลาดมากกว่ามูลค่าทางบัญชี

มูลค่าตลาดของบริษัทมักสูงกว่ามูลค่าทางบัญชี โดยตลาดมองว่าบริษัทส่วนใหญ่มีโอกาสในการสร้างรายได้มากกว่าสินทรัพย์ที่ตัวเองมี สะท้อนถึงนักลงทุนเชื่อว่าบริษัทมีโอกาสขยายตัวและสร้างผลกำไรที่ดีในอนาคต จึงประเมินว่ามูลค่าตลาดของบริษัทสูงกว่ามูลค่าทางบัญชีที่แสดงไว้ในปัจจุบัน (บริษัทที่มีกำไรดีมักมีมูลค่าตลาดมากกว่ามูลค่าทางบัญชี) อย่างไรก็ตาม อาจบ่งชี้ว่าเป็นหุ้นที่ราคาสูงเกินไปหรือนักลงทุนเข้ามาลงทุนมากเกินไป การซื้อขายจึงสะท้อนด้วยราคาที่สูงเกินไปเช่นกัน

สำหรับนักลงทุนและผู้ที่สนใจ เรียนรู้องค์ประกอบต่าง ๆ ของงบการเงิน และเทคนิคการอ่านงบการเงินแบบง่าย เพื่อประเมินศักยภาพของกิจการประกอบการตัดสินใจลงทุน สามารถเรียนรู้เพิ่มเติม ผ่าน e-Learning หลักสูตร “Financial Statement Analysis” ได้ฟรี!!! >> คลิกที่นี่

หรือเรียนรู้วิธีการประเมินมูลค่าหุ้นที่เหมาะสมกับลักษณะของกิจการ ตลอดจนการคำนวณราคาหุ้นที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการตัดสินใจลงทุน สามารถเรียนรู้เพิ่มเติม ผ่าน e-Learning หลักสูตร “Stock Valuation : Relative Valuation” ได้ฟรี!!! >> คลิกที่นี่

Market Capitalization บอกอะไร

Market Capitalization (มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด) หรือ บางครั้งเรียกสั้นๆ ว่า Market Cap คือ มูลค่าตลาดรวมของหุ้นที่โดดเด่นของบริษัท ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ขนาดของบรษัทโดยรวม ซึ่งตัวเลข Market Cap คือ ตัวบ่งชี้ที่สามารถบอกนักลงทุนถึงศักยภาพ และโอกาสในการลงทุนในบริษัทนั้นๆ ได้

บริษัทใดต่อไปนี้มี Market Capitalization สูงที่สุด

Apple ยึดตำแหน่งบริษัทที่ Market Cap. สูงที่สุดในโลกได้ติดต่อกันถึง 8 ไตรมาสล่าสุด นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2020 ถึง ไตรมาสแรก ปี 2022.

มูลค่าตลาด คำนวณยังไง

Market Cap ย่อมาจากคำว่า Market Capitalization index มีความหมายว่ามูลค่าตลาด ซึ่งมีสูตรการคำนวณแบบง่ายๆ นั่นก็คือเอาราคาตลาด X ปริมาณของสินทรัพย์ ทำให้ Market Cap ของคริปโตนั้นมีการเคลื่อนไหวอยู่บ่อยครั้งกว่าตลาดหุ้น เนื่องจาก Market Cap ของตลาดหุ้นจะใช้ราคาตอนปิดของหุ้นมาเป็นตัวคำนวณนั่นเอง

มาร์เก็ตแคป หุ้น ดูตรงไหน

จริงๆแล้วต้องดูจาก จ านวนหุ้น (Number of Shares) คูณด้วย ราคาตลาด (Market Price) มีผลลัพธ์ยิ่งมากก็ถือ เป็นหุ้นมี Market Cap.สูง และกระทบกับตลาดมากที่สุด

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf