Doxycycline ต อ ม ล กหมาก อ กเสบ

การข่มขืน (Sexual assault) หมายถึง การกระทำทางเพศใดๆ ที่ดำเนินการโดยคนคนหนึ่ง (หรือหลายคน) ต่ออีกคนหนึ่งโดยปราศจากความยินยอม โดยเป็นผลมาจากการขู่เข็ญหรือใช้กำลังคุกคาม หรือจากการที่ผู้ถูกกระทำไร้ความสามารถในการป้องกันตัวเอง

Rape เป็นคำศัพท์ทางกฎหมาย ซึ่งหมายรวมถึงการการล่วงล้ำเข้าไปในทวารต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ปาก ช่องคลอด ทวารหนัก โดยการใช้ข่มขู่หรือใช้กำลังบังคับ หรือไร้ความสามารถในการป้องกันตนเอง ซึ่งอาจสัมพันธ์กับอายุ (เด็กหรือผู้สูงอายุ) ความสามารถในการรับรู้ผิดปกติ หรือร่างกายไร้ความสามารถ หรือเกิดจากฤทธิ์ของยาและแอลกอฮอร์โดยผู้ถูกกระทำปราศจากความยินยอม

ในพจนานุกรมไทย ได้แยกอธิบายได้ดังนี้ 1,2

ข่มขืน หมายถึง การบังคับใจ ให้ผู้ถูกกระทำต้องตัดสินใจกระทำการ ไม่กระทำการ หรือจำยอมให้กระทำการนั้น โดยมิได้ยินยอมพร้อมใจ

การกระทำชำเรา หมายถึง การร่วมประเวณีหรือการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิง โดยปกติธรรมชาติ

การชำเราหญิง ตามกฎหมายนั้น หมายถึงการทำให้ของลับของฝ่ายชายล่วงล้ำเข้าไปในของลับของฝ่ายหญิง ไม่ว่าจะมาน้อยเพียงใด จะสำเร็จความใครหรือไม่นั้น ไม่สำคัญ

ในปัจจุบัน ปัญหาการใช้ความรุนแรงทางเพศในสังคมมีแนวโน้มมากขึ้น การตรวจรักษาและประเมินผู้ป่วยเป็นหน้าที่ของแพทย์ รวมถึงบทบาทด้านการสืบค้นหาหลักฐาน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาทางคดี ซึ่งการตรวจรักษาผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม จะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดตามมา เช่น ปัญหาการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ ภาวะซึมเศร้า การฆ่าตัวตาย และยังช่วยให้ได้หลักฐานที่จะนำมาประกอบการสืบหาตัวผู้กระทำและพิจารณาโทษทางกฎหมายได้อย่างทันท่วงที

ระบาดวิทยา

จากข้อมูลทางสถิติ ในสหรัฐอเมริกาพบว่าอัตราการข่มขืนตลอดช่วงชีวิตในฝ่ายหญิงพบได้ประมาณ 18% และในฝ่ายชาย 3% โดยจากการสอบถามทางโทรศัพท์ พบว่าในรอบปีผู้หญิง 2.8% เคยถูกข่มขืนหรือพยายามข่มขืน อัตรารวมสะสมในช่วง 4 ปีสูงถึง 25% ในอีกการศึกษาหนึ่งพบว่า 30% ของผู้หญิงในระดับปริญญาตรีถูกกระทำชำเราโดยมีการใช้ยาหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ร้อยละ 50 ของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อข่มข้นมีความใกล้ชิดกับผู้กระทำ นอกจากนี้ 55% ถูกทำร้ายคายในบ้านของตนเองหรือในสถานดูแล ในผู้ชาย ความชุกของการถูกข่มขืนอาจพบสูงขึ้นในกลุ่มชายรักร่วมเพศ (เกย์, กระเทย) ทหารผ่านศึก ผู้ต้องขังเรือนจำ และผู้ที่แสวงหาการบริการสุขภาพจิต แต่มีเพียง 10-15% เท่านั้นที่มีการแจ้งความ โดยผู้ถูกข่มขืนมีแนวโน้มที่จะแจ้งความน้อยลงไปอีก ถ้าผู้ถูกกระทำเป็นคนรู้จัก

ในประเทศไทย ปัญหาการใช้ความรุนแรงทางเพศในสังคมไทยมีความรุนแรงมากขึ้น3 โดยอธิบดีกรมอนามัย (นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา, มกราคม 2555) ได้เปิดเผยว่า ความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขและสิทธิมนุษยชนซึ่งผู้ที่ตกเป็นเหยื่อส่วนใหญ่ มักจะเป็นผู้หญิงและเด็ก ประมาณว่าตลอดช่วงชีวิตของผู้หญิง 1 ใน 5 คน ตกเป็นเหยื่อของการถูกข่มขืน หรือพยายามข่มขืน โดยที่ผู้หญิง 1 ใน 3 คน มีประสบการณ์ถูกทำร้ายทุบตี ทำร้ายจิตใจ หรือบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ โดยสมาชิกในครอบครัว หรือผู้ที่คุ้นเคยและอาจรวมไปถึงการถูกล่วงเกินทางเพศโดยสายตา การกระทำ หรือคำพูด จากผู้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงาน ซึ่งผู้หญิงที่ถูกกระทำรุนแรงทางเพศมีความเสี่ยงสูงที่จะตั้งครรภ์นำไปสู่การทำแท้ง ติดเชื้อ HIV หรือโรคทางเพศสัมพันธ์ และมีผลเสียต่อสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์ และความเป็นอยู่โดยทั่วไป

นอกจากนี้ยังกล่าวด้วยว่าข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ในการเฝ้าระวังการบาดเจ็บในโรงพยาบาล 21 แห่ง พบว่า ผู้หญิงถูกทำร้ายร่างกายและต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล เฉลี่ยวันละ 1 คน ต่อหนึ่งโรงพยาบาล ในจำนวนนั้นเสีย ชีวิตปีละ 3 คน ต่อหนึ่งโรงพยาบาล ทั้งยังพบว่า ผู้หญิงถูกข่มขืนและล่วงละเมิดทางเพศเฉลี่ย วันละ 12 คน โดยมีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ถูกข่มขืนและ ล่วงละเมิดทางเพศเฉลี่ยวันละ 2 คน นอกจากนี้จากงานวิจัยพบว่าหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 12 ถูกกระทำรุนแรงทาง ร่างกาย และร้อยละ 23 ถูกกระทำรุนแรงทางจิตใจจากคู่ชีวิต ดังนั้นกรมอนามัยจึงได้ร่วมกับราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย สนับสนุนให้สูตินรี เป็นด่านแรกที่จะช่วยเหลือให้การดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศ โดยเพิ่มพูนความรู้ให้กับสูตินรีแพทย์ ในด้านความรุนแรงต่อผู้หญิงในมิติเพศภาวะ (Gender Based Violence-GBV) เพื่อให้ความช่วยเหลือกับผู้หญิงที่ ตกเป็นเหยื่อเหล่านี้

นอกจานี้ ประธานมูลนิธิปวีณาฯ เคยเปิดเผยสถิติเหยื่อคดีข่มขืน อนาจาร และทารุณกรรมเข้าร้องเรียนมูลนิธิปวีณาฯ ในรอบ 10 ปี (2543- 2552) สูงขึ้นเกือบเท่าตัว ผู้เสียหายอายุน้อยสุดแค่ 5 เดือน มากสุด 67 ปี ส่วนใหญ่เกิดจากน้ำมือของคนสนิท คนในครอบครัว

ผู้ถูกข่มขืนมักมีอายุ 18-25 ปี มีบ้างที่เป็นเด็กหรือคนชรา ชายผู้ข่มขืนหระทำชำเรา มักมีอายุระหว่าง 20-24 ปี มักมีอารมณ์ไม่แน่นอน มาจากครอบครัวที่แตกแยก แรงจูงใจพื้นฐานคือความต้องการมีอำนาจเหนือและมีความรู้สึกกร้าวร้าวต่อผู้ถูกข่มขืน การข่มขืนมักเกิดขึ้นโดยบังเอิญ ไม่ได้วางแผนจะกระทำหรือกระทำต่อหญิงคนใดโดยจำเพาะเจาะจง แต่เนื่องจากถูกกระตุ้นโดยปัจจัยต่าง ๆ เช่น อารมณ์ การถูกยั่วยุทางเพศ เมาสุรา (พบว่าร้อยละ 50 ของผู้ที่ข่มขืนกระทำชำเราดื่มสุราก่อนลงมือกระทำ การดื่มสุราอาจกระทำเพื่อจุดมุ่งหมายบางอย่าง เช่น ทำให้กล้า ทำให้ไม่คิดมาก หรือเพื่อโดนความผิดว่ากระทำเพราะฤทธิ์สุรา)

การประเมินผู้ป่วย 4,5

ภายหลังจากถูกข่มขืน ผู้ถูกกระทำมักเกิดคำถามขึ้นมากมาย เช่น

  • ทำไมจึงเกิดเรื่องนี้ขึ้น
  • สามารถป้องกันได้หรือไม่
  • จะเกิดการติดเชื้อหรือตั้งครรภ์หรือไม่
  • ควรจะติดต่อใครก่อนเป็นอันดับแรก
  • ควรแจ้งความหรือไม่
  • จะเกิดซ้ำอีกรึเปล่า
  • เป็นความผิดของเราที่ดื่มสุราหรือเปล่า

คำถามเหล่านี้มีความสำคัญ แพทย์และทีมแพทย์ควรมีข้อมูลต่าง ๆ และตอบคำถามเหล่านี้ได้ รวมถึงแนะนำขึ้นตอนต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติหลังจากถูกข่มขืนให้กับผู้เสียหาย

  • การประเมินผู้ป่วย ควรประเมินในด้านต่อไปนี้
  • ประเมินและรักษาของอาการบาดเจ็บทางกายภาพ โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศ
  • ประเมินและให้ความช่วยเหลือทางด้านจิตวิทยา
  • ประเมินการตั้งครรภ์และการป้องกันการตั้งครรภ์
  • ประเมินความเสี่ยงด้านการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์และให้การรักษาป้องกัน
  • ประเมินผลทางด้านนิติเวช

โดยการตรวจประเมิน ควรทำโดยผู้ที่มีประสบการณ์ในการตรวจด้านนี้โดยเฉพาะ อาจเป็นสูตินรีแพทย์ หรือนิติเวชแพทย์ หรือพยาบาลที่ได้รับการฝึกอบรมมาเพื่อดูแลผู้ป่วยเหล่านี้โดยเฉพาะ และควาเป็นคนเดิมในกรณีที่มีการตรวจซ้ำหรือต่อเนื่อง และสิ่งสำคัญที่สุดคือต้องได้รับการยินยอมจากผู้ถูกกระทำก่อนทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจทางห้องปฏิบัติการทุกครั้ง

การซักประวัติ

ควรเน้นรายละเอียดเกี่ยวกับการถูกล่วงละเมิดทางเพศ เพื่อวัตถุประสงค์ทางนิติวิทยาศาสตร์ในกรณีของการฟ้องร้อง รายละเอียดที่ได้รับจะช่วยทำให้สามารถประเมินการบาดเจ็บและประเมินความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ง่ายขึ้น

  • วันเวลาที่เกิดเหตุ สถานที่ การใช้อาวุธ การขู่บังคับ การใช้เครื่องพันธนาการ
  • ระดับความรู้สึกตัว การถูกใช้สารมอมเมา หรือยากระตุ้น
  • ลักษณะของผู้ที่กระทำชำเรา การใช้สารเสพติด ยา หรือดื่มสุรา
  • มีการล่วงละเมิดทางเพศผ่านทางใดบ้าง เช่น ช่องคลอด ทวารหนัก ปาก, มีการหลั่งน้ำอสุจิ หรือการใช้ถุงยางอนามัย
  • บริเวณที่ถูกทำร้ายร่างกาย เช่น หน้าอก ช่องคลอด ทวารหนัก
  • การมีเลือดออกในส่วนของคนร้าย หรือเหยื่อ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงของโรคติดเชื้อ เช่น ตับอักเสบ เอดส์
  • การมีเพศสัมพันธ์โดยสมัครใจในช่วง 3 วันก่อนหรือหลังจากถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • ได้มีการทำความสะอาดช่องคลอด อาบน้ำ แปรงฟันก่อนพบแพทย์หรือไม่ ถ้าผู้ป่วยมาพบแพทย์ในวันเกิดหตุ ให้สังเกตลักษณะเสื้อผ้าที่สวมใส่
  • ประวัติอื่น ๆ ทางการแพทย์ ได้แก่ ประจำเดือนครั้งสุดท้าย การเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบัน การแพ้ยา การได้รับวัคซีน โรคทางจิตเวช การใช้สารเสพติด

การตรวจร่างกาย

ผู้ป่วยควรถอดเสื้อผ้าออกระหว่างการตรวจร่างกาย และยืนอยู่บนบริเวณที่สามารถสังเกตเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่ตกลงมาระหว่างการตรวจ ที่จะเป็นหลักฐานทางการแพทย์ได้ ควรสังเกตสภาวะอารมณ์ของผู้ป่วยไปด้วย ถ้าเป็นไปได้ความมีการถ่ายภาพและให้รายละเอียดอภิบายลักษณะการบาดเจ็บไว้เป็นหลักฐานร่วมด้วย หลักฐานต่าง ๆ จะเห็นได้ชัดเจนถ้าได้รับการตรวจภายใน 72 ชั่วโมง

การบาดเจ็บภายนอกอวัยวะเพศพบได้บ่อยกว่าการบาดเจ็บบริเวณอวัยวะเพศ (70.4% เทียบกับ 26.8%) ให้สังเกตร่องรอยการฟกช้ำ และขีดข่วน บริเวณหนังศรีษะ ใบหน้า แขน ขา และลำตัว โดยบริเวณที่พบบาดแผลได้บ่อย ได้แก่ แขน ต้นขา คอ ตามลำดับ

การตรวจร่างกายบริเวณอวัยวะเพศ ควรได้รับการตรวจอย่างรอบคอบ อาจมีการใช้ colposcope หรือการใช้สารละลาย 1% Toluidine blue หรือการใช้แสง UV ช่วย ทำให้มีโอกาสตรวจพบร่องรอยการบาดเจ็บ คราบเลือด คราบอสุจิได้มากขึ้น การบาดเจ็บบริเวณอวัยวะเพศเกิดขึ้นบ่อยในหญิงวัยหมดประจำเดือนและวัยรุ่น โดยเฉพาะถ้ามีการสอดใส่ผ่านช่องคลอด ทวารหนัก หรือในหญิงพรหมจารี ลักษณะการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยคือ การฉีกขาดบริเวณ posterior fornix และ fossa navicularis รองลงมาคือบาดแผลถลอกบริเวณ labia minora, รอยฟกช้ำบริเวณ hyomen และปากมดลูก

ในเหยื่อที่เป็นเพศชาย ควรให้ความสนใจบริเวณอวัยวะเพศและอัณฑะ อาจพบรอยฟกช้ำใต้ผิวหนัง รอยถลอก รอยกัดหรือรอยดูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณ glans และ frenulum รวมถึง vaginal discharge

การตรวจบริเวณช่องปาก มักเกิดจากการบังคับสอดใสอวัยวะเพศในช่องปากเพื่อกระตุ้นการแข็งตัวขององคชาต การบาดเจ็บเกิดจากการบาดเจ็บโดยตรง และจากการเกิดแรงดูด อาจตรวจพบการบาดเจ็บที่เยื่อบุผิวและของริมฝีปากและเหงือก อาจพบรอยช้ำ แดง มีหลอดเลือดมาเลี้ยงมาก ที่เพดานอ่อนปาก ลิ้นไก่ การฉีดขาดของ frenulum อาจแสดงถึงการพยายามสอดใส่สิ่งแปลกปลอดเข้าไปในปาก (การสอดใส่อวัยวะเพศเข้าไปในช่องปาก ถ้าเกิดจากความสมัครใจ มักไม่พบบาดแผลฉีดขาด แต่อาจมีการบวมแดงของเยื่อบุผิวได้บ้างเนื่องจากแรงดูด) ควรเก็บตัวอย่างส่งตรวจจากบริเวณฐาน gum line, ใต้ลิ้น และต่อมทอนซิล

การตรวจบริเวณทวารหนัก มักไม่พบการบาดเจ็บที่รุนแรง เนื่องจากช่องทวารหนักสามารถขยายตัวได้ และอยู่ใต้อำนาจจิตใจ การบาดเจ็บที่รุนแรงมักเกิดเมื่อไม่มีการหล่อลื่น และมีการใช้กำลังรุนแรงควรเก็บตัวอย่างส่งตรวจจากบริเวณ mucocutaneous junction

การประเมินผลทางนิติเวช

ควรนำทุกรายในผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้ป่วย แต่ถ้าสงสัยว่ามีการถูกล่วงละเมิด แต่ผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจให้ความยินยอมได้ อาจมีการตรวจสอบไปก่อนหรือถามความสมัครใจจากผู้ปกครองแทน ในกรณีที่ไม่มีผู้ปกครองหรือผู้ตัดสินใจแทน อาจมีการตรวจสอบบางส่วนในบริเวณที่สามารถทำได้โดยไม่เป็นการรบกวนผู้ถูกกระทำมากเกินไป หรือเป็นบริเวณที่การให้การรักษาทางการแพทย์อาจทำให้หลักฐานหายไป

การเก็บสิ่งส่งตรวจทางนรีเวชมีการเก็บตัวอย่างมากมาย ผู้ให้บริการควรใช้ชุดเก็บหลักฐานที่มีคำแนะนำการเก็บหลักฐานอย่างละเอียดด้วยความระวัดระวัง มีป้ายบอกรายละเอียดของแต่ละตัวอย่าง โดยแต่ละตัวอย่างเก็บแยกส่วนกัน เมื่อเก็บตัวอย่างเรียบร้อยแล้ว ตัวอย่างทั้งหมดจะถูกปิดผนึกและติดป้าย และเก็บไว้ในกล่องที่มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะไม่ทำให้เกิดการเสียหายของสิ่งส่งตรวจ

การเก็บหลักฐานต่าง ๆ มีหลักการเพียงอย่างเดียวคือ มีโอการเพียงครั้งเดียวที่จะรวบรวมหลักฐานได้ครบถ้วนที่สุด ดังนั้นการเก็บตรวจควรทำให้ครบถ้วน ด้วยความระมัดระวัง

กลุ่มตัวอย่างที่ส่งเก็บได้แก่

  • เสื้อผ้า รวมถึงแผ่นรองผู้ป่วย (ในกรณีที่ผู้ป่วยถูกนำตัวมาโรงพยาบาลโดยรถฉุกเฉิน)
  • Swabs & Smears รอยเปื้อนจากปากเยื่อเมือกช่องคลอดและทวารหนัก และจากพื้นที่อื่น ๆ โดยเฉพาะบริเวณใต้แสง UV
  • Combed จากบริเวณหนังศรีษะและขนหัวเหน่า
  • Scraping เล็บมือ และพิมพ์รอยนิ้วมือ
  • ตัวอย่างเปรียบเทียบจากผู้ถูกกระทำ โดยเก็บจากบริเวณหนังศรีษะและขนหัวเหน่า (อย่างน้อย 20-25 เส้นต่อพื้นที่)
  • ตัวอย่างเลือด
  • ตัวอย่างน้ำลาย

การตรวจตัวอย่างส่งตรวจ

  • Wet smear สำหรับดูตัวอสุจิที่กำลังเคลื่อนไหว โดยอสุจิสามารถตรวจพบได้ในตัวอย่างที่เก็บจากช่องคลอด (ควรเก็บจากคอมดลูก) ได้ภายใน 72 ชั่วโมง, จากทวารหนักภายใน 24 ชั่วโมง และไม่สามารถตรวจพบได้ในสิ่งส่งตรวจที่เก็บจากในช่องปาก
  • Swab เพื่อตรวจหา Acid phosphatase ซึ่งสร้างจากต่อมลูกหมาก
  • Rectal swab สำหรับหาเชื่อ Gonorrhea
  • DNA analysis

ตารางเปรียบเทียบความเป็นไปได้ ในการตรวจพบ ตัวอสุจิหลังการหลั่ง ในคนมีชีวิตและในศพ

การตรวจ พบเป็นปกติNormally อาจพบได้ Occasionally อาจพบได้บ้างRarely คนเป็น ศพ คนเป็น ศพ คนเป็น ศพอสุจิมีชีวิต 6 ชั่วโมง 6 ชั่วโมง 12 ชั่วโมง 12 ชั่วโมง 24 ชั่วโมง 24 ชั่วโมง ตัวอสุจิ 24 ชั่วโมง 1 อาทิตย์ 2-3 วัน 2 อาทิตย์ 7 วัน 1 เดือน

ตารางเปรียบเทียบระดับความเชื่อมั่นของการตรวจน้ำอสุจิโดยวิธี แอซิดฟอสฟาเตส กับ วิธี P30

การตรวจน้ำอสุจิ Acid Phosphatase ความแน่นอน 90% Semen specific Glycoprotein (P30)ความแน่นอน 100%24 ชม พบ พบ 48 ชม. พบ+ เกือบไม่พบ 72 ชม พบ ไม่พบ

การตรวจสอบผู้กระทำความผิด

หลักการสำหรับตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ เช่นเดียวกับการตรวจผู้ถูกกระทำ ทั้งการใช้ไม้เก็บตัวอย่าง การเก็บเส้นผม และการพิมพ์ลายนิ้วมือ

  • Swabs จากบริเวณองคชาต ควรเก็บจากบริเวณตัวองคชาติ glans และบริเวณใต้รอยพับของผิวหนัง
  • Swabs นิ้วมือ ในการณีที่มีการสอดใส่นิ้วมือเข้าไปในร่ายกายของผู้ถูกกระทำ
  • Swabs จากรอยฟกช้ำ รอยครูด รอยกัด เพื่อเก็บตัวอย่าง DNA ของผู้เคราะห์ร้าย
  • ตรวจเลือด เพื่อหาการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น HIV, Hepatitis

บริเวณที่พบการบาดเจ็บได้บ่อย ได้แก่บริเวณมือ แขน ใบหน้า และลำคอ นอกจากนี้ยังอาจพบลักษณะจำเพาะ เช่น รอยสัก แผลเป็น ซึ่งช่วยในการระบุตัวผู้กระทำผิด

การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ

เน้นการตรวจที่จะช่วยประเมินการบาดเจ็บ การติดเชื่อโรคทางเพศสัมพันธ์ และการทดสอบการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยวางแผนจะรับการรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ควรได้รับการตรวจเพื่อเป็นพิ้นฐาน

การตรวจสอบการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ โดยปกติจะไม่ได้ทำ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายมาก ต้องมีการตรวจติดตามผู้ป่วย แต่อาจส่งตรวจในคนที่เคยมีประวัติโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

การตรวจเลือดสำหรับโรคเอดส์ ตับอักเสบ และซิฟิลิส ควรพิจารณาเป็นรายบุคคล

นอกจากนี้ยังอาจส่งตรวจหาระดับแอลกอฮอร์และสารเสพติด หรือยาที่อาจใช้ในการกระทำความผิด แตควรระบุเวลาที่ได้รับสารเหล่านี้ไว้ด้วย

การรักษา

1. การรักษาเบื้องต้น

ให้การดูแลรักษาบาดแผลภายนอก และกระดูก ตามความเหมาะสม

2. การรักษาโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

ยังมีการโต้แย้งกันเกี่ยวกับประสิทธิภาพของยาฆ่าเชื้อที่ให้เพื่อการป้องกันภายหลังจากมีเพศสัมพันธ์ว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด อย่างไรก็ตาม ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (United States Center for Disease Control and Prevention; CDC) และที่อื่น ๆ ยังแนะนำการให้ยา เนื่องจากการตรวจติดตามการติดเชื้อของผู้ป่วยทำได้ยาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่กลับมาติดตามการรักษาตามที่นัด นอกจากนี้ผู้ป่วยยังนิยมที่จะได้รับการรักษาทันที

ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ภายหลังการถูกข่มขืนกระทำชำเราทำได้ยาก เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการติดตามผู้ป่วยและผู้ป่วยบางรายอาจมีการติดเชื้ออยู่แล้ว ประมาณกันว่าโอกาสในการติดเชื้อ Clamudial มีประมาณ 3-16%, การติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานและการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด มีประมาณ 11%, โอกาสในการติดเชื้อ Trichomonas มี 7%

สูตรยาที่ให้เพื่อการป้องกันการติดเชื้อ

  • Ceftriaxone 250 mg IM หรือ Cefixime 400 mg PO single dose สำหรับ Gonorrhea ร่วมกับ
  • Azithromycin 1 gm PO single dose หรือ Doxycycline 100 mg PO bid 7 วัน สำหรับ Chlamydia ร่วมกับ
  • Metronidazole 2 gm PO single dose สำหรับ Trichomonas

3. การติดเชื้อตับอักเสบ บี

CDC แนะนำไว้ว่าการให้ Hepatitis B vaccination โดยไม่ได้ Hepatitis B immunoglobulin; HBIG ก็เพียงพอต่อการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี แต่ถ้าผู้กระทำความผิดมีการติดเชื้อตับอักเสบบีอยู่แล้ว ก็ควรจะให้ HBIG ร่วมด้วย แต่ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องได้รับวัคซีนเพิ่มเติม

การให้วัคซีน ควรให้เข็มแรกทันที และให้ซ้ำที่ 1 และ 6 เดือน หลังจากประสบเหตุ

4. การติดเชื้อโรคเอดส์

ยังมีการโต้แย้งกันเกี่ยวกับการให้ยาต้านเชื้อไวรัสพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV ภายหลังการถูกกระทำชำเรา เนื่องจากโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ภายหลังการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดกับผู้ป่วย HIV มีเพียง0.1%, และทางทวารหนักมี 2% ซึ่งโอกาสเสี่ยงที่มากขึ้น สัมพันธ์กับการได้รับการบาดเจ็บและมีบาดแผลระหว่างมีเพศสัมพันธ์

ผู้กระทำผิดส่วนใหญ่ที่มาจากประเทศที่มีอัตราความชุกของโรคต่ำมักจะไม่มีการติดเชื้อ HIV และโอกาสเสี่ยงในภาพรวมของการติดเชื้อ HIV ภายหลังการถูกข่มขืนโดยชายแปลกหน้ามักจะต่ำ แต่โอกาสเสี่ยงอาจมากขึ้นในกรณีดังต่อไปนี้

  • การข่มขืนกระทำชำเราระหว่างชายต่อชาย
  • การข่มขืนกระทำชำเราที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีอัตราความชุกของโรคสูง
  • การถูกข่มขืนกระทำชำเราโดยหลายคน
  • การข่มขินกระทำชำเราผ่านทางทวารหนัก
  • การข่มขืนกระทำชำเราที่ทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำได้รับบาดเจ็บ มีเลือดออก หรือมีแผลบริเวณอวัยวะเพศ

แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีรายงานถึงผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV จากการถูกกระทำชำเราอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นส่วนใหญ่จึงเชื่อว่ายังควรให้ยาต้านเชื้อ HIV แต่อย่างไรก็ตามควรเปรียบเทียบประโยชน์และความเสี่ยงต่อการรับยาในผู้ป่วยแต่ละคนก่อนพิจารณาให้ยา

ยาที่เลือกใช้อาจขึ้นอยู่กับ CDC ของแต่ละประเทศ ในส่วนของโรงพยาบาลมหาราชแนะนำให้ใช้ Zidovudine; AZT 300 mg PO bid หรือ 200 mg PO tid ร่วมกับ Lamivudine 150 mg PO bid เป็นเวลา 28 วัน โดยให้ยาไปก่อนประมาณ 10 วัน และนัดมาติดตามอาการ ดูผลข้างเคียงของยา และรับยาต่ออีกครั้ง

5. การตั้งครรภ์

ความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ภายหลังการถูกข่มขืนกระทำชำเราขึ้นอยู่กับระยะรอบเดือนของผู้ถูกกระทำ ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินควรได้รับการแนะนำให้กับผู้ถูกกระทำโดยไม่ต้องคำนึงถึงระยะรอบเดือน

ในสหรัฐอเมริกา ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่เลือกใช้ ได้แก่

  • Levonorgestrel 0.75 mg และให้ซ้ำอีกครั้งในอีก 12 ชั่วโมง หรือ 1.5 mg ครั้งเดียว มีประสิทธิภาพดีกว่า Yuzpe regimen และมีผลข้างเคียงน้อยกว่า
  • Yuzpe regimen: OCPs 2 tabs (100 mg Ethinyl estradiol และ 0.5 mg levonorgestrel) และให้ซ้ำอีกครั้งใน 12 ชั่วโมง มีประสิทธิภาพประมาณ 75-80% ถ้าให้ภายใน 72 ชั่วโมงหลังเกิดเหตุ
  • Progestin antagonist/agonist เช่น Ulipristal มีประสิทธิภาพดี ยาวนานได้ถึง 150 ชั่วโมงหลังเกิดเหตุ แต่ก็ยังแนะนำให้ได้รับยาภายใน 72 ชั่วโมง

นอกจากนี้ในบางพื้นที่ยังมีการใช้ Mifepristone 600 mg PO ครั้งเดียว เพื่อคุมกำเนิดฉุกเฉินได้อีกด้วย

6. การดูแลทางด้านจิตใจ

ผู้ถูกข่มขืนกระทำชำเรา มักต้องการการดูแลด้านสภาพจิตใจและอารมณ์ค่อยข้างมาก และควรได้รับบริการด้านการตรวจสุขภาพจิตอย่างสม่ำเสมอ

ผู้ป่วยอาจมีอาการโกรธ หวาดกลัว วิตกกังกล มีอาการต่าง ๆ ทางด้านร่างกาย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร อับอาย รู้สึกผิด และอาจมีความรู้สึกก้าวร้าวมากขึ้น นอกจากนี้ยังอาจมีความรู้สึกเจ็บเรื้อรังบริเวณกล้ามเนื้อ ท้อง ท้องน้อย

อาการเบื่ออาหารและนอนไม่หลับอาจเป็นอยู่ได้นาน และมักจะฝัน หรือฝันร้ายบ่อย ๆ และอาจเกิดภาวะกลัว (phobia) ขึ้นได้ ผู้ถูกกระทำอาจพบว่าเป็นการยากที่จะกลับไปมีวิถีชิวิตแบบเดิม และมีปัญหาด้านความสัมพันธ์ทางเพศได้ และมีโอกาสพัฒนาไปเป็นโรคเครียด โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวลได้

การให้คำปรึกษากับผู้ป่วยในเบื้องต้น ควรมีการวางแผนถึงการรักษาความปลอดภัย และผู้ถูกกระทำควรได้รับให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง

การตรวจติดตามในระยะยาว

หลังการตรวจในครั้งแรก ควรนัดผู้ป่วยในอีก 1-2 สัปดาห์ต่อมา เพื่อติดตามอาการเกี่ยวกับภาวะทางจิตใจและให้คำปรึกษาต่อ ตรวจติดตามอาการเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยอาจต้องส่งตรวจหาการติดเชื้อเพิ่มเติมในคนที่มีอาการ ตรวจการตั้งครรภ์ซ้ำ และดูบาดแผลอื่น ๆ

แต่โดยมามักจะมีปัญหาในการตรวจติดตาม เนื่องจากผู้ป่วยมักไม่มาตามนัด ควรอธิบายถึงการติดตามระยะสั้น พร้อมเหตุผลและความจำเป็นในการตรวจติดตาม เพื่อเพิ่มความร่วมมือของผู้ป่วยให้มากขึ้น

ควรมีการตรวจหาการติดเชื้อ HIV ซ้ำที่ 6 สัปดาห์, 3 เดือน และ 6 เดือน รวมถึงภาวะแทรกซ้อนในคนที่เลือกรับยา ARV และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการงดมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างที่ยังตรวจติดตามอาการ หรือใช้ถุงยาอนามัยทุกครั้งหากมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อต่อผู้อื่น

ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว

ผู้หญิงที่เคยถูกข่มขืนกระทำชำเรา มีโอกาสสูงขึ้นที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนทางด้านจิตใจ ร่างกาย และพฤติกรรม เช่น

  • Posttraumatic stress disorder, Anxiety, Depression, Suicide attempt
  • มีการใช้ยานอนหลับ ยากระตุ้น ยาแก้ปวด หรือสเตียรอยด์ แบบผิดๆ
  • หลีกเลี่ยงการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ, ปวดท้องน้อย, การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • ความต้องการทางเพศลดลง
  • เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อาการเกิดมะเร็งปากมดลูก

ประเด็นทางด้านกฎหมาย

ลักษณะความผิด การดำเนินการทางด้านกฎหมาย และหลักฐานที่ต้องการเก็บ แตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ ในบางแห่งการกระทำความผิดทางเพศต่อชาย หรือภรรยาตนเองไม่เป็นความผิด แต่ในภาพรวม หากมีการกระทำภามผิดต่อเด็กหรือผู้สูงอายุจำเป็นต้องมีการรายงานโดยแพทย์และแจ้งความเสมอ ส่วนในกรณีอื่น ๆ ผู้ถูกกระทำมักต้องเป็นผ่านดำเนินการฟ้องร้องต่าง ๆ เอง หรือติดต่อหาตัวแทนของรัฐในการดำเนินการแทน

กฎหมายเกี่ยวกับการข่มขืนในประเทศไทย 9

มาตรา 276

ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราหญิงซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยหญิง อยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้หรือโดยทำให้หญิงเข้าใจผิดว่าตน เป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่ แปดพันบาทถึงสี่หมื่นบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธ ปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะ เป็นการโทรมหญิง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

หมายเหตุ แก้ไขโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2525

มาตรา 277

ผู้ใดกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งมิใช่ภรรยาของตน โดยเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้อง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึง สี่หมื่นบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำแก่เด็กหญิง อายุยังไม่เกินสิบสามปีต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปีและ ปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นสี่พันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกหรือวรรคสองได้กระทำ โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิง และเด็กหญิงนั้นไม่ยินยอม หรือได้กระทำโดยมีอาวุธปืนหรือวัตถุ ระเบิด หรือโดยใช้อาวุธ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต

ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในวรรคแรก ถ้าเป็นการกระทำที่ชาย กระทำกับเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดย เด็กหญิงนั้นยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและ เด็กหญิง นั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ ถ้าศาลอนุญาตให้สมรสใน ระหว่างที่ผู้กระทำผิดกำลังรับโทษในความผิดนั้นอยู่ ให้ศาลปล่อย ผู้กระทำความผิดนั้นไป

หมายเหตุ โดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2530

มาตรา 277ทวิ ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 276 วรรค แรกหรือ มาตรา 277 วรรคแรกหรือวรรคสองเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ

  1. รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้า ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอด ชีวิต
  2. ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือ จำคุกตลอดชีวิต

หมายเหตุ โดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2530

มาตรา 277ตรี ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 276 วรรค สอง หรือ มาตรา 277 วรรคสาม เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ

  1. รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือ จำคุกตลอดชีวิต
  2. ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต

หมายเหตุ โดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2530

มาตรา 278

ผู้ใดกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปีโดย ขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยบุคคลนั้นอยู่ ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่า ตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หมายเหตุ แก้ไขโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2530

มาตรา 279

ผู้ใดกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก ผู้กระทำได้กระทำโดย ขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยเด็กนั้นอยู่ใน ภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้เด็กนั้นเข้าใจผิดว่าตน เป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบห้าปี หรือปรับไม่เกิน สามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หมายเหตุ แก้ไขโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2530

มาตรา 284

ใดพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร โดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้ายใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธี ข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท

ผู้ใดซ่อนเร้นบุคคลซึ่งถูกพาไปตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่น เดียวกับผู้พาไปนั้น

“ความผิดตาม มาตรานี้ เป็นความผิดอันยอมความได้”

หมายเหตุ ยกเลิกความเดิมและให้ใช้ความใหม่แทนโดย พ.ร.บ.แก้ไข เพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2540

มาตรา 285

ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 277ทวิ มาตรา 277ตรี มาตรา 278 มาตรา 279 มาตรา 280 มาตรา 282 หรือ มาตรา 283 เป็นการกระทำแก่ผู้สืบสันดาน ศิษย์ซึ่งอยู่ ในความดูแลผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการหรือผู้อยู่ในความปกครอง ในความพิทักษ์หรือในความอนุบาล ผู้กระทำต้องระวางโทษหนัก กว่าที่บัญญัติไว้ใน มาตรา นั้น ๆ หนึ่งในสาม

นับตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550 ได้มีการแก้ไขและประกาศใช้ประมวล กฎหมายอาญาในส่วนเกี่ยวกับความผิดทางเพศใน 3 มาตรา ได้แก่ มาตรา 276, 277 และ 286 โดยเป็นผลมาจากการเรียกร้องสิทธิสตรี โดยเฉพาะในประเด็นหญิงซึ่งถูกสามีข่มขืน ในกฎหมายเดิมสามีไม่มีความผิด และกรณีของการที่เพศที่ 3 ถูกล่วงละเมิดทางเพศ กฎหมายใหม่ได้ตีความคำว่า กระทำชำเรา ให้มีความหมายกว้างกว่าเดิมมาก

มาตรา 276 (เก่า) มาตรา 276 (ใหม่) ผู้กระทำ ชายหรือหญิง ชายหรือหญิง ผู้ถูกกระทำ หญิงซึ่งมิใช่ภรรยาตน หญิง, ชาย ลักษณะการกระทำ ชำเรา ชำเรา อวัยวะเพศกระทำต่อทวารหนัก ช่องปาก สิ่งอื่นใด กระทำต่ออวัยวะเพศ ทวารหนัก โทรมหญิง โทรมหญิง รวมถึงการกระทำต่อชายด้วย ข้อความเพิ่มเติม การกระทำต่อคู่สมรส ศาลอาจลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ถ้าศาลลงโทษจำคุก และไม่อยากอยู่ร่วมกัน ให้ศาลแจ้งให้พนักงานอัยการดำเนินการหย่าให้ มาตรา 277 (เก่า) มาตรา 277 (ใหม่) ผู้กระทำ ชายหรือหญิง ชายหรือหญิง ผู้ถูกกระทำ เด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภรรยาตน เด็กหญิงหรือเด็กชาย ซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีตน ลักษณะของการกระทำ ชำเรา ชำเรา อวัยวะเพศกระทำต่อทวารหนัก หรือช่องปากผู้อื่น สิ่งอื่นใด กระทำต่ออวัยวะเพศ ทวารหนักของผู้อื่น วรรค 3 โทรมหญิง โทรมหญิง รวมการกระทำต่อชายด้วย ข้อความเพิ่มเติม วรรค 4 ชายกระทำต่อเด็กหญิงอายุกว่า 13 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี โดยเด็กยินยอม ถ้าศาลสั่งอนุญาตให้สมรสกัน ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ วรรค 5 ผู้กระทำอายุไม่เกิน 18 ปี กระทำต่อเด็กอายุกว่า 13 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี โดยเด็กยินยอม และศาลอนุญาตให้สมรส ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ

สรุป

บทบาทของแพทย์

1. การรักษาอาการบาดเจ็บ

2. การซักประวัติ แบ่งเป็น

  • ประวัติทางการแพทย์
  • ประวัติเกี่ยวกับการถูกล่วงละเมิดทางเพศ

3. การตรวจร่างกายผู้เสียหาย

แพทย์ต้องได้รับการยินยอมก่อนการตรวจทุกครั้ง แบ่งเป็น

  • การตรวจร่างกายทั่วไป
  • การตรวจบริเวณอวัยวะเพศ
  • การตรวจบริเวณช่องปาก
  • การตรวจบริเวณทวารหนัก

4. เก็บตัวอย่างส่งตรวจจากบริเวณ mucocutaneous junction

  • Wet smear สำหรับดู sperm ที่กำลังเคลื่อนไหว.
  • Swab เพื่อตรวจหา ACP (เอนไซม์แอซิดฟอสฟาเทส ซึ่งสร้างมาจากต่อมลูกหมาก (prostate gland) และ sperm (สกัดและย้อมสี H&E).
  • ป้ายผนังทวารหนักส่งเพาะหาเชื้อโกโนเรีย.
  • ตรวจซีรั่มค้นหาร่องรอยการติดเชื้อ เช่น ซิฟิลิส, เอชไอวี.
  • ตรวจหาหมู่เลือด.

แพทย์ผู้ทำการตรวจผู้เสียหายในคดีความผิดทางเพศ ต้องตรวจผู้เสียหายที่เป็นทั้งหญิงและชาย (รวมเพศที่ 3) ตำแหน่งของร่างกายที่ต้องตรวจ คือ ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจภายใน ตรวจบริเวณช่องปากและทวารหนัก โดยจำเป็นต้องซักประวัติให้ละเอียด ว่ามีการล่วงล้ำผ่านช่องทางใดบ้าง. กรณีผู้กระทำเป็นชายใช้อวัยวะเพศล่วงละเมิดชายหรือหญิง. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจหาตัวอสุจิและเอนไซม์แอสิดฟอสฟาเตส เป็นสิ่งที่พึงกระทำ ส่วนการใช้สิ่งอื่นของร่างกายกระทำต่อผู้อื่น การตรวจบาดแผลมีความจำเป็น และมีความสำคัญมากกว่า.

ด็อกซี่ไซคลินห้ามกินกับอะไร

การรับประทานยาดอกซีไซคลีนร่วมกับอาหาร, ยาลดกรด, อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของแคลเซียม, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของธาตุเหล็ก, ยาระบายที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียม อาจส่งผลลดประสิทธิภาพในการรักษาของดอกซีไซคลิน เนื่องจากอาหาร, ยา หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังข้างต้นจะทำให้ดอกซีไซคลีนถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้น้อยลง

Doxycycline อันตรายไหม

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Doxycycline ระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ กลืนอาหารได้ลำบาก หัวใจและหลอดเลือด เช่น เจ็บหน้าอก หรือมีอาการปวดที่หัวใจ วิงเวียนศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว มีอาการบวมที่ขาและเท้า ระบบภูมิคุ้มกัน เช่น มีไข้ มีอาการลมพิษ และมีอาการบวมรอบ ๆ ดวงตา ใบหน้า ริมฝีปาก และลิ้น

ยาฆ่าเชื้อมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยาปฏิชีวนะ มีดังนี้.

เวียนศีรษะ.

คลื่นไส้ อาเจียน.

การติดเชื้อรา.

ท้องเสีย.

Doxycycline กัดกระเพาะไหม

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของการใช้ยา Doxycycline ประกอบด้วย ระบบทางเดินอาหาร เช่น แผลในระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และแสบร้อนช่องอก ระบบผิวหนัง เช่น ไวต่อแสง คัน ผื่นแพ้ผิวหนัง สิว และผื่นแพ้ยา

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf