Brand ส นค า ได engagement เพ ม

วันนี้ทาง InsightERA จะมาบอกเคล็ดลับ 4 ทริคง่ายๆ จาก Social Media Today เพื่อเพิ่มยอด Engagement ให้กับธุรกิจได้ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

The Burger King Method

กลยุทธ์ทางการตลาดของ Burger King นั้นค่อนข้างเรียบง่าย นั่นคือการดูคู่แข่ง อย่าง McDonald’s ที่เป็นร้านยอดนิยมของบรรดา Fast Food Lover ที่ใช้เงินลงทุนจำนวนมากไปกับการทำการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายให้กับร้านค้า รวมถึงการหาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมเพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งสิ่งที่ Burger King ทำนั่นคือการเลือกทำเลเปิดร้านข้าง McDonald’s

ถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่เรียบง่ายและไม่ต้องลงทุนอะไรเยอะเลย ใครที่กำลังสนใจจะลงทุนและดูตลาดคู่แข่งก็สามารถนำวิธีของ Burger King ไปปรับใช้กันได้นะคะ

ไม่จำเป็นต้องสร้างคอนเทนต์ใหม่เสมอไป

บางครั้งในการสร้างยอดขาย หรือเพิ่ม Engagement ไม่จำเป็นต้องขยันสร้างคอนเทนต์ใหม่ๆ การเลือกใช้คอนเทนต์เก่าที่มีประสิทธิภาพ สามารถช่วยให้ยอด Engagement ของเราเพิ่มขึ้นมาได้เช่นกัน สิ่งที่ควรลองทำคือการเข้าไปดู Insight จากนั้นเลือกโพสต์ที่ดีที่สุด 3 โพสต์ในช่วงปีที่ผ่านมา แล้วนำกลับมารีโพสต์อีกครั้งด้วยแคปชั่นใหม่ๆ

วิธีนี้จะช่วยเพิ่มยอดการเข้าถึงได้มากขึ้น เนื่องจากอาจมีกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มผู้ติดตามใหม่ที่มาเห็นคอนเทนต์นี้ได้ ซึ่งอย่างไรก็ตาม ข้อควรระวังของทริคนี้คือการดูว่าข้อมูลที่รีโพสต์ไม่ล้าสมัยจนเกินไป และยังคงเป็นกระแสหรือพูดถึงได้อยู่ ณ ปัจจุบัน

เลือกเวลาการโพสต์คอนเทนต์

หลายๆคนอาจทำการหาข้อมูลว่า ควรลงคอนเทนต์เวลาไหนถึงจะได้ยอด Engagement ที่จริงแล้วไม่จำเป็นต้องลงตามช่วงเวลาที่หาข้อมูลมา แต่อาจลงก่อนซัก 15 นาที เช่น ผู้คนส่วนมากมักจะลงคอนเทนต์เวลา 18.00 เพราะจะเป็นช่วงที่ได้รับ Engagement สูง แต่เราจะลง เวลา 17:45 เพื่อไม่ให้คอนเทนต์ของเราปะปนกับคนอื่น วิธีนี้จะสามารถเพิ่มยอด Engagement ให้มากขึ้นได้นั่นเอง

อย่าให้ความสนใจผู้ติดตามมากเกินไป

หากคุณอยากได้รับยอด Engagement เพิ่ม ไม่ควรตอบกลับหรือกดไลค์คอมเมนต์ของผู้ติดตามในทันที ควรรอจนกว่าจะมีการโพสต์คอนเทนต์ใหม่ จึงค่อยกลับไปตอบคอมเมนต์หรือกดไลค์การแสดงความคิดเห็นของผู้ติดตาม วิธีนี้จะทำให้ผู้ติดตามมีโอกาสเห็นคอนเทนต์ใหม่ของเราได้มากขึ้น สามารถแสดงความคิดเห็นหรือกดไลค์ต่อ และช่วยเพิ่มยอด Engagement ของเราได้อีกด้วย

จบไปแล้วสำหรับทริคดีๆ ที่จะช่วยเพิ่มยอด Engagement บนโซเชียลมีเดียของคุณ สำหรับใครที่กำลังมองหาวิธีที่ไม่ยากจนเกินไป เพื่อเพิ่มยอด Engagement ให้กับแบรนด์ สามารถนำทริคดีๆเหล่านี้ไปปรับใช้ให้เข้ากับตัวธุรกิจของคุณได้เลยนะคะ

หลายคนที่คลุกคลีกับการทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ทั้งหลาย คงคุ้นหูกับคำนี้สุดๆเลยใช่มั๊ยหละคะ แต่ก็ยังมีหลายคนไม่รู้ความหมายของคำนี้

“Engagement”

เอาง่ายๆนะคะ คำว่า Engage ที่เรารู้กันคือแปลว่า การหมั้นหมาย การผูกมัด หรือการว่าจ้าง ดังนั้น Engagement ในทางการตลาดออนไลน์ จึงหมายถึงได้ว่า การที่คนออนไลน์ หรือคนที่ติดตามคุณอยู่บนโลกออนไลน์ “มีส่วนร่วม” กับแบรนด์ หรือร้านของคุณในช่องทาง Social Mediaต่างๆ

“มีส่วนร่วม” ที่โซอี้พูดถึงจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดการ Like ,Comment ,Share บนSocial Media ดังนั้นก่อนที่เพจ หรือร้านของคุณจะมี Engagement ที่ดีก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างเช่น

  • การทำContentให้แปลกใหม่ น่าสนใจ
  • การTreatลูกค้าให้เค้าเกิด Brand Royaltyให้ได้ คุณก็จะได้ผู้ติดตามคุณภาพ ที่จะช่วยให้ในแต่ละโพสของคุณมี Engagement ที่ดีแน่นอนค่ะ
    “Engagementเยอะ ไม่ได้แปลว่าจะขายดี”

จริงๆถ้าคุณอยากมี Engagement เยอะๆ ทำได้ง่ายๆหลายวิธีเลยค่ะ ที่มีคุณภาพ คุณจะใช้เงินซื้อตัวเลขนั้นๆมาก็ได้ หรือ สร้างกระแสขึ้นมาเพื่อเรียกยอดไลค์ยอดแชร์ก็ได้ แต่! ตัวเลขเหล่านั้นไม่ได้ส่งผลประโยชน์ใดใดให้กับเพจของคุณแม้แต่น้อย เพราะมันคือ Engagement ที่ไม่มีคุณภาพนั่นเองค่ะ

วิธีที่จะทำให้คุณมี Engagement คุณภาพ โซอี้ขอให้คุณย้อนขึ้นไปอ่านด้านบนเลยค่ะว่าต้องทำอย่างไร และโซอี้ยังมีอีกหลายๆบทความที่เกี่ยวข้องลองเข้าไปอ่านกัน และนำไปปรับใช้นะคะ

สุดท้ายคือ ศึกษาและเรียนรู้ Audience ของคุณอยู่ตลอด จะเป็นการพัฒนาคุณค่าของแบรนด์ (Brand Value) ให้มีศักยภาพและเป็นที่จดจำของผู้บริโภค จะทำให้ Brand ของเราก้าวไปสู่หนทางแห่งความสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น

ถ้าพูดถึงวัตถุประสงค์สำคัญของการทำ Content Marketing ที่หลายคนมักระบุกันนั้น ก็คงไม่พ้นเรื่องการสร้างการรับรู้ของสินค้าหรือแบรนด์ (Brand Awareness) เป็นแน่ แต่ล่าสุดผมได้อ่านผลสำรวจน่าสนใจในต่างประเทศก็พบว่าแบรนด์ต่าง ๆ นั้นให้ความสำคัญกับวัตถุประสงค์ว่าด้วยเรื่องการทำคอนเทนต์ช่วยในการสร้างแบรนด์ สร้างคุณค่าของแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายเหนือกว่าเรื่อง Brand Awareness เสียอีก

อันที่จริงเรื่องนี้ก็เลยอาจจะสะท้อนได้ดีว่าทำไมการทำคอนเทนต์ในต่างประเทศนั้นอาจจะดูต่างไปจากในประเทศ (ไทย) ของเราอยู่เสียหน่อยเวลาเราเทียบกัน เพราะเรามักจะเห็นว่าคอนเทนต์ในตลาดบ้านเรานั้นจะเน้นปริมาณและการพยายามสร้างสีสันเรียก Engagement กันต่าง ๆ นานา เช่นการทำ Real-Time Content หรือการสร้างคอนเทนต์แบบ Entertain กันอยู่เรื่อย ๆ เรียกได้ว่ามี KPI กันเป็น Engagement Rate กันเลยทีเดียว

ตรงนี้ถ้ามองลึกลงไปแล้วก็คงจะเป็นผลพวงมาจากการเชื่อว่า Engagement นั้นเป็น Brand Engagement หรือคนมีความรู้สึกร่วมกับแบรนด์ เช่นเดียวกับการมี Engagement นั้นก็จะช่วยเอื้อให้คอนเทนต์ถูกนำมาแสดงบนหน้า Feed ช่วยเพิ่ม Reach / Awareness ตามไปด้วย

นั่นจึงไม่แปลกที่ทีมทำ Content Marketing ในปัจจุบันมักโดนกำหนดเป้ากันมาเป็นเรื่อง Engagement หรือไม่ก็ Reach เป็นสำคัญ

ถ้าถามว่าผิดไหม ผมว่ามันก็ไม่ได้ถึงขั้น "ผิด" อะไรหรอกนะครับ หากแต่ถ้าไม่ระวังให้ดี ประเภทคนดูสนแต่ตัวเลขโดยไม่เข้าใจที่มาที่ไปแล้วล่ะก็อาจจะพังเอาได้ง่าย ๆ

ที่บอกเช่นนี้เพราะตัว Content Engagement นั้นไม่ได้เท่ากับ Brand Engagement โดยตรงแต่อย่างใด เพราะต้องดูด้วยว่าเนื้อหาที่ "เรียกปฏิสัมพันธ์" นั้นเป็นอย่างไรกัน หากสิ่งนั้นไม่ได้เกี่ยวกับแบรนด์แล้วก็คงต้องบอกว่าเป็น Engagement ที่ไม่ได้เป็นประโยชน์ในเรื่องของการสร้างแบรนด์แต่อย่างใด

เรียกได้ว่าคนทำงานโดนตัวเลขหลอก หรือไม่ก็หลอกตัวเองอยู่นั่นแหละ

นั่นยังไม่นับอีกว่าการทำคอนเทนต์เรียก Engagement เหล่านี้กลายเป็นการสร้างภาพจำของแบรนด์ในแบบที่บางคนจะเรียกว่าหลุดจากแบรนด์ที่ออกแบบไว้ ทำให้ภาพที่วางไว้บิดเบี้ยวไป ซึ่งในมุมของการทำแบรนด์แล้วถือว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเอามาก ๆ เพราะคุณค่าของแบรนด์นั้นมีอะไรมากกว่าแค่ตัวเลขยอดไลค์ยอดแชร์ แต่เป็น "ภาพจำ" ของตัวแบรนด์ในสายของคนที่ติดตาม

นั่นเลยทำให้การปั่นคอนเทนต์เรียก Engagement โดยไม่ลืมหูลืมตา เล่นตลกเกินไป เกาะกระแสเกินงาม ใช้คำที่หลุดจากขอบเขตของภาษาแบรนด์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ย่อมกลายเป็นการทำให้การลงทุนทำแบรนด์ที่เสียเงินไปมากมายนั้นอาจจะเกิดปัญหาเอาได้ง่าย ๆ

แถมถ้าเป็นคนทำแบรนด์จริงก็ย่อมรู้ว่าสิ่งเหล่านี้แก้คืนกันมาไม่ได้ง่าย ๆ เสียด้วย

เรื่องนี้เองเป็นสิ่งที่ผมมักพูดเตือนผู้เรียนในคลาส Content Marketing บ่อย ๆ ว่าการหา "ทางลัด" ให้ได้ยอด Engagement นั้นทำได้จริงอยู่ แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นย่อมมีหากไม่ระวัง

แต่สิ่งเหล่านี้ก็คงไม่ง่ายกับแบรนด์ที่หลายคนก็กังวลกับยอด Reach / Engagement ที่โดนกดเอาจากแพลตฟอร์มหรือเห็นคนอื่นทำแล้วยอดพุ่งจนที่คิดไว้ก็เริ่มเขว แถมผู้บริหารบางแบรนด์ก็เข้าใจผิดไปกดดันกับทีมทำคอนเทนต์ให้พยายามได้ผลลัพธ์แบบเดียวกันให้ได้อีก

ตรงนี้เองคงเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับบรรดาแบรนด์ต่าง ๆ ว่าจะมีกรอบการทำคอนเทนต์ซึ่งอยู่ในร่มของ Brand Communication กันอย่างไร และเราจะให้ความสำคัญกับอะไรมากกว่ากันระหว่าง Brand Equity / Brand Awareness หรือจะสนตัว Content Reach / Engagement กัน

เช่นเดียวกับบรรดาเจ้าของธุรกิจที่คิดจะสร้างแบรนด์นั้น ก็คงต้องทำความเข้าใจกันให้ดีด้วยเช่นกันว่าที่ทำคอนเทนต์กันอยู่นั้นช่วยสร้างแบรนด์กันจริงหรือ ?

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf