ม คด ต ดต ว สม ครทหารพรานได ไหม

ทหารพราน (อักษรย่อ: ทพ.) เป็นกำลังทหารราบเบากึ่งทหารซึ่งลาดตระเวนตามแนวชายแดนไทยและเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพไทย ทหารพรานทำงานร่วมกับตำรวจตระเวนชายแดน แต่ถูกฝึกและติดอาวุธให้ทำการรบ ขณะที่ตำรวจตระเวนชายแดนเป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายมากกว่า และทหารพรานนาวิกโยธินในสังกัดกองทัพเรือนั้น ขึ้นการบังคับบัญชากับกองพลนาวิกโยธิน

ประวัติ[แก้]

หน่วยทหารพรานจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 ตามแนวคิดที่กำหนดไว้ว่า ทหารพราน คือ อาสาของประชาชน หรือเรียกว่านักรบประชาชน มีวัตถุประสงค์จัดตั้งเพื่อต่อสู้กับกองโจรพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และขับไล่กองโจรลงจากที่มั่นบนภูเขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นแนวคิดของพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกที่กองบัญชาการกองทัพไทยในกรุงเทพมหานคร หน่วยทหารพรานประกอบด้วยทหารใหม่จากพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากการก่อการกำเริบของคอมมิวนิสต์ ทหารใหม่นั้นจะเข้ารับการฝึกเข้มข้นทั้งหมด45 วัน ได้รับแจกอาวุธสมัยใหม่ และถูกส่งกลับไปยังหมู่บ้านของตนเพื่อดำเนินปฏิบัติการกองโจรต่อคอมมิวนิสต์

หน่วยทหารพรานดำเนินหลายปฏิบัติการต่อขุนส่าในสามเหลี่ยมทองคำ และยังมีส่วนในการปฏิบัติความมั่นคงระหว่างการเผชิญหน้ากันที่ปราสาทพระวิหารใน พ.ศ. 2551 และ 2552

ข้อโต้เถียง[แก้]

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับทหารพราน ชั้นสัญญาบัตร

ช่วงแรกของการก่อตั้งทหารพรานบางคนเป็นอาชญากรที่ต้องคำพิพากษาแต่ได้มีการผ่อนผันโทษ บางส่วนก็สมัครเข้าเป็นทหารพรานเพื่อให้ได้รับพื้นที่ทำกิน ในบางพื้นที่ก็ใช้ทหารพรานทำหน้าที่แทนกองอาสารักษาดินแดน ซึ่งเป็นกำลังพลเรือนที่ปกป้องประชาชนในท้องถิ่นจากกองโจร จนถึงปลาย พ.ศ. 2524 ทหารพรานเข้าแทนที่ 80% ของหน่วยทหารปกติในการปฏิบัติภารกิจตามแนวชายแดนพม่า กัมพูชาและมาเลเซีย

ทหารพรานมีประวัติศาสตร์ที่เจ็บช้ำ โดยเป็นหน่วยที่มักถูกกล่าวหาว่ากระทำการโหดร้าย ใช้อำนาจโดยไม่ถูกต้องและมีส่วนพัวพันกับการค้ายาเสพติด นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าหน่วยทหารพรานมีอันธพาลท้องถิ่นส่วนมาก ซึ่งมักใช้สถานะของตนก่ออาชญากรรมต่อเพื่อนพลเมืองต่อไป มีการปฏิรูปหลายครั้งนับตั้งแต่ พ.ศ. 2523 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดเลือกทหารใหม่ ซึ่งเป็นมืออาชีพมากกว่าที่เคยเป็นเมื่อยี่สิบปีก่อน

อดีตทหารพรานยังต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับกิจกรรมก่อการร้ายระหว่างการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ในกรุงเทพมหานคร แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจนในการกล่าวอ้าง มีเพียงรัฐบาลในตอนนั้นที่พูดว่ามีชายชุดดำในกลุ่มผู้ชุมนุม

หน่วยพิเศษ[แก้]

พ.ศ. 2522 การหลั่งไหลเข้ามายังประเทศไทยของผู้อพยพชาวกัมพูชากลายเป็นปัญหาการเมืองสำคัญและเป็นประเด็นความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการที่ผู้อพยพหลายพันคนเคยเป็นนักรบเขมรแดง นายกรัฐมนตรีไทย พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ทหารอาชีพซึ่งเคยเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดมาก่อน ประกาศให้อำเภอติดชายแดนอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกและอนุมัติให้การอำนวยการรวม กองบัญชาการทหารสูงสุด ควบคุมและจัดความปลอดภัยให้แก่ผู้อพยพ กองบัญชาการทหารสูงสุดสนองโดยจัดตั้ง หน่วยเฉพาะกิจ 80 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 หน่วยทหารพรานพิเศษนี้ได้รับมอบหมายหน้าที่ป้องกัน การจัดการผู้ลี้ภัย และจัดหาอาหารและอาวุธให้แก่ฝ่ายขัดขวางต่อต้านเวียดนามซึ่งประเทศไทยสนับสนุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขมรแดง เช่นเดียวกับแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมร และ Armee Nationale Sihanouk Site หรือ ANS ระหว่างการมีอยู่ช่วงสั้น ๆ ของหน่วยเฉพาะกิจ 80 หน่วยถูกกล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่บ่อยครั้ง กระทั่งถูกยุบยกเลิกไปในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2531

หน่วยทหารพราน[แก้]

ในปัจจุบัน ทหารพรานมีกรมทหารพรานทั้งหมด 22 กรมทุกกองทัพภาคในไทย (276 กองร้อย) มีหมวดทหารพรานหญิงทั้งหมด 12 หมวด (71 หมู่) ดังนี้

  • กองทัพภาคที่ 1 : 4 กรมทหารพราน (36 กองร้อย) และ 2 หมวดทหารพรานหญิง (9 หมู่)
  • กองทัพภาคที่ 2 : 4 กรมทหารพราน (46 กองร้อย) และ 2 หมวดทหารพรานหญิง (8 หมู่)
  • กองทัพภาคที่ 3 : 5 กรมทหารพราน (50 กองร้อย) และ 2 หมวดทหารพรานหญิง (9 หมู่)
  • กองทัพภาคที่ 4 : 9 กรมทหารพราน (144 กองร้อย) และ 6 หมวดทหารพรานหญิง (45 หมู่)

ในปัจจุบัน กองทัพบกจัดกำลังทหารพราน สนับสนุนภารกิจป้องกันชายแดนในเขตรับผิดชอบของ กองทัพภาคที่ 1 และ 3 รวม 10 กรมทหารพราน และ 3 หมวดทหารพรานหญิง และสนับสนุนภารกิจการรักษา ความมั่นคงภายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้รวม 12 กรมทหารพราน และ 9 หมวดทหารพรานหญิง

ภาพรวมของการปฏิบัติงานในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่เหตุการณ์ปล้นปืน เมื่อ 4 ม.ค. 2547[แก้]

กองทัพบก ได้จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน. ภาค 4 สน.) เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งกำลังในส่วนของ กองทัพบกมีการจัดและประกอบกำลังจากหน่วยประเภทต่าง ๆ จากหน่วยกำลังรบหลัก หน่วยกำลังรบประจำพื้นที่กำลังทหารพราน หน่วยสนับสนุนการรบ และหน่วยสนับสนุนการช่วยรบที่จำเป็น สำหรับลำดับความเป็นมาของการจัดตั้งกรมทหารพรานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 หลังเกิดเหตุการณ์ปล้นอาวุธปืนจากกองพันพัฒนาที่ 4 อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส กองทัพบกได้เคลื่อนย้ายกำลังส่วนต่าง ๆ เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ โดยกำลังส่วนหนึ่ง ได้แก่ กำลังทหารพรานจำนวน 3 กรม และ 3 หมู่ทหารพรานหญิง ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้มีการขยายหน่วย ทหารพรานเพิ่มเติมอีกจำนวน 4 กรมทหารพราน และ 4 หมวดทหารพรานหญิง ปรากฏว่าสามารถทดแทน กำลังทหารหลักซึ่งมาจากกองทัพภาคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี กองทัพบกจึงขออนุมัติรัฐบาลเพิ่มเติมกำลังทหาร พรานเพื่อทดแทนกำลังทหารหลักอีก 5 กรมทหารพราน และ 5 หมวดทหารพรานหญิง ให้พร้อมปฏิบัติงานใน เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2554 และ เมษายน พ.ศ. 2555 ซึ่งกำลังทหารหลักจะถอนกำลังกลับจำนวน 7 กองพัน ดังนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไปจะมีทหารพราน 12 กรม กับอีก 9 หมวดทหารพรานหญิง เป็นหน่วยปฏิบัติการหลักในพื้นที่ควบคู่กับกองพลทหารราบที่ 15 (พล.ร.15 ) กรมทหารพรานที่มีอยู่แล้วและปฏิบัติภารกิจอยู่เดิม โดยจัดเป็นหน่วยเฉพาะกิจจำนวน 7 หน่วย ประกอบด้วย

  1. หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 41 ตั้งอยู่ที่ อ.รามัน จ.ยะลา
  2. หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 42 ตั้งอยู่ที่ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี
  3. หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 43 ตั้งอยู่ที่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
  4. หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 44 ตั้งอยู่ที่ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี
  5. หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 45 ตั้งอยู่ที่ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส
  6. หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 46 ตั้งอยู่ที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส
  7. หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 47 ตั้งอยู่ที่ อ.ยะหา จ.ยะลา

กรมทหารพราน ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2554 – 2555[แก้]

  1. หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 11 โดยกองทัพภาคที่ 1 ตั้งอยู่ที่ อ.แว้ง จ.นราธิวาส
  2. หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 22 โดยกองทัพภาคที่ 2 ตั้งอยู่ที่ อ.ยะรัง จ.ปัตตานี
  3. หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 33 โดยกองทัพภาคที่ 3 ตั้งอยู่ที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา
  4. หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 48 โดยกองทัพภาคที่ 4 ตั้งอยู่ที่ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส
  5. หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 49 โดยกองทัพภาคที่ 4 ตั้งอยู่ที่ อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส

หมวดทหารพรานหญิง รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 9 หมวด ประกอบด้วย หมวดทหารพรานหญิง 12, 22, 32, 41, 42, 43, 44, 45, และ 46 ควบคุมโดยกองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้ และแบ่งมอบให้หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานตามความเหมาะสม

อาวุธ[แก้]

รูป ชื่อรุ่น ประเภท กระสุน ประเทศที่ผลิต หมายเหตุ

M1911 ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ .45 เอซีพี
สหรัฐ
ไทยปืนพกเอ็ม 1911 เอ 1 ที่ผลิตภายใต้ใบอนุญาต
Type 56-1 ปืนเล็กยาวจู่โจม 7.62×39 มม.
จีน

  • ใช้เป็นจำนวนน้อย อดีตปืนเล็กยาวของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
  • มีในเฉพาะทหารพรานในภาคใต้
    HK-33 (ปลย.11) ปืนเล็กยาวจู่โจม 5.56×45 มม. นาโต
    เยอรมนี
    ไทยรุ่นใบอนุญาตไทยของเฮคเลอร์แอนด์คอช เอชเค 33
    M16A1 ปืนเล็กยาวจู่โจม 5.56×45 มม. นาโต
    สหรัฐ
    M4A1 Carbine ปืนเล็กยาวจู่โจม 5.56×45 มม. นาโต
    สหรัฐ
    M1918 BAR ปืนเล็กยาวจู่โจม .30-06 มม.
    สหรัฐมีใช้บางส่วน
    Remington Model 870 ปืนลูกซอง 12 เกจ
    สหรัฐ
    AK-104 ปืนเล็กยาวจู่โจม 7.62×39 มม.
    รัสเซียกองทัพบกจัดหาในปี พ.ศ. 2563 ให้เฉพาะทหารพรานใน3จังหวัดชายแดนใต้ Galil Sniper Rifle ปืนไรเฟิลซุ่มยิง 7.62×51 มม.
    อิสราเอล
    M60 LMG ปืนกลอเนกประสงค์ 7.62×51 มม.
    สหรัฐอดีตปืนกลเอนกประสงค์หลัก ซึ่งได้รับการแทนที่โดยแอฟแอ็น แม็ก 58
    Type 56 LMG ปืนกลเบา 7.62×39 มม.
    จีนใช้เป็นจำนวนน้อย อดีตปืนกลของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
    M203 เครื่องยิงลูกระเบิด เอสอาร์ 40×46 มม.
    สหรัฐ
    M79 เครื่องยิงลูกระเบิด 40×46 มม.
    สหรัฐType 56 RPG เครื่องยิงจรวด 85 มม.
    จีนใช้เป็นจำนวนน้อย อดีตขีปนาวุธแบบประทับบ่ายิงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
    Type 69 RPG เครื่องยิงจรวด พีจี-7วี
    จีนใช้เป็นจำนวนน้อย อดีตขีปนาวุธแบบประทับบ่ายิงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ลูกเสือชาวบ้าน
  • ทหารพรานนาวิกโยธิน กองทัพเรือ

อ้างอิง[แก้]

  • Ball D. The Boys in Black: The Thahan Phran (Rangers), Thailand's Para-Military Border Guards. Bangkok, Thailand: White Lotus Press, 2004, 2007, p. 5.
  • Phan Suksan (pseudonym), "Thahan Phran: The Thai Army's Combat and Development Force," Sena Son Thet [Army Information], vol. 33, no. 10, July 1995, p. 12.
  • [ลิงก์เสีย]
  • ""Thai Army Rangers clash with Cambodian troops near Preah Vihear temple," Jan 24, 2010". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-25. สืบค้นเมื่อ 2011-11-06. According to Jim Morris, an ex-US Special Forces soldier, “This was a special unit, slapped together quickly by a raid on a Bangkok jail.”

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf