ม คด ต ดต ว ทำงานข าราชการได ไหม

ถือว่าเป็นบุคคลผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปในการเข้ารับราชการตามมาตรา 30 ต้องได้รับการยกเว้นคุณสมบัติจาก ก.พ. หรือได้รับการล้างมลทินตามกฎหมาย เสียก่อนจึงจะขอบรรจุกลับเข้ารับราชการได้ แต่ส่วนราชการจะบรรจุผู้นั้นกลับเข้ารับราชการอีกหรือไม่ เป็นดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 52 ที่จะพิจารณา (นร 0709.1/ล 578 ลงวันที่ 6 ธันวาคม 2544)

มาตรา 52

ข้าราชการซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการเพราะมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวนตามมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มิใช่ถูกออกจากราชการเพราะกระทำผิดวินัย หากไม่ปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปในกรณีอื่น ผู้นั้นก็สามารถขอกลับเข้ารับราชการตามเดิมได้ส่วนจะได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการหรือไม่ เป็นดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 52 (นร 0709.1/14 ลงวันที่ 4 มกราคม 2545)

มาตรา 59

ข้าราชการถูกลงโทษตัดเงินเดือนหลังจากได้รับเลื่อนให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น คำสั่งลงโทษดังกล่าวย่อมไม่มีผลกระทบกับการเลื่อนระดับตำแหน่งซึ่งดำเนินการไปโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่ขัดกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 59 จึงไม่อาจยกเลิกคำสั่งเลื่อนระดับตำแหน่งได้ (นร 0709.2/ป 556 ลงวันที่ 21 กันยายน 2541)

มาตรา 72

ผู้ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีต้องมีผลการปฏิบัติงานเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาได้ หากไม่มีผลการปฏิบัติงานหรือการประเมินผลปฏิบัติงานไม่ถึงเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2538) ข้าราชการผู้นั้นก็จะไม่ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี (นร 0709.1/130 ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2544)

มาตรา 79

กรณีที่จะถือว่า เป็นการดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกับกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการหรือไม่ ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏเป็นเรื่อง ๆ ไป (นร 0709.2/ล 30 ลงวันที่ 4 มีนาคม 2542)

มาตรา 82

1. ข้าราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ซึ่งมีหน้าที่กำกับ ดูแล การดำเนินงานให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ และวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ หากฝ่าฝืนคำสั่งกรมฯ ซึ่งห้ามข้าราชการเข้าไปเป็นตัวกระทำการให้สหกรณ์ที่ตนเองรับผิดชอบการเข้าไปกระทำการในสหกรณ์ จึงไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ (นร 0709.1/ล 391 ลงวันที่ 2 เมษายน 2545)

2. ข้าราชการได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานอื่นของส่วนราชการ (จัดสรรสลากการกุศล และเก็บเงินส่งให้กับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล) ซึ่งเป็นงานนอกเหนือจากงานในหน้าที่ ถือว่าข้าราชการผู้นั้นมีหน้าที่ราชการในเรื่องดังกล่าวด้วย หากนำเงินที่รับไว้ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวก็จะมีความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการได้ (นร 0709.1/(ล) 3 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2544)

มาตรา 84

การประมาทเลินเล่อซึ่งเป็นความผิดทางวินัยจะต้องเป็นการประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ ส่วนความเสียหายที่เกิดแก่ราชการกรณีจะร้ายแรงเพียงใดนั้น ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป ซึ่งความเสียหายที่ทางราชการได้รับอาจเป็นความเสียหายที่สามารถคำนวณเป็นราคา หรือเป็นความเสียหายที่เกิดกับภาพพจน์ชื่อเสียงของทางราชการก็ได้ (นร 0709.1/174 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2545)

มาตรา 89

ข้าราชการมีหนังสือร้องเรียนกล่าวโทษข้าราชการอื่นต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปเพื่อให้พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ โดยมิได้เสนอหนังสือร้องเรียนผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ถือว่าเป็นการใช้สิทธิในทางส่วนตัวเพื่อประโยชน์แก่ราชการมิใช่การปฏิบัติหน้าที่ราชการ กรณีจึงไม่เป็นความผิดวินัยฐานกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน (นร 0709.1/ล 531 ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2544)

มาตรา 92

1. ข้าราชการได้รับอนุญาตให้ลาศึกษาต่อในประเทศแต่ไม่ไปเรียนตามปกติจนเป็นผลให้เวลาเรียนไม่พอ และไม่ผ่านการสอบประจำปีในปีการศึกษาที่หนึ่ง การขาดเรียนดังกล่าวไม่ถือเป็นความผิดวินัยฐานละทิ้งหน้าที่ราชการ (นร 0709.1/259 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2544) 10

2. ข้าราชการถูกลงโทษไล่ออกจากราชการฐานละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า 15 วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหากภายหลังปรากฏหลักฐานว่า ข้าราชการดังกล่าวไม่มีเจตนาละทิ้งหน้าที่ราชการ ภรรยา หรือทายาทของข้าราชการผู้ถูกลงโทษอาจร้องขอและส่งพยานหลักฐานให้ ก.พ.พิจารณาทบทวนคำสั่งลงโทษดังกล่าวได้ (นร 0709.1/225 ลงวันที่ 20 กันยายน 2544)

3. ข้าราชการเกิดเรื่องทะเลาะวิวาทกับบุคคลกลุ่มหนึ่งในสถานบันเทิงและถูกห้ามปรามจนกระทั่งได้แยกย้ายจากกัน หลังจากเกิดเหตุดังกล่าวไม่มีผู้ใดพบเห็นข้าราชการผู้นั้นอีก และผู้บังคับบัญชาได้ทำการสืบสวนแล้วมีเหตุอันควรเชื่อว่าข้าราชการผู้นั้นน่าจะถูกฆาตกรรม กรณีเช่นนี้ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อน (นร 0709.1/53 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2545)

4. เมื่อสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในสหรัฐอเมริกามีหนังสือแจ้งข้าราชการซึ่งได้รับอนุมัติให้ลาศึกษาต่อเดินทางกลับประเทศไทยโดยส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ กรณีให้ถือว่าข้าราชการผู้นั้นได้รับแจ้งการไม่อนุมัติให้ลาศึกษาต่อเมื่อครบกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่งหนังสือแจ้งดังกล่าว (นร 0709.1/183 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2545)

5. ข้าราชการละทิ้งหน้าที่ราชการ 2 ครั้ง ครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม2540 ถึงวันที่ 26 มกราคม 2541 รวม 43 วัน หลังจากนั้นได้กลับมาปฏิบัติราชการครั้งที่สองตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2541 เป็นต้นไป และไม่กลับมาปฏิบัติราชการอีกเลย กรณีเช่นนี้จะต้องสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2541 เป็นต้นไป (นร 0709.1/235 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2545)

6. การนับวันสำหรับการกระทำผิดวินัยฐานละทิ้งหน้าที่ราชการนั้นจะต้องนับวันละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อกันทุกวัน โดยนับรวมวันหยุดราชการ ซึ่งอยู่ระหว่างวันละทิ้งหน้าที่ราชการด้วย (นร 0709.2/28 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2545) 15

7. การที่จะพิจารณาว่าข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัยฐานละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการตามมาตรา 92 นั้น ต้องปรากฏว่าข้าราชการผู้นั้นมีหน้าที่ราชการที่จะต้องปฏิบัติ แต่ได้ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการไปโดยไม่มีเหตุผล อันสมควร (นร 0709.2/ล 266 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2541)

8. ข้าราชการละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อกันในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า 15 วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรแล้วได้กลับมาปฏิบัติราชการอีกผู้บังคับบัญชาสามารถใช้ดุลพินิจสั่งลงโทษในความผิดวินัยอย่างร้ายแรงได้ตามความร้ายแรงแห่งกรณี โดยจะลงโทษปลดออก หรือไล่ออกจากราชการก็ได้ไม่เป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี ที่ นว 125/25032 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2503 และมติคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0205/ว 234 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2536 (นร 0709.1/ล 963 ลงวันที่ 19 กันยายน 2545)

9. ข้าราชการยื่นหนังสือขอลาออกจากราชการในวันเดียวกับวันที่ขอลาออกผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสามารถอนุญาตให้ลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ขอลาออกได้ และเมื่อผู้บังคับบัญชาอนุญาตให้ข้าราชการดังกล่าวลาออกจากราชการไปแล้ว ผู้บังคับบัญชาย่อมไม่อาจดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการผู้นั้นในกรณีละทิ้งหน้าที่ราชการอีกได้ (นร 0709.2/ป 673 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2541)

มาตรา 98

1. ข้าราชการที่กระทำผิดเกี่ยวกับเสพยาเสพติด ประเภทแอมเฟตามีน(ยาบ้า) ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง สำหรับระดับโทษ หากมีเหตุอันควรลดหย่อนก็สามารถนำมาประกอบการพิจารณาได้ แต่จะลดโทษลงต่ำกว่าปลดออกจากราชการไม่ได้ (นร 0709.1/534 ลงวันที่ 21 กันยายน 2543)

2. ข้าราชการยื่นฟ้องผู้บังคับบัญชาต่อศาลโดยสุจริต ถือว่าเป็นการใช้สิทธิอันชอบธรรมตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ไม่เป็นการกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 แต่อย่างใด (นร 0709.1/188 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2544) 20

3. การที่จะพิจารณาว่าการกระทำใดเป็นการประพฤติชั่วตามมาตรา 98 หรือไม่ ให้พิจารณาถึงเกียรติของข้าราชการ ความรู้สึกของสังคม และเจตนาของผู้กระทำเป็นสำคัญ อีกทั้งให้คำนึงถึงความร้ายแรงแห่งกรณีที่กระทำด้วย เพื่อจะได้กำหนดสถานโทษให้เหมาะสมกับการกระทำผิด (นร 0709.1/ล 109 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2544)

มาตรา 99

1. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินรายงานผลการตรวจสอบสืบสวนว่ามีข้าราชการกระทำการทุจริต เป็นเหตุให้เงินของทางราชการขาดบัญชี ถือได้ว่าเป็นการชี้มูลการกระทำผิดวินัยโดยมีพยานหลักฐานเบื้องต้นเพียงพอที่จะกล่าวหา ข้าราชการผู้นั้นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว (นร 0709.2/ป 242 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2542)

2. การดำเนินการตามมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มิใช่ขั้นตอนของการดำเนินการทางวินัย เมื่อผู้บังคับบัญชาพิจารณาเรื่องที่กล่าวหาแล้วเห็นว่ากรณีไม่มีมูล และสั่งยุติเรื่อง จึงไม่ต้องรายงานการดำเนินการดังกล่าวตามมาตรา 109 (นร 0709.2/818 ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2542)

3. การที่ข้าราชการถูกแจ้งความร้องทุกข์ หรือฟ้องคดี หากปรากฏว่ากรณีดังกล่าวไม่มีมูลเป็นการกระทำผิดวินัย หรือพยานหลักฐานในเบื้องต้นยังไม่ชัดเจน ผู้บังคับบัญชาไม่อาจอาศัยเหตุดังกล่าวมาดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการได้ (ด่วนที่สุด ที่ นร 0709.1/160 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2544)

4. ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ทำการสืบสวนข้อเท็จจริงเพื่อหามูลการกระทำผิดวินัย เป็นเพียงผู้ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ และให้ความเห็นแก่ผู้บังคับบัญชา ไม่มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการมาให้ข้อเท็จจริง หรือเรียกเอกสารต่าง ๆ โดยอาศัยอำนาจของตนได้ (นร 0709.1/405 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2544) 25

5. ผู้บังคับบัญชาตามกฎหมาย แม้จะมิใช่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ ซึ่งมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ก็มีอำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงเพื่อพิจารณาว่า กรณีมีมูลสมควรที่จะกล่าวหาข้าราชการในบังคับบัญชาว่ากระทำผิดวินัยหรือไม่ (นร 0709.1/282 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2544)

6. เมื่อผู้บังคับบัญชาสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงแก่ข้าราชการแล้ว ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงในกรณีเดียวกัน เมื่อยังไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติตามมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวยังคงมีหน้าที่ต้องดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการผู้นั้นต่อไป (นร 0709.1/ล 32 ลงวันที่ 21 มกราคม 2545)

มาตรา 102

1. คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงชี้มูลความผิดวินัยอย่างร้ายแรงแก่ข้าราชการในเรื่องที่ผู้บังคับบัญชาได้เคยดำเนินการทางวินัยไปแล้ว หากปรากฏข้อเท็จจริงว่ากรณีที่ชี้มูลครั้งหลังเป็นคนละกรณีกัน ผู้บังคับบัญชาก็ยังสามารถดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ตามมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ในกรณีดังกล่าวได้อีกไม่เป็นการดำเนินการซ้ำ (นร 0709.1/210 ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2543)

2. หลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนนั้น มีเจตนารมณ์ที่จะให้คณะกรรมการสอบสวน และผู้บังคับบัญชาดำเนินการเกี่ยวกับการสอบสวนและพิจารณาจนเสร็จสิ้นกระบวนการ มิได้ให้อำนาจผู้บังคับบัญชาในการสั่งยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือระงับการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนที่ได้สั่งแต่งตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย หากคุณสมบัติของกรรมการสอบสวนไม่เป็นไปตามที่มติคณะรัฐมนตรีกำหนดผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนย่อมจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีได้ (นร 0709.1/ล 24 ลงวันที่ 31 มกราคม 2543)

3. การสอบสวนในกรณีกล่าวหาว่าข้าราชการกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง แม้กฎหมายจะบัญญัติให้ผู้บังคับบัญชาสามารถดำเนินการโดยวิธีการที่เห็นสมควรได้ก็ตาม แต่เพื่อความเป็นธรรมจะต้องมีการแจ้งให้ข้าราชการผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบฐานะที่ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหา และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วย (นร 0709.2/ป 403 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2542) 30

4. การที่ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษวินัยอย่างไม่ร้ายแรงโดยไม่ได้ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา เป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยเจตนารมณ์ของมาตรา 102 และขัดกับหลักการพื้นฐานแห่งความยุติธรรม (นร 0709.2/ล 180 ลงวันที่ 29 กันยายน 2542)

5. การดำเนินการสอบสวนตามมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 เป็นกระบวนการดำเนินการทางวินัย เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการสอบสวนแล้วเห็นว่าข้าราชการผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิด ผู้ว่าราชการจังหวัดก็จะต้องรายงานการดำเนินการทางวินัยดังกล่าวไปยังอธิบดีของข้าราชการผู้นั้นตามมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว (นร 0709.2/818 ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2542)

6. เมื่อข้าราชการมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามที่ระบุไว้ในมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าข้าราชการผู้ที่ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนนั้นได้รับการบรรจุและแต่งตั้งมาโดยวิธีใด และในกรณีที่ปรากฏว่าข้าราชการผู้กระทำผิดวินัยอยู่ในอำนาจการสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนของผู้บังคับบัญชาหลายคนให้ผู้บังคับบัญชาที่พบการกระทำความผิดเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (นร 0709.1/ป 297 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2544)

7. ในกรณีที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยข้าราชการ2 คำสั่ง ในเรื่องกล่าวหาเดียวกันแต่ต่างกรณีกัน เมื่อผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษในกรณีตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคำสั่งแรกไปแล้ว แม้ผลการสอบสวนในกรณีตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคำสั่งที่สองจะฟังได้ว่าข้าราชการผู้นั้นกระทำผิดวินัยอีกก็ตาม กรณีไม่อาจสั่งลงโทษข้าราชการผู้นั้นได้อีก เพราะเป็นการกระทำผิดในเรื่องเดียวกัน (นร 0709.1/ ล 469 ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2544)

8. ในกรณีที่มีการกล่าวหาว่าข้าราชการกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการสอบสวนตามวิธีการที่ผู้บังคับบัญชาเห็นสมควร ซึ่งคำว่า “วิธีการที่เห็นสมควร” นั้น หมายถึงวิธีการที่ผู้บังคับบัญชาเห็นสมควรจะใช้ในการสอบสวน ซึ่งอาจดำเนินการด้วยวิธีใดก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบเรื่องที่มีการกล่าวหาและต้องให้โอกาสชี้แจงเหตุผลในเรื่องที่มีการกล่าวหาด้วย จะสั่งลงโทษโดยไม่ทำการสอบสวนก่อนไม่ได้ เว้นแต่เป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2539) (นร 0709.1/30 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545) 35

9. เมื่อผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการผู้ถูกกล่าวหาและสั่งยุติเรื่องแล้ว ต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกในเรื่องเดียวกันโดยให้รอการลงโทษไว้ ผู้บังคับบัญชาไม่อาจดำเนินการทางวินัยได้อีก เนื่องจากจะเป็นการดำเนินการซ้ำ และเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้บังคับบัญชาได้สั่งยุติเรื่องก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2539 จึงเป็นผลให้กรณีอยู่ในเกณฑ์ได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 (นร 0709.2/ป 17 ลงวันที่ 25 มกราคม 2542)

10. การที่ปลัดกระทรวงแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 102 ประกอบกับมาตรา 52 (2) หรือ (4) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 หรือส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณาตามมาตรา 104 (1) หรือดำเนินการทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญทุกระดับในกระทรวงซึ่งมิใช่สำนักงานปลัดกระทรวง ถือว่าเป็นการใช้อำนาจในฐานะปลัดกระทรวง (นร 1009.1/ล 1096 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2545)

11. ข้าราชการถูกลงโทษทางวินัยแล้ว ต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุกผู้นั้นในกรณีเดียวกันอีก ผู้บังคับบัญชาไม่อาจสั่งลงโทษหรือเพิ่มโทษข้าราชการดังกล่าวได้ เนื่องจากเป็นการดำเนินการซ้ำ แต่การที่ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกย่อมถือเป็นผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปสำหรับการเป็นข้าราชการ ตามมาตรา 30 (10) ผู้บังคับบัญชาจึงต้องสั่งให้ออกจากราชการ ตามนัยมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 (นร 0709.2/565 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2541)

12. การดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 52 และผู้มีอำนาจดังกล่าวอาจมอบอำนาจการสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้ข้าราชการผู้อื่นปฏิบัติราชการแทนได้ หากผลการสอบสวนปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวก็มีอำนาจดำเนินการสั่งลงโทษวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ตามมาตรา 103 ได้ หรือหากผลการสอบสวนปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวก็มีอำนาจส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด แล้วแต่กรณี พิจารณาตามมาตรา 104 ได้ (นร 0709.3/3 ลงวันที่ 8 มกราคม 2544)

มาตรา 106

1. ข้าราชการได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ โดยขณะที่ลาออกไม่ปรากฏกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง กรณีไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ผู้บังคับบัญชาไม่สามารถดำเนินการทางวินัยในภายหลังได้ (ด่วนมาก ที่ นร 0709.1/178 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2543) 40

2. คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงซึ่งตั้งขึ้นเพื่อหาตัวผู้กระทำผิดและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รายงานผลการสอบสวนต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการว่าข้าราชการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหลังจากที่ข้าราชการผู้นั้นได้เกษียณอายุราชการไปแล้ว กรณีไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 กรณีเช่นนี้ ผู้บังคับบัญชาไม่สามารถสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงตามที่มีการรายงานได้ (นร 0709.1/210 ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2543)

3. เมื่อมีการกล่าวหาเป็นหนังสือว่าข้าราชการผู้ใดมีพฤติการณ์อันพึงเห็นได้ว่าเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงต่อคณะกรรมการ ป.ป.ป. หรือต่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ก่อนที่ข้าราชการผู้นั้นจะออกจากราชการ แม้คณะกรรมการ ป.ป.ป. หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจะแจ้งเหตุดังกล่าวให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจทราบ หลังจากที่ข้าราชการผู้นั้นได้ออกจากราชการไปแล้วก็ตาม ผู้บังคับบัญชาก็ยังสามารถดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการผู้นั้นตามมาตรา 106 ต่อไปได้

ทั้งนี้ การกล่าวหาเป็นหนังสือต่อหน่วยงานดังกล่าวไม่จำต้องเป็นเรื่องทุจริตต่อหน้าที่ราชการเท่านั้น การกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในเรื่องอื่น แม้อยู่นอกเหนือหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ป. หรือสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้บังคับบัญชาก็สามารถดำเนินการทางวินัยตามนัยมาตราดังกล่าวได้ (นร 0709.1/335 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2544) 42

4. การกล่าวหาเป็นหนังสือว่ามีข้าราชการต่างสังกัดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงร่วมกันต่อผู้บังคับบัญชาหน่วยงานใด ย่อมมีผลเป็นการกล่าวหาแต่เฉพาะข้าราชการของหน่วยงานนั้น ไม่มีผลเป็นการกล่าวหาข้าราชการอื่น ซึ่งร่วมกระทำผิดด้วยแต่อย่างใด ดังนั้น หากปรากฏว่าข้าราชการอื่นซึ่งร่วมกระทำผิดได้ออกจากราชการไปแล้วก่อนที่ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการผู้นั้นจะทราบเรื่อง กรณีย่อมไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 106 ที่จะดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการที่ออกไปแล้วได้ (นร 0709.1/335 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2544) 43

5. การกล่าวหาเป็นหนังสือว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำหรือละเว้นกระทำการใดที่พึงเห็นได้ว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 106 นั้น จะต้องระบุตัวผู้กระทำหรือละเว้นการกระทำ ตลอดจนพฤติการณ์แห่งการกระทำหรือละเว้นการกระทำที่พึงเห็นได้ว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงด้วย (นร 0709.1/260 ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2544) 44

6. เมื่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้นรายงานการขาดราชการเกินกว่า 15 วันของข้าราชการไปยังผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลำดับแล้ว แม้ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปจะสั่งให้ทำการสืบสวนข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวก่อน และมีความเห็นว่ากรณีเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหลังจากที่ข้าราชการผู้นั้นได้ออกจากราชการไปแล้ว ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจก็ยังสามารถดำเนินการตามมาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ได้ (นร 0709.2/240 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2542) 45

7. การที่ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นรายงานการทุจริตของผู้ใต้บังคับบัญชาไปยังผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปก่อนที่ข้าราชการผู้ใต้บังคับบัญชาผู้นั้นออกจากราชการ ถือว่าการรายงานดังกล่าวเป็นการกล่าวหาเป็นหนังสือตามมาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 แล้ว ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสามารถดำเนินการทางวินัยต่อไปได้เสมือนว่าข้าราชการผู้นั้นยังไม่ได้ออกจากราชการ (นร 0709.1/200 ลงวันที่ 18 กันยายน 2544)

8. ข้าราชการซึ่งออกจากราชการไปแล้วย่อมไม่มีสภาพเป็นข้าราชการอีก ผู้บังคับบัญชาจึงไม่อาจสั่งเพิ่มโทษในกรณีกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงกับข้าราชการผู้นั้นได้ และกรณีเช่นนี้ไม่อาจสั่งงดโทษตามมาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ได้เช่นกัน เนื่องจากเป็นกรณีที่มีการกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง (นร 0709.2/ป 80 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2542)

9. การดำเนินการตามมาตรา 106 เมื่อผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่า ข้าราชการผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชางดโทษแก่ข้าราชการผู้นั้น เนื่องจากมาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มีเจตนารมณ์มุ่งหมายที่จะลงโทษข้าราชการที่กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง (นร 0709.2/ป 337 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2541)

10. การกล่าวหาเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาตามมาตรา 106 นั้น ไม่จำเป็นจะต้องเป็นผลสรุปความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือมติ อ.ก.พ.กระทรวง หากข้อเท็จจริงตามหนังสือดังกล่าวมีลักษณะที่พึงเห็น ได้ว่า กรณีมีมูลเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาก่อนที่ข้าราชการผู้นั้นจะออกจากราชการไป ผู้บังคับบัญชาย่อมดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงแก่ข้าราชการดังกล่าวได้ (นร 0709.2/ล 276 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2541) 49

11. ข้าราชการได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการก่อนที่จะมีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ไม่ต้องด้วยเงื่อนไขตามมาตรา 106 ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจจึงไม่อาจแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงแก่ข้าราชการผู้นั้นได้ (นร 0709.2/ป 152 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2541) 50

12. การกล่าวหาว่าข้าราชการผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงอยู่ก่อนออกจากราชการ ตามนัยมาตรา 106 ไม่จำต้องเป็นการรายงานผลของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเสมอไป เพียงแต่มีการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชา หรือผู้มีหน้าที่สืบสวนโดยมีเนื้อความที่สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แม้ไม่ระบุชื่อผู้ถูกกล่าวหา เพียงแต่กล่าวหาพอให้ทราบว่าผู้ถูกกล่าวหาเป็นใคร ก็เพียงพอที่ผู้บังคับบัญชาจะดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการ ผู้นั้นได้

ส่วนการที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ ต่อมาถูกดำเนินการทางวินัยตามมาตรา 106 หากผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ก็ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งงดโทษ หากผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ก็ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ ตามนัยข้อ 6 (6) ของระเบียบ ก.พ.ว่าด้วยวันออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2535 (นร 0709.2/ป 241 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2541)

มาตรา 107

1. ข้าราชการพลเรือนสามัญถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ย่อมไม่มีสถานภาพเป็นข้าราชการ จึงไม่อาจสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ๆ ได้ (นร 0709.2/282 ลงวันที่ 16 เมษายน 2542)

2. ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ข้าราชการออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนทางวินัยในกรณีที่ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แม้กรณีที่สอบสวนดังกล่าวจะมีการดำเนินคดีอาญาด้วย และพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องผู้กระทำความผิดก็ตาม กรณีก็มิได้เป็นผลให้เหตุแห่งการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนอันเนื่องจากถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงนั้นหมดไป หากการสอบสวนทางวินัยดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จ ผู้บังคับบัญชาก็ไม่อาจสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นกลับเข้ารับราชการตามเดิมได้ (นร 0709.1/242 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2544)

มาตรา 109

1. อ.ก.พ.กระทรวง ได้พิจารณารายงานการลงโทษข้าราชการตามมาตรา 109 วรรคหนึ่ง แล้วเห็นว่า กรณีเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และมีมติให้กรมดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงแก่ข้าราชการดังกล่าว ต่อมา อ.ก.พ.กรม ได้มีมติให้ลงโทษไล่ข้าราชการผู้นั้นออกจากราชการการสั่งลงโทษครั้งหลังถือเป็นการสั่งเพิ่มโทษ (นร 0709.2/584 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2542) 54

2. ผู้บังคับบัญชาสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสำนวนการสืบสวนข้อเท็จจริง เพื่อพิจารณาพยานหลักฐานในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลเพียงพอที่จะกล่าวหาว่าข้าราชการกระทำความผิดวินัยอย่างไร หรือไม่ ถือเป็นการดำเนินการ ตามมาตรา 99 มิใช่การดำเนินการทางวินัยตามมาตรา 102 เมื่อผู้บังคับบัญชาพิจารณาแล้วเห็นควรยุติเรื่อง จึงไม่มีกรณีต้องรายงานตามมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 แต่อย่างใด (นร 0709.1/ล 169 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2544) 55

3. เมื่ออธิบดีรายงานการดำเนินการทางวินัยไปยัง อ.ก.พ.กระทรวงตามมาตรา 109 แล้ว การพิจารณาดำเนินการในขั้นต่อไปเป็นอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ.กระทรวง (นร 0709.1/ล 858 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2545)

4. การที่มาตรา 109 บัญญัติให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นรายงานการดำเนินการทางวินัยไปยังผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป และให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปมีอำนาจเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือยกโทษ ได้ แสดงให้เห็นว่าคำสั่งลงโทษของบังคับบัญชาชั้นต้นยังไม่เด็ดขาด การเปลี่ยนแปลงโทษดังกล่าวมีลักษณะเป็นการแก้ไขคำสั่งลงโทษ ดังนั้น การสั่งลงโทษครั้งหลังจึงต้องสั่งให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ระบุไว้ในคำสั่งเดิม (นร 1009.1/ล 1095 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2545)

5. ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการแล้ว จะต้องรายงานการดำเนินการทางวินัยต่อผู้บังคับบัญชาของข้าราชการผู้นั้นตามลำดับจนถึงอธิบดี ตามมาตรา 109 วรรคหนึ่ง หากผู้บังคับบัญชาผู้ใดไม่ปฏิบัติ ตามบทบัญญัติดังกล่าว ผู้บังคับบัญชาผู้นั้นอาจมีความผิดวินัยตามมาตรา 85 วรรคหนึ่ง ได้ (นร 0709.2/642 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2541)

6. เมื่อมีคำสั่งเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ คำสั่งลงโทษเดิมเป็นอันยกเลิกตามนัยมาตรา 109 วรรคห้า ดังนั้น เมื่อผู้บังคับบัญชาสั่งเพิ่มโทษข้าราชการจากลดขั้นเงินเดือนเป็นไล่ออกจากราชการ คำสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือนดังกล่าวจึงถูกยกเลิก และเป็นผลให้ทางราชการต้องคืนเงินเดือนตามคำสั่งลงโทษ (เดิม) ที่ให้ลดขั้นเงินเดือนไปแล้วให้แก่ข้าราชการผู้นั้นด้วย (นร 0709.2/ป 256 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2541)

มาตรา 112

เมื่อศาลมีคำสั่งให้ข้าราชการซึ่งหายไปเป็นคนสาปสูญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว โดยผลของกฎหมายถือว่า “ถึงแก่ความตาย” ซึ่งย่อมเป็นผลให้ต้องถือว่าข้าราชการผู้นั้นออกจากราชการเพราะตาย (นร 0709.2/563 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2542) 60

มาตรา 113

ข้าราชการส่งหนังสือขอลาออกจากราชการทางไปรษณีย์ (EMS) โดยขอลาออกจากราชการในวันเดียวกับที่ได้ระบุไว้ในหนังสือขอลาออก แม้กรณีจะมิใช่เป็นการยื่นหนังสือขอลาออกจากราชการล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ ก.พ.ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2536 ก็ตาม แต่เพื่อความเป็นธรรมและให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของมาตรา 113 ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสามารถอนุญาตให้ลาออกจากราชการได้ (นร 0709.2/533 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2542)

มาตรา 115

1. ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 52 มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการออกจากราชการได้ หากการสอบสวนปรากฏว่าข้าราชการผู้นั้นหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติราชการ และการให้ผู้นั้นอยู่รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหาย แก่ราชการ ซึ่งจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป (นร 0709.1/279 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2544)

2. ผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 52 อาจพิจารณาดำเนินการสั่งให้ข้าราชการออกจากราชการเพราะเป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติงาน หรือหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการตามมาตรา 114 (3) และมาตรา 115 แล้วแต่กรณีได้ และหากผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งการในกรณีดังกล่าวโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงผู้บังคับบัญชาก็ย่อมที่จะสั่งแก้ไขให้ถูกต้องได้ (นร 0709.1/ป 455 ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2544)

มาตรา 124

ทายาทของข้าราชการผู้กระทำผิดวินัยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย เนื่องจากการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษดังกล่าวกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญให้อุทธรณ์ได้เฉพาะสำหรับตนเองเท่านั้น จะอุทธรณ์แทนกัน หรือมอบหมายให้ผู้อื่นอุทธรณ์แทนไม่ได้ (นร 0709.1/200 ลงวันที่ 18 กันยายน 2544)

มาตรา 125

เมื่อมีการรายงานการดำเนินการทางวินัยต่อ อ.ก.พ.กระทรวงตามมาตรา 109 วรรคหก และข้าราชการผู้ถูกลงโทษทางวินัยใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงโทษตามมาตรา 125 (3) อ.ก.พ.กระทรวง จะต้องพิจารณาอุทธรณ์ โดยนำรายงานการดำเนินการทางวินัยมาพิจารณาด้วย (นร 0709.1/266 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2544) 65

มาตรา 129

การใช้สิทธิร้องทุกข์จะต้องปรากฏกรณีว่าถูกผู้บังคับบัญชาสั่งให้ออกจากราชการ หรือเห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่หรือปฏิบัติต่อตนไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชา ดังนั้น การที่ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นทำบันทึกรายงานพฤติการณ์ของผู้ใต้บังคับบัญชาไปถึงผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป จึงยังไม่เข้าเหตุแห่งการร้องทุกข์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 129 และมาตรา 130 (นร 0709.1/ล 531 ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2544)

มาตรา 130

ผู้บังคับบัญชาสั่งงดโทษโดยให้ว่ากล่าวตักเตือนตามนัยมาตรา 103วรรคสอง มิใช่การลงโทษทางวินัย ผู้ถูกว่ากล่าวตักเตือนไม่สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ ส่วนการใช้สิทธิร้องทุกข์ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาว่ากล่าวตักเตือน ไม่ว่าจะเป็นกรณีการใช้อำนาจในทางบริหารหรือทางวินัยก็ตาม หากผู้ถูกว่ากล่าวตักเตือนเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้อำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา ข้าราชการผู้นั้นก็สามารถใช้สิทธิร้องทุกข์ตามมาตรา 130 ได้ (นร 0709.2/377 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2541) 67

รับราชการกี่ปีถึงจะได้เครื่องราช

๑) กรณีเริ่มต้นขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ข้าราชการจะต้องมีระยะเวลารับราชการ ติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า ๕ ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่วันเริ่มเข้ารับราชการ จนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิม พระชนมพรรษา วันที่28 กรกฎาคมของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน (หมายถึงจะต้องได้รับการ บรรจุเข้ารับราชการก่อนวันที่๒๙ พฤษภาคม ของ ...

ต้องทำงานราชการกี่ปีถึงได้บำนาญ

เหตุรับราชการนาน ข้าราชการผู้มีสิทธิลาออกจากราชการโดยมีเวลาราชการ ๒๕ ปีขึ้นไป มีสิทธิเลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญก็ได้

อาชีพรับราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีอะไรบ้าง

ประเภทของข้าราชการไทย.

ข้าราชการพลเรือนสามัญ.

ข้าราชการในพระองค์.

ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา.

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.

ข้าราชการทหาร.

ข้าราชการตำรวจ.

ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม.

ข้าราชการฝ่ายอัยการ.

เคยมีคดี รับ ราชการ ได้ไหม

หลักเกณฑ์ของกองการ “สอบตำรวจ” “ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ” แปลความได้หลักๆ คือ ต้อง ไม่เคยถูกศาลตัดสินให้จำคุก หรือต้องติดคุกจริงๆ (กรณีรอลงอาญาไม่เข้าข่าย น้องสามารถสมัคร “สอบตำรวจ” ได้)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf