การพ ฒนาท สมด ล ย งย น ม ความส ข

Page 79 - พฤติกรรมมนุษย์และจริยธรรมทางเศรษฐกิจและธุรกิจ

  1. 79

ความส​ ุขม​ วล​รวม​ประชาชาติ 11-27 รัฐบาลก​ บั ​แนวคิดค​ วามส​ ขุ ​มวล​รวม​ประชาชาติ ดาโช กา​มาร์ อุระ ผู้อ​ ำนวย​การ​ศูนย์ภ​ ูฏานศ​ ึกษา กล่าว​ว่า “ความส​ ุข​มวลร​ วม​ประชาชาติ คอื สมบตั ิ​รวม​ของ​ ประชาชาติ ทผ​ี่ า่ นม​ าค​ นค​ ดิ ว​ า่ ค​ วามอ​ ยดู่ ก​ี นิ ด​ ข​ี น้ึ อ​ ยก​ู่ บั ก​ ารค​ รอบค​ รองส​ นิ คา้ แตก​่ ารว​ จิ ยั เ​รอื่ งค​ วามส​ ขุ พ​ บว​ า่ การบ​ รโิ ภค​ ไม​่นำไ​ปส​ ูค่​ วาม​สุข​เพราะก​ าร​บรโิ ภค​นนั้ ถ​ ูกน​ ำ​ไปใ​ชใ้​น​เชงิ เ​ปรยี บ​เทียบ​กับบ​ รรทดั ฐาน ความ​สุข​ของเ​รา​ขน้ึ อ​ ยู่​กับ​การ​ไต่​ บนั ได ความ​เทา่ เ​ทียมส​ ำคัญ​มากใ​น​การบ​ รรล​คุ วามส​ ขุ แ​ บบ​รวม​หมู่” อย่างไร​ก็ตาม กา​มาร์ อุระ ยอมรับ​ว่าค​ วาม​สุข​มวลร​ วม​ประชาชาติ​ของ​ภูฏาน​ยังม​ ีป​ ัญหาอ​ ยู่​มาก เพราะร​ ัฐบาล​ ยังไ​ม่ไ​ด้พ​ ัฒนาต​ ัวช​ ี้ว​ ัดค​ วามส​ ุขอ​ อกม​ าเ​ป็นม​ าตรฐานอ​ ้างอิง หรือก​ ำหนดอ​ งค์ป​ ระกอบข​ องค​ วามส​ ุขม​ วลร​ วมป​ ระชาชาติ หรือค​ วามส​ ุขใ​นร​ ะดับป​ ัจเจกบุคคล และไ​ม่มกี​ ารพ​ ัฒนาต​ ัวช​ ีว้​ ัดท​ ั้งท​ างค​ ุณภาพแ​ ละเ​ชิงป​ ริมาณ ตลอดจ​ นว​ ิธกี​ ารค​ ำนวณ​ วัดอ​ อกม​ าอ​ ย่างล​ งตัว การด​ ำเนินน​ โยบายต​ ามแ​ นวทางค​ วาม​สุขม​ วลร​ วมป​ ระชาชาติ​ของร​ ัฐบาลย​ ัง​เป็นไ​ปใ​น​รูปข​ องก​ าร​ พัฒนา​ประเทศ โดยย​ ึด​หลักก​ รอบ 4 เสาห​ ลัก เน้นก​ ารไ​ม่​ทำลายท​ รัพยากรธรรมชาติ วิถีช​ ีวิตแ​ ละว​ ัฒนธรรม​ประเพณ​ี ของ​คนใน​ท้อง​ถิ่น รวม​ทั้ง​พยายาม​ปลูก​ฝัง​คุณค่า​ของ​แนวคิด​เรื่อง​ความ​สุข​มวล​รวม​ให้​แก่​ประชาชน​รุ่น​ใหม่ โดย​ผ่าน​ ระบบก​ ารศ​ ึกษาแ​ ละส​ ื่อแ​ ห่งช​ าติ และใ​ห้ส​ อดคล้องก​ ับห​ ลักค​ ำส​ อนข​ องพ​ ุทธศ​ าสนาท​ ีว่​ ่า “ความส​ ขุ ท​ แ่ี ทจ​้ รงิ ไ​มไ​่ ดเ​้ กดิ จ​ าก​ การ​บรโิ ภคว​ ตั ถุ แตเ่​กดิ ​จาก​สภาวะจ​ ติ ใจ​และ​กิจกรรม​ทาง​เศรษฐกจิ ​เปน็ เ​พยี งป​ จั จยั ส​ นับสนนุ ​ใหม้​ นุษย​ม์ ี​ชวี ติ ท​ ด​ี่ ​งี าม” นอกจากน​ ี้ รัฐมนตรี​สาธารณสุข​ของ​ประเทศภ​ ูฏาน จิ๊​กมี ซิงเ​ย ได้​อธิบาย​ว่า “รฐั บาลภ​ ูฏานไ​ดพ​้ ยายาม​ทำให​้ ความ​สุข​ของ​ผู้คน​ชาว​ภูฏาน​เป็น​เป้าประสงค์​สูงสุด​ของ​การ​พัฒนา แทนท่ี​จะ​มอง​ว่า​ความ​สุข​เป็น​เพียง​ผลพลอยได้​ จาก​การ​พัฒนา และ​อธิบาย​ว่า ภูฏาน​ประสบ​ความ​สำเร็จ​ใน​การ​พัฒนา​โดย​ใช้ GNH เพราะ​มี​ผู้นำ​ที่​เข้ม​แข็ง คือ​ พระร​ าชาธบิ ดี ซง่ึ ท​ รงป​ กครองด​ ว้ ยธ​ รรม และด​ ว้ ยส​ ง่ิ ท​ เ​ี่ รยี กก​ นั ว​ นั น​ ว​้ี า่ ธ​ รร​ มาภบ​ิ าล คอื โปรง่ ใส ไมโ​่ กงกนิ มก​ี ารกร​ ะจ​ าย​ ​ อำ​นาจ กระจาย​สินค้า​และ​การ​บริการ มี​การ​ประยุกต์​ใช้​คุณค่า​ดี​งาม​ของ​ประเพณี​วัฒนธรรม​และ​ป้องกัน​การ​ทำลาย​ สิง่ ​แวดล้อม เหล่าน​ ีเ้​ปน็ กร​ อบ​คดิ ​ของ GNH” ดัชนี​ความ​สุข​มวล​รวม​ประชาชาติ หรือ GNH ใน​นิยาม​ของ​ประเทศ​ภูฏาน คือ ต้นแบบ​แนวทาง​การ​พัฒนา​ อย่าง​ยั่งยืน​ที่​ให้​ความ​สำคัญ​ต่อ​ความ​ผาสุก​ของ​ประชากร​มากกว่า​ความ​มั่งคั่ง​ทาง​เศรษฐกิจ​เพียง​ด้าน​เดียว โดย​เน้น “ความ​สุข” ที่แท้​จริง​ของ​คนใน​สังคม ซึ่ง​แตก​ต่าง​จาก​รูป​แบบ​การ​พัฒนา​เดิม​ที่​ให้​ความ​สำคัญ​กับ​ความ​เจริญ​เติบโต ​ทาง​เศรษฐกิจ​เป็น​เป้า​หมาย​สูงสุด การ​พัฒนา​เศรษฐกิจ​ไม่ใช่​ปัจจัย​เดียว​หรือ​เป็น​ปัจจัย​สำคัญ​ที่สุด​ของ​ความ​สุข เนื่องจาก​การ​มุ่ง​พัฒนา​เศรษฐกิจ​เพียง​ด้าน​เดียว ได้​นำ​มา​ซึ่ง​ผล​เสีย​หาย​ต่างๆ มากมาย คือ ความ​ไม่​เป็น​ธรรม​ทาง​ สังคม การ​สูญ​เสีย​ความ​สมดุล​ทาง​ธรรมชาติ และ​มลภาวะ​แวดล้อม​เป็น​พิษ แนวคิด​เบื้อง​หลัง​ของ​ดัชนี​ความ​สุข​ มวล​รวมป​ ระชาชาติ​ของภ​ ูฏาน​ตั้งอ​ ยู่บ​ น​สมมติฐานท​ ี่​ว่า การพ​ ัฒนาส​ ังคม การท​ ีร่​ ฐั บาลภ​ ฏู านไ​ดน​้ ำแ​ นวคดิ เ​รือ่ งค​ วามส​ ขุ ม​ วลร​ วมข​ องป​ ระชาชาตมิ​ าเ​ปน็ ห​ ลกั ใ​นก​ ารด​ ำเนนิ น​ โยบายข​ องร​ ฐั ​ อย่าง​จริงจัง​เพื่อ​บรรลุเ​ป้า​หมาย​สูงสุด คือ ความส​ ุข​ของป​ ระชาชน ดังน​ ั้น ความส​ ุข​มวลร​ วม​ของ​คนใน​ประเทศจ​ ึง​สำคัญ​ กว่าส​ ิ่งใ​ดๆ ทั้งป​ วง และเ​ป็นท​ ี่มาข​ องก​ ารพ​ ัฒนาเ​ศรษฐกิจแ​ ละส​ ังคมอ​ ย่างย​ ั่งยืน รวมท​ ั้งก​ ารอ​ นุรักษแ์​ ละส​ ่งเ​สริมค​ ่าน​ ิยม​ ทางว​ ัฒนธรรมต​ ามด​ ้วยก​ ารอ​ นุรักษ์ส​ ิ่งแ​ วดล้อมท​ างธ​ รรมชาติ พร้อมส​ ่งเ​สริมค​ วามเ​ที่ยงธ​ รรมแ​ ละธ​ รร​ มาภิบ​ าล ซึ่งเ​ป็น​ หลัก​การ​สำคัญ​ของ​การ​พัฒนาป​ ระเทศ​ภูฏาน​ให้ป​ ระชาชนภ​ ายใน​ประเทศ​มีค​ วามส​ ุข​อย่าง​แท้จริง กล่าวโ​ดยส​ รุป “ความส​ ุขม​ วลร​ วมป​ ระชาชาติ” ที่พ​ ระร​ าชาธิบดีจ​ ิกม​ ี ซิงเย วังช​ ุก ทรงร​ ิเริ่มไ​ว้เ​มื่อค​ ราวเ​สด็จข​ ึ้น​ ครองร​ าชยใ์​น พ.ศ. 2515 ไดก้​ ลายเ​ป็นอ​ งคป์​ ระกอบส​ ำคัญข​ องแ​ นวทางก​ ารพ​ ัฒนาป​ ระเทศใ​นน​ ิยามใ​หม่ “ความก​ ้าวหน้า​ แบบอ​ งค์​รวม” ประเทศ​ภูฏาน​จึงก​ ลายเ​ป็นผ​ ู้นำ​หรือ​ต้น​ตำรับใ​นก​ ารเ​ผยแ​ พร่แ​ นวคิดค​ วามส​ ุข​มวล​รวมป​ ระชาชาติ​ออก​ ไป​สู่​สากล ลิขสิทธ์ขิ องมหาวทิ ยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

  • ลุ่มน้ำโขง
  • กัมพูชา
  • ลาว
  • พม่า
  • ไทย
  • เวียดนาม

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

  • 9 July 2018
  • เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • SEP / VNR

เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติได้รับรองวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2573 ซึ่งจะบรรลุเป้าหมายภายในระยะเวลา 15 ปีประกอบด้วย 17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยมี 169 เป้าหมายเฉพาะเจาะจง และ 230 ตัวชี้วัด เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเน้นให้ความสำคัญกับการปรับสมดุลทั้ง 3 มิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบบูรณาการและการมีส่วนร่วมเพื่อไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ประเทศไทยมีกรอบการพัฒนาของตนเองที่กำลังใช้อยู่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยอาศัยหลักภูมิปัญญาและความซื่อสัตย์สุจริตตลอดจนหลักการเดินทางสายกลาง ความสมเหตุสมผลและความรอบคอบตามแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จุดเน้นของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือความยั่งยืนและได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักการสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545

การเปลี่ยนผ่านจากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับโลกสร้างขึ้นจากความสำเร็จของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษก่อนหน้าที่ประสานงานโดยสหประชาชาติและประเทศสมาชิก การรณรงค์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษเริ่มขึ้นในพ.ศ. 2543 และสิ้นสุดในพ.ศ. 2558 เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมโดยมุ่งเน้นเรื่องขจัดปัญหาความหิวโหย ความยากจนและความเหลื่อมล้ำ การไม่รู้หนังสือ ความเจ็บป่วยและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษโดยส่วนใหญ่ โดยประเทศไทยได้ใช้แนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นแนวทางให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา การเพิ่มศักยภาพของประชาชนและชุมชน ประเทศไทยยังคงมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาของโลกด้วยการช่วยเสริมสร้างความสามารถของเพื่อนบ้านในการบรรลุพันธกิจของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษและความพยายามในการพัฒนาในอนาคต

ประเทศไทยได้แบ่งปันความเชี่ยวชาญที่ได้รับจากการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษกับประเทศอื่น ๆโดยตรง ตลอดจนผ่านเวทีระดับภูมิภาค เช่น อาเซียน ความพยายามในการเสริมสร้างศักยภาพเหล่านี้ได้ดำเนินการผ่านช่องทางที่หลากหลายรวมทั้งความร่วมมือทวิภาคี/ความร่วมมือสามฝ่าย ความร่วมมือใต้-ใต้ และกรอบพหุภาคี ตัวอย่าง เช่น ประเทศไทยได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการแบ่งปันปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะที่เป็นรูปแบบการพัฒนาสู่ประชาคมระหว่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นประธานกลุ่ม G-77 เมื่อปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยได้มีส่วนช่วยในการจัดตั้งโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในหลายประเทศ เช่นกัมพูชา อินดนีเซีย ลาว เลโซโท เมียนมาร์ ติมอร์ตะวันออกและตองกา ตั้งแต่เริ่มแรก การพัฒนาอย่างยั่งยืนถือเป็นหัวใจสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักการต่างๆที่สนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีส่วนเกี่ยวข้องกับความพยายามในการจัดการกับความยั่งยืนในประเทศไทยเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ การปกป้องสิ่งแวดล้อมและความต้องการของมนุษย์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังเป็นไปตามหลักการสำคัญของวาระ 2573 และสามารถใช้เป็นแนวทางในการสนับสนุนการนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในบริบทของโลกได้ คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ

การนำเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนสู่ท้องถิ่น

ตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงถูกใช้เป็นหลักการสำคัญในความพยายามเพื่อการพัฒนาความยั่งยืนของประเทศไทย ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเน้นความสมดุลในการใช้ทุนทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีพื้นฐานอยู่บนหลักการ 3 ประการที่เน้นการเดินทางสายกลางสำหรับคนไทยทุกระดับตั้งแต่จากทุกครอบครัว สู่ระดับชุมชนและสู่ระดับประเทศ หลักการเหล่านี้คือ:

  • ความพอประมาณ
    ในปีพ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชได้อธิบายถึงความหมายของการรู้จักความพอประมาณ:
“ความพอเพียงคือความพอประมาณ … ความพอประมาณไม่ได้หมายความว่าประหยัดเกินไป อนุญาตให้ใช้สินค้าที่หรูหราได้ … แต่ควรจะพอประมาณตามความหมายของตนเอง” – พระราชดำรัส ณ พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2541

ในประเทศไทย การพอประมาณเป็นหลักการที่สำคัญในการบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น การบริโภคที่น้อยลงและรูปแบบการผลิตที่หลากหลาย (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 12) การลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 7) และการจัดการทางทะเลอย่างยั่งยืน (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 14) และบนบก (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 15) ระบบนิเวศต่างๆ

  • ความสมเหตุสมผล

ความสมเหตุสมผลหมายถึงการพิจารณาอย่างรอบคอบของผลกระทบที่การกระทำและการตัดสินใจของเราอาจมีต่อทั้งผู้อื่นและโลกรอบตัวเรา การพิจารณาเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ความสมเหตุสมผลมีการประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติได้มากมายในประเด็นระดับโลกเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 13) ความเท่าเทียม (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 10) ความยุติธรรม (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 16) การพัฒนาแหล่งพลังงานที่สะอาด (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 7) และการลดมลพิษ (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 12)

  • ความรอบคอบ

ความรอบคอบเป็นเรื่องเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงต่างๆ การทำงานอย่างเป็นระบบและการบรรลุระดับของความสามารถและการพึ่งพาตนเองก่อนดำเนินการต่อ นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับคนที่ดูแลไม่ให้เกินขีดความสามารถของพวกเขา หลักการนี้อาจประยุกต์ใช้กับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเกือบทั้งหมดรวมทั้งด้านสุขภาพ (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 3) อาหาร (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 2) น้ำ (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 6) และความมั่นคงด้านพลังงาน (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 7) โดยเฉพาะ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย แก้ไขโดย ODT จาก มูลนิธิมั่นพัฒนา

นี่เป็นการนำเสนอว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีการพัฒนามาอย่างไร ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเน้นคุณค่าของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อตอบสนองความท้าทายในการพัฒนาท้องถิ่นและปลูกฝังแนวความคิดที่ยั่งยืนให้กับคนในท้องถิ่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในหลาย ๆ ด้านของชีวิตอย่างมีนัยสำคัญก่อนที่จะนำมาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้มีการบูรณาการไว้ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) รวมทั้งนโยบายประเทศไทย 4.0 ดังนั้นแผนงานและแผนงบประมาณของหน่วยงานรัฐบาลทั้งหมดจึงถูกกำหนดให้สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)

กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะเวลา 20 ปีที่ประกาศโดยนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา เป็นสิ่งสำคัญในการให้ประเทศไทยมีทิศทางที่ชัดเจนในระยะยาวเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เรียกกันว่าเป็นแผน 6-6-4 ซึ่งประกอบด้วย 6 ด้าน 6 ยุทธศาสตร์หลัก และ 4 ยุทธศาสตร์สนับสนุน

ยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ด้านประกอบด้วยความมั่นคง การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความเสมอภาคทางสังคม การเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการปรับสมดุลของสภาพแวดล้อม และการพัฒนาภาครัฐ

ยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ด้านดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อ:

  • เพิ่มและพัฒนาศักยภาพของทุนมนุษย์
  • ให้ความยุติธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
  • เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
  • ส่งเสริมการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • เสริมสร้างเสถียรภาพของชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและความยั่งยืน
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภาครัฐและส่งเสริมธรรมาภิบาล

4 ยุทธศาสตร์ที่สนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพประกอบด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาเมือง ภูมิภาคและเขตเศรษฐกิจ และความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564)

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 12 ได้รับการจัดทำขึ้นให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนนี้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดจากการใช้ความรู้ ทักษะและการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมและการวิจัยและพัฒนา นอกจากนี้ยังเน้นความสมดุลกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม แผนนี้ยังคงมุ่งเน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งประกอบด้วย 3 หลักการคือ ความพอประมาณ ความสมเหตุสมผล และความรอบคอบ

นโยบายประเทศไทย 4.0

ประเทศไทย 4.0 สะท้อนให้เห็นถึงการบูรณาการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยเน้นการออกแบบระบบเศรษฐกิจฐานคุณค่าโดยการเทคโนโลยีใหม่ๆ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการนำพาประเทศไทยออกจากกับดักรายได้ปานกลางและผลักดันประเทศไทยเข้าสู่ประเทศที่มีช่วงรายได้สูง

นโยบายประเทศไทย 4.0 จะบรรลุผลได้โดยการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันของไทย 5 อุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรม “5 S-Curve แรก” ประกอบด้วยอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การแพทย์มูลค่าสูงและการท่องเที่ยวด้านสุขภาพ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และอาหาร นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริม 5 อุตสาหกรรมใหม่ หรือ “S-Curve ใหม่” ซึ่งรวมถึงหุ่นยนต์ การบินและโลจิสติกส์ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิทัลและศูนย์การแพทย์ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพที่จะประสบความสำเร็จ

ประเทศไทยจำเป็นต้องจัดการกับความเหลื่อมล้ำและความไม่สมดุลระหว่างสภาพแวดล้อมและสังคม เป้าหมายรวมของประเทศไทยก็เช่นเดียวกันกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน นโยบายประเทศไทย 4.0 เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการผลิตของประเทศให้กลายเป็นประเทศที่มีรายได้สูง ไปสู่เศรษฐกิจแบบที่ภาคส่วนต่างๆได้รับผลประโยชน์อย่างทั่วถึงและมุ่งเน้นการเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน นโยบายประเทศไทย 4.0 เป็นรูปแบบทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนการทำฟาร์มแบบดั้งเดิมสู่การทำฟาร์มแบบชาญฉลาด เปลี่ยนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแบบดั้งเดิมให้เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ชาญฉลาด เปลี่ยนการบริการต่างๆแบบดั้งเดิมไปสู่การบริการที่มีมูลค่าสูง และเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนา และอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

วิธีการดำเนินงานระดับชาติสำหรับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

รัฐบาลไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีกรรมการจำนวน 37 คน ซึ่งมาจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาสังคม โดยมี เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นเลขานุการ คณะกรรมการระดับชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกรอบนโยบายอื่น ๆ ได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนและองค์กรภาคประชาสังคมโดยยึดหลักความร่วมมือในการพัฒนา

อย่างไรก็ตามโครงสร้างการดำเนินงานยังคงมีผู้แทนจากองค์กรภาคประชาสังคมน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยมีจำนวนตัวแทนองค์กรภาคประชาสังคมเพียงจำนวน 4 คนจากสมาชิกทั้งหมด 38 คน ดังนั้นภาครัฐจึงกำหนดกระบวนการของการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคประชาสังคมและเนื้อหาของผลลัพธ์ทางวิชาการที่สำคัญ เช่น แผนการดำนเนินงานของแต่ละเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทำให้นำไปสู่การร้องเรียนว่าองค์กรภาคประชาสังคม/องค์กรพัฒนาเอกชนที่มีความสำคัญน้อยของรัฐบาลได้รับการเชิญให้เข้าร่วมในการวางแผนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในขณะที่กลุ่มผู้ที่มีความสำคัญมากหรือกำลังทำงานอยู่ในระดับรากหญ้าหรือในพื้นที่ห่างไกลกลับไม่ได้รับเชิญให้เข้ามีส่วนร่วม

ภาครัฐส่วนใหญ่ใช้งบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้กับหน่วยงานต่างๆเพื่อทำงานสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน กองทุนเหล่านี้เป็นรากฐานสำหรับแผนการดำเนินงานแบบบูรณาการของรัฐบาลตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12

รัฐบาลได้สร้างโครงสร้างสำหรับการประสานงานระหว่างหน่วยงานในความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เมื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายและตัวชี้วัดต้องมีการประสานกันระหว่างหน่วยงานอย่างน้อย 2 หน่วยงาน และงานนี้ถือว่าเป็นประเด็นที่สำคัญตามนโยบายการพัฒนาที่สำคัญ นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ นโยบายสำคัญอื่น ๆ ของรัฐบาลและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หน่วยงานต่างๆสามารถของบประมาณแบบบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์จากงบประมาณกลางซึ่งเป็นโอกาสสำหรับการการดำเนินการในการเชื่อมโยงกัน ประสานกันและสนับสนุนในลักษณะที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่าและไม่ซ้ำซ้อน อย่างไรก็ตามหลักฐานที่แสดงว่ากระบวนการนี้กำลังเกิดขึ้นจริงเป็นประจำมีน้อย

ในปี พ.ศ. 2560- 2561 คณะรัฐมนตรีได้จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นใหม่อีก 3 คณะ:

  • คณะกรรมการดำเนินการของนโยบายของรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งวาระการปฏิรูปประเทศและการดำเนินการเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับท้องถิ่น โดยมีนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการ
  • คณะกรรมการเสริมสร้างขีดความสามารถของชุมชนในท้องถิ่นโดยมีนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ
  • คณะกรรมการโครงการยั่งยืนไทยเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจระดับรากหญ้า โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการ คณะกรรมการนี้จัดตั้งขั้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561

ชุมชนท้องถิ่นและองค์กรภาคประชาสังคมจะมีช่องทางมากขึ้นในการทำงานร่วมกับภาครัฐและจะสามารถจัดการกับวาระของท้องถิ่นได้

เมื่อเดือนมกราคม 2561 กระทรวงการต่างประเทศซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาได้ริเริ่มแผนงานแบบเปิดซึ่งมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาการจำกัดจำนวนของผู้แทนจากองค์กรภาคประชาสังคมในคณะกรรมการอย่างเป็นทางการและเพื่อสร้างการเจรจาให้มากขึ้นระหว่างหน่วยงานภาครัฐและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ

เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ตั้งแต่ปี พ ศ. 2560 รัฐบาลได้ใช้แนวทางความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยได้ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดจิ๋วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบทโดยได้ร่วมมือกับบริษัทขนาดใหญ่ใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ บริษัทเอกชนมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดความเชี่ยวชาญทางธุรกิจไปยังกลุ่มวิสาหกิจในท้องถิ่นจำนวน 1,200 แห่ง ความเชี่ยวชาญที่แบ่งปันกันครอบคลุมจำนวน 5 ด้านคือประสิทธิภาพทางธุรกิจ การสร้างความหลากหลาย การสร้างตราสินค้า การขายและการจัดจำหน่าย และความเป็นมืออาชีพทางธุรกิจ

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ได้มีการเปิดตัวนโยบายหนึ่งเพื่อปรับปรุงวิถีชีวิตของคนยากจน ความพอเพียงและประชาธิปไตย โดยเรียกโครงการนี้เรียกว่าโครงการไทยนิยมยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ 83,151 หมู่บ้าน/ชุมชน นโยบายเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะส่งเสริมบทบาทขององค์กรชุมชนท้องถิ่นและองค์กรภาคประชาสังคมและสร้างผลประโยชน์ให้กับพวกเขา หากนโยบายเหล่านี้บรรลุเป้าหมาย ขั้นตอนต่อไปคือจะบูรณาการนโยบายและโครงการเฉพาะเหล่านี้ไว้ในแผนงานและยุทธศาสตร์การพัฒนาประจำปีอย่างไร

บริษัทของไทยหลายแห่งยังได้ริเริ่มโครงการของตนเองในการร่วมทำงานสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัทส่วนใหญ่ต้องทบทวนกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของตนเองและหยุดกิจกรรมที่ดูเหมือนจะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย พวกเขาต้องค้นหาวิธีการเพื่อให้บรรลุการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของ 17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภาคเอกชนสามารถช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ รวมถึงเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม บางบริษัทหันมาปรับกระบวนการผลิตหรือเน้นธุรกิจหลักของตนเองเพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งเพื่อประโยชน์ของตนเองและความมั่งคั่งและความยั่งยืนของประเทศไทย

การติดตามและประเมินผล

แผนงานของรัฐบาลไทยเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

  • ส่วนยุทธศาสตร์จะดำเนินการเกี่ยวกับแนวทางในการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายระดับชาติ
  • ส่วนโครงการจะครอบคลุมแผนปฏิบัติการการดำเนินงานที่มีกรอบเวลา
  • ส่วนการติดตามสามารถประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดการดำเนินงานหลักของสหประชาชาติและตัวชี้วัดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่องค์กรต่างๆได้พัฒนาหรือกำลังพัฒนาในการประเมินผลของประเทศไทย และแสดงให้เห็นว่าจำเป็นต้องดำเนินการอะไรต่อหรือไม่เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการบรรลุ 17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

รัฐบาลกล่าวว่าเชื่อว่าการทบทวนการดำเนินการตามวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2573 ไม่ได้เป็นเพียงขั้นตอนการรายงานหรือโอกาสในการแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดีและความท้าทายระหว่างประเทศ แต่เป็นโอกาสสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์และแผนงาน ตลอดจนสร้างความตระหนักและสร้างความเข้าใจในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษาและชุมชน

ในระยะเริ่มแรกของการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี พ.ศ. 2573 การทบทวนโดยสมัครใจระดับชาติเป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับประเทศไทยในการติดตามความก้าวหน้าในความพยายามเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และช่วยประเทศด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งในความพยายามในการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสร้างความตระหนักรู้ของสาธารณชนและสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากหลายภาคส่วนของสังคมไทยเพื่อการบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

คณะทำงาน การทบทวนโดยสมัครใจระดับชาติ ประกอบด้วยหน่วยงานหลักต่างๆที่ทำงานเพื่อให้บรรลุ 17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติกำลังเร่งดำเนินการโดยใช้สถิติอย่างเป็นทางการของประเทศให้เป็นฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ การรวบรวมและการพัฒนาข้อมูลทางสถิติและตัวชี้วัดเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางสถิติของหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ฐานข้อมูลและตัวชี้วัดสำหรับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีความครอบคลุมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การทบทวนโดยสมัครใจระดับชาติ ถูกมองว่าเป็นเครื่องมือในทางปฏิบัติและเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการมีส่วนส่วนร่วมที่ควรได้รับการสนับสนุน

กระบวนการทบทวนโดยสมัครใจระดับชาติได้เสร็จสิ้นแล้ว จากรายงานการทบทวนโดยสมัครใจระดับชาติล่าสุดของปี พ.ศ. 2560 เวทีและคณะกรรมการต่างๆเหล่านี้ได้ให้พื้นที่สำหรับนักธุรกิจ นักวิชาการและองค์กรภาคประชาสังคมเพื่อให้มีส่วนร่วมกับรัฐบาลในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเปิดโอกาสให้มีการประสานงานกันระหว่างกลุ่มเหล่านี้ (รายงานการทบทวนโดยสมัครใจของประเทศไทย, 1-2) รัฐบาลได้ดำเนินการให้มีการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายรอบ การปรึกษาหรือกับหลายกลุ่ม เช่น เยาวชนและสมาชิกรัฐสภา

ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จของเวทีต่างๆเหล่านี้ในการให้คำปรึกษาอย่างเพียงพอกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆได้รับการผสมผสานกัน รัฐบาลไทยรายงานว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถมีส่วนร่วมตามบทบาทและความเชี่ยวชาญของตนได้ ในขณะที่รายงานของภาคประชาสังคมได้กล่าวว่าความพยายามเหล่านี้ไม่เพียงพอและไม่ได้ผล ภาคประชาสังคมบางกลุ่มแห่งได้วิจารณ์ว่าการหารือของรัฐบาลเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและแผนการดำเนินการของรัฐบาลถูกจำกัดอยู่ในเฉพาะกลุ่มชนชั้นนำและการมองอย่างแคบๆซึ่งส่งผลให้ “กลุ่มชนกลุ่มน้อยจำนวนมากและคนธรรมดา” ถูกมองข้าม

รายงานเงาที่มีต่อการทบทวนโดยสมัครใจของประเทศไทยรายงานว่าภาคประชาสังคมนอกจากไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในกระบวนการทบทวนโดยสมัครใจแห่งชาติแล้ว “การเป็นหุ้นส่วนกับภาคประชาสังคมในฐานะที่เป็นพันธมิตรที่เท่าเทียมกัน” ก็ยังไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามรายงานฉบับนี้ยังระบุด้วยว่าภาครัฐมีส่วนร่วมกับภาคเอกชน และรัฐบาลมีส่วนร่วมกับภาคประชาสังคมในความพยายามที่จะบรรลุบางเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ในปีพ. ศ. 2560 ประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ลำดับที่ 55 จาก 157 ประเทศในดัชนีที่จัดตั้งขึ้น “เพื่อช่วยให้ประเทศต่างๆสามารถตรวจสอบได้ว่าพวกเขายืนอยู่ที่จุดใดในเรื่องที่ปฏิบัติตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ประเทศไทยได้ลงทุนอย่างมากในการลดความยากจน (เป้าหมายที่ 1) และทำให้มั่นใจได้ว่ามีการการเข้าถึงน้ำสะอาดและสุขาภิบาล (เป้าหมายที่ 6) อย่างไรก็ตามยังมีความจำเป็นต้องดำเนินการอย่างมุ่งมั่นและการมีส่วนร่วมให้มากขึ้นสำหรับประเทศไทยที่จะบรรลุความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญในทุกเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf