2.mainboard ม แบบไหนบ าง บอกมาอย างน อย 3 ชน ด

ปัจจุบันเมนบอร์ดเมนบอร์ดในตลาดมีตัวเลือกมากมาย แต่เคยสงสัยมั้ยครับว่า เมนบอร์ดถูก Vs เมนบอร์ดแพงได้อย่างไร ทั้งที่ชิปเซ็ตเดียวกัน รุ่นเดียวกัน แต่กลับมีให้เลือกทั้งราคาประหยัด และแบบที่สูงลิบลิ่ว ซึ่งบางครั้งทำเอาคนซื้อเลือกไม่ถูก เพราะไม่รู้ว่าควรจะเพิ่มเงินซื้อเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซ็ตพื้นฐาน แต่ฟีเจอร์ดีๆ หรือจะใช้เมนบอร์ดที่มีชิปเซ็ตดีๆ ตัวท็อปๆ แต่เป็นซีรีส์ธรรมดา และในแต่ละส่วนต่างกันอย่างไร โดยเฉพาะเกมเมอร์ที่กำลังจะประกอบคอมใหม่ หรือจะเลือกอัพเกรดเมนบอร์ด และซีพียูใหม่ สรุปแล้วเมนบอร์ดถูกหรือแพง ต่างกันอย่างไร วันนี้เรามาไขข้อข้องใจกันครับ

เมนบอร์ดถูก vs เมนบอร์ดแพง 2021

ชิปเซ็ต (Chipset)

เรียกว่าเป็นหัวใจหลักของเมนบอร์ด และเป็นจุดที่สร้างความแตกต่างของราคา เมนบอร์ดถูก Vs เมนบอร์ดแพงได้อย่างชัดเจน เพราะเมนบอร์ด แต่ละซ็อกเก็ต แต่ละซีรีส์ ก็มีฟังก์ชั่นการสนับสนุนที่ลดหลั่นกันไป ตามระดับขั้น ซึ่งแบ่งออกตามรูปแบบการใช้งานของผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้เมนบอร์ดชิปเซ็ต Intel ที่ต้องการปรับแต่ง โอเวอร์คล็อกได้ และรองรับอุปกรณ์ความเร็วสูง ก็อาจจะต้องเลือก ชิปเซ็ตรุ่นใหญ่ ที่มีศักยภาพสูง เช่น Z490, Z590 เป็นต้น ส่วนถ้าใช้ทำงาน การเล่นเกม ก็จะมีตัวเลือกอย่าง H570 หรือ B560 เป็นต้น ส่วนถ้าใช้งานในชีวิตประจำวัน ก็มีตัวเลือกอย่าง H410 หรือ H510 นั่นเอง ส่วนความแตกต่างของชิปเซ็ตในแต่ละแบบนั้น สามารถดูได้จากตารางและภาพด้านล่างนี้

จะเห็นได้ว่าชิปเซ็ตก็เป็นตัวแปรหลัก ที่จะทำให้เกิดเมนบอร์ดถูก Vs เมนบอร์ดแพงอยู่ด้วย แต่ในบางกรณีจะเห็นได้ว่า เมนบอร์ดบางรุ่น ที่ใช้ชิปเซ็ตรุ่นรอง เช่น ASRock H570 STEEL LEGEND ราคา 4,790 บาท แม้จะเป็นชิปเซ็ตรุ่นรอง แต่ราคากลับสูงกว่า ASRock Z590M PHANOMN GAMING 4 ที่เป็นชิปเซ็ตตัวท็อปที่ราคา 4,490 บาท ซึ่งก็จะมีเรื่องของปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดส่วนต่างในด้านของราคาด้วยเช่นกัน ตามหัวข้อต่างๆ ต่อไปนี้

การออกแบบ และความสวยงาม (Design)

สังเกตมั้ยครับว่าเมนบอร์ดราคาถูกหรือในซีรีส์ประหยัด มักจะดูโล่งๆ ไม่ค่อยมีความหวือหวา เมื่อเทียบกับเมนบอร์ดตัวแรงๆ ซีรีส์ท็อปๆ แม้จะใช้ชิปเซ็ตเดียวกันก็ตาม นั่นก็เพราะเป็นการสร้างสรรค์ของผู้จำหน่ายในการแยกซีรีส์ออกมาอย่างชัดเจน โดยเน้นเรื่องฟีเจอร์ที่มาเสริมการทำงานเป็นหลัก แต่ก็ได้ความสวยงามเพิ่มเติมเข้ามาเป็นส่วนเสริม เนื่องจากองค์ประกอบบางอย่าง มีก็ได้หรือไม่มีก็ได้ แต่พอใส่มาแล้ว ก็ทำให้เมนบอร์ดดูแพงขึ้นมาทันที สิ่งที่ว่ามานี้ ตัวอย่างเช่น

Armor และชุดครอบ Back I/O ที่เรามักสังเกตเห็นได้ง่ายที่สุดบนเมนบอร์ด ทำหน้าที่ในการเพิ่มความแข็งแรง และสวยงามให้กับ I/O หรือพอร์ตต่อพ่วงด้านหลัง บางรุ่นมาในขนาดที่ใหญ่ ดีไซน์ทันสมัย บางรุ่นเพิ่มฟีเจอร์แสงไฟ RGB สวยงาม ปรับแต่งผ่านซอฟต์แวร์ได้อีกด้วย ซึ่งเมนบอร์ดรุ่นถูกหรือประหยัด แทบจะไม่มีให้เห็นมากนัก อย่างดีก็จะเป็นฮีตซิงก์เล็กๆ ที่ใช้ระบายความร้อนให้กับภาคจ่ายไฟบริเวณรอบๆ ซ็อกเก็ตเมนบอร์ดเท่านั้น แต่เมนบอร์ดถูก Vs เมนบอร์ดแพง ตรงจุดนี้ก็มีส่วนไม่น้อยเลย

เมนบอร์ดที่มีราคาแพง มักจะใส่ Armor เหล่านี้ และเสริมลูกเล่นให้ดูหรูหรามากขึ้น ยิ่งเมนบอร์ดที่เรียกว่าเป็นระดับไฮเอนด์หรือพรีเมียม ก็จะใส่ในจุดอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย ไม่ว่าจะเป็น บนบอดี้ของเมนบอร์ด บางรุ่นแทบจะมีเพียงสล็อต PCIe ที่โผล่ขึ้นมาให้เห็นเท่านั้น ส่วนอื่นๆ ก็จะถูกปกปิดไปด้วย Armor ทั้งหมด เช่น ASUS ROG Maximus XIII Extreme หรือ ASRock Z590 Taichi และ X570s AORUS MASTER เป็นต้น

ซึ่งในเมนบอร์ดที่ราคาแพงหลายๆ รุ่น ก็มักจะใส่ความพิเศษลงไปใน Armor เหล่านี้ เช่น การทำเป็นครอบฮีตซิงก์ และมีฮีตไปป์มาในตัว ปรับเปลี่ยน ถอดสลับได้ตามความต้องการ หรือบางรุ่นก็มีพัดลมติดตั้งมาให้ เพื่อช่วยในการระบายความร้อนให้กับภาคจ่ายไฟ รวมไปถึงรุ่นที่มีแสงไฟ RGB มาในตัว และปรับแต่ง เพื่อให้สอดคล้องกับอุปกรณ์อื่นๆ ภายในเคส ด้วยการซิงก์ร่วมกับซอฟต์แวร์เฉพาะของเมนบอร์ดนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็น MSI Mystic Light, ASRock POLYCHROME, ASUS AURA Sync, GIGABYTE RGB FUSION ก็ตาม

และที่เริ่มเห็นความแตกต่างเมนบอร์ดถูก Vs เมนบอร์ดแพงมากขึ้นก็คือ การใส่ Armor หรือครอบโลหะมาบนสล็อต PCI-Express ที่เรามักจะเห็นกันบ่อยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ และแยกกับเมนบอร์ดรุ่นประหยัดได้อย่างชัดเจน เมนบอร์ดรุ่นกลางๆ อย่างน้อยจะต้องมี Armor แบบนี้อย่างน้อย 1 สล็อต แต่ถ้าเป็นเมนบอร์ดระดับไฮเอนด์เรียกว่าใส่มาเกือบทุกสล็อต ที่เป็น PCI-Express X16 โดยที่การครอบโลหะแบบนี้มา ไม่เพียงแค่เรื่องความสวยงาม แต่จุดประสงค์หลักคือ การเพิ่มความแข็งแรงให้กับตัวสล็อต เพื่อให้รองรับการ์ดจอขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากได้ดียิ่งขึ้น ไม่ได้แค่ครอบสล็อตเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่ยังเพิ่มจุดยึดและตัวล็อคให้แข็งแรงกว่าเดิม ทำให้การเชื่อมต่อสัญญาณเป็นไปอย่างราบรื่น และไม่ทำให้สล็อตเสียหายจากแรงกระทำของการ์ดใหญ่ๆ นั่นเอง ฉะนั้นคนที่ซื้อการ์ดจอแพงๆ ก็อาจจะต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วยเช่นกัน

ชุดระบายความร้อนด้วยน้ำ ROG Maximus XIII Extreme เป็นเมนบอร์ดซ็อกเก็ต LGA1200 ที่มาพร้อมชิปเซ็ต Z590 ถ้าสังเกตดีๆ คือ แทบจะไม่เห็นพื้นที่ที่เป็น PCB ของเมนบอร์ด เพราะถูกคลุมไปด้วย Armor ที่เป็น Thermal Design ไม่ว่าจะเป็นฮีตซิงก์สำหรับ M.2 module หรือจะเป็นชิปเซ็ต แต่ที่สำคัญคือ ติดตั้งบล็อคน้ำมาในตัว สำหรับระบายความร้อนให้กับซีพียู VRM, Chipset, Capacitor และจุดอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเป็นการอัพเลเวลให้กับตัว Armor ที่ไม่ได้เป็นเพียงชุดที่ครอบให้ดูสวยงาม หรือระบายความร้อนทั่วไป แต่อยู่ในระดับ Liquid Cooling

แต่ถ้าถามว่าเมนบอร์ดรูปแบบนี้เหมาะกับใคร คำตอบอาจจะดูกว้าง เพราะเหมาะกับใครก็ได้ ที่ต้องการพีซีที่มีความสวยงาม การระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพ เสียงรบกวนต่ำ ให้เสถียรภาพในการทำงานที่มั่นใจได้ แม้จะเจอกับโหลดหนักๆ ในแต่ละวัน เช่น การเล่นเกมต่อเนื่อง การทำงานเฉพาะทาง หรือกลุ่มคนที่ Geek หรือ enthusiast คลั่งไคล้ในความสมบูรณ์แบบ รวมถึงต้องมีกำลังทรัพย์มากพอ เพราะสนนราคาบางรุ่นสูงถึงหลายหมื่นบาทเลยทีเดียว

นอกจากนี้เมนบอร์ดถูก Vs เมนบอร์ดแพง ก็ยังมีเรื่องของดีไซน์เมนบอร์ด ให้ดูสวยงามแปลกตา เมื่อเทียบกับรุ่นธรรมดา ซึ่งอาจไม่ได้เป็นโทนสีดำธรรมดาๆ ทั่วไป แต่ยังเพิ่มลวดลาย หรือบางรุ่นอาจจะเป็นสีขาวโดดๆ ในแบบ Limited Edition ทำมาในโอกาส Anniversary หรือเป็นรุ่นฉลองครบรอบใดๆ ก็ตามแต่ ราคาก้จะสูงตามไปด้วยเช่นกัน แต่ปัจจุบันหาได้ยากแล้ว เพราะจะใส่ความเป็นโทนสีบนสิ่งที่ปกคลุมบนเมนบอร์ดมากกว่า เช่น NZXT Z590 White เป็นต้น สนนราคาอยู่ที่ราว 8,990 บาท

ประสิทธิภาพ (Performance)

เพื่อให้รองรับซีพียูตัวท็อปๆ ความเร็วสูงได้ดียิ่งขึ้น ในการที่จะให้การจ่ายไฟได้มากพอ และมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของ Vcore หรือ PWM, CPU และ iGPU ก็ต้องมีเฟสไฟที่มากพอ ซึ่งส่วนใหญ่จะมองกันที่ Phase ยิ่งมาก ก็ยิ่งดี เช่น เมนบอร์ดตัวท็อปๆ บางรุ่นก็มีพร้อม 10+2 phase หรือ 14+2 phase แต่ที่แรงๆ ราคาระดับหมื่นบาท บางทีก็มีถึง 18+2 phase ก็เป็นผลดีทั้งคนที่ใช้ซีพียูพลังแรง รวมถึงนักโอเวอร์คล็อก และเกมเมอร์ ที่มักจะรีดเร้นความสามารถของซีพียูไปให้สุดทาง

แต่อย่างไรก็ดีการมี Power Phase เยอะแบบนี้ ก็ทำให้ราคาเมนบอร์ดสูงตามไปด้วย ซึ่งจะต่างจากเมนบอร์ดราคาถูก ที่ผู้ใช้ ไม่ได้เน้นความแรงและการโอเวอร์คล็อก หรือใช้ซีพียูตัวเทพๆ ในการทำงาน ภาคจ่ายไฟก็จะมีมาเพียง 4+1 phase หรือ 6 phase สำหรับเมนบอร์ดรุ่นประหยัด หรืออาจมีถึง 8 phase ในเมนบอร์ดระดับกลางๆ

นอกจากนี้เมนบอร์ดถูก Vs เมนบอร์ดแพง ยังมีเรื่องของคุณภาพ Power Choke ที่เกี่ยวข้องกับกระแสไฟ และแรงดันไฟของซีพียู ก็มีส่วนทำให้เมนบอร์ดราคาสูงขึ้นได้ เพราะเรามักจะได้เห็น Choke คุณภาพสูงเหล่านี้ในเมนบอร์ดระดับไฮเอนด์ หรืออย่างน้อยใน Gaming และ Pro series เป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับ Capacitor หรือตัวเก็บประจุ ซึ่งมีอยู่มากมายบนเมนบอร์ด ทำหน้าที่ในการจัดการไฟ ของชิ้นส่วนต่างๆ ให้ทำงานได้ตามปกติ ซึ่งก็จะมีคาปาซิเตอร์หลายระดับ หลากคุณภาพ โดย Capacitor รุ่นใหม่ๆ ทำออกมาได้ดี คุณภาพสูง และความร้อนน้อยลง และมีความทนทานกว่าคาปาทั่วไปหลายเท่า ซึ่งนั่นก็ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

เช่น Nichicon 12K Black Cap หรือ 10K Black cap ซึ่งจะเป็นตัวที่บ่งบอกอายุการทำงานเป็นชั่วโมง เช่น 10,000Hrs. หรือ 20,000Hrs ตามเงื่อนไขของแต่ละค่าย แต่ส่วนใหญ่จะเป็นตัวเลขจากการทดสอบแบบ 24/7 ซึ่งโดยปกติ ตัวเลขระดับหมื่นชั่วโมง ผู้ใช้ทั่วไป ก็แทบจะไม่มีใครเปิดใช้งานทั้งวันทั้งคืนกันขนาดนั้น จึงค่อนข้างมั่นใจได้ว่า มีความทนทานค่อนข้างสูงสำหรับ Capacitor รุ่นใหม่ๆ แต่สำหรับเมนบอร์ดทั่วไป ราคาอาจจะไม่ได้สูงมาก และใช้งานในชีวิตประจำวัน ไม่ได้โหลดหนักๆ ก็ไม่จำเป็นมากนัก

ฟังก์ชั่น (Functional)

เรื่องของฟังก์ชั่น เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้เมนบอร์ด ต้องลังเลในการเลือกซื้อเมนบอร์ดถูก Vs เมนบอร์ดแพงอยู่พอสมควร เพราะลูกเล่นบางอย่าง ก็ช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้น แต่บางอย่างก็อาจจะออกแบบมาเฉพาะผู้ใช้บางกลุ่ม หรือบางคนก็มองว่า ลงทุนเพิ่มอีกหน่อย แต่ได้ความพิเศษเพิ่มขึ้นมา ก็ดูน่าสนใจ แต่บางคนก็มองว่าไม่จำเป็นต้องจ่ายเพิ่มขนาดนั้น เพื่อของที่ไม่ได้ใช้งาน เรียกว่านานาจิตตังกันไป แล้วแต่ความสะดวกในการใช้งานของแต่ละบุคคล ฟังก์ชั่นที่มักพบเห็นกันบ่อยก็ได้แก่

ปุ่ม/สวิทช์ Power On/ Off บนเมนบอร์ด, Reset เรียกว่าเป็นออพชั่นเสริม แต่ช่วยในด้านการปรับแต่ง OC ได้ดี และมักอยู่ในเมนบอร์ดระดับกลางๆ ไปจนถึงตัวท็อป แต่ก็ต้องอยู่ที่ชิปเซ็ตด้วยว่า รองรับการโอเวอร์คล็อกหรือไม่ ดังนั้นเมนบอร์ดแพงๆ ก็มักจะมีให้เห็น จะลูกเล่นมากน้อย ก็ขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดนั้นๆ เช่น บางรุ่นอาจจะมีแค่ Power switch, Reset และ Clear CMOS แต่บางรุ่นก็จะมีปุ่ม OC และปุ่มที่ใช้กำหนดค่าบางอย่าง เช่น แรงดันไฟ ให้ตายตัว เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการปรับแต่ง และบางรุ่นปุ่มให้ใช้งานทั้งบนเมนบอร์ด และ Back I/O อีกด้วย ซึ่งถ้าเป็นเมนบอร์ดราคาถูก แทบจะไม่มีให้ใช้ได้เลย ปรับ BIOS เป็นหลัก รองมาคือ ซอฟต์แวร์ (ถ้ามีให้)

LED Debug เพิ่มช่องทางในการตรวจสอบระบบได้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหา ในการติดตั้ง หรือประกอบคอมใหม่ ยิ่งทุกวันนี้เมนบอร์ด ไม่มีลำโพงออนบอร์ดมาให้แล้ว จะฟังเสียง ติ๊ดๆ เพื่อเช็คอาการก็ลำบาก การมีไฟ LED มาให้โดยเฉพาะรุ่นที่บอกเป็นรหัสตัวเลข แล้วเอาไปเทียบกับคู่มือ ก็ยังหาไม่ได้ง่ายๆ ซึ่งเมนบอร์ดราคาสูงๆ มักจะยังพอมีมาให้ในบางรุ่น แต่เมนบอร์ดรุ่นกลาง และประหยัดแทบไม่มีเลย แต่บางคนอาจมองว่า ปัจจุบันปัญหาที่เกิดขึ้น เริ่มลดน้อยลงไป เมนบอร์ดหาง่าย หรือพอจะหาข้อมูลจากเว็บไซต์ ยูทูป หรือช่องทางอื่นๆ ได้ ของแบบนี้อาจไม่ได้จำเป็นมากนัก แต่มีไว้ก็ดี!

Connector Fan และ Water pump อย่าทำเป็นมองข้ามไปนะครับ สำหรับข้อนี้ โดยเฉพาะคนที่กลัวคอมร้อน แล้วมีแผนจะติดตั้งพัดลมจำนวนมาก หรือใส่ชุดน้ำเพิ่มเติมเข้าไป เพราะถ้าคุณเลือกเมนบอร์ดแบบประหยัด คอนเน็คเตอร์แบบ 3-pins หรือ 4-pins สำหรับพัดลมก็จะน้อยไปด้วย ส่วนใหญ่จะมีประมาณ 2-3 จุดเท่านั้น ซึ่งถ้าคุณวางแผนยาวๆ จะอัพเกรดชุดระบายความร้อนเพิ่มขึ้นแล้ว ก็อาจจะต้องเพิ่มงบประมาณแล้วขยับรุ่นสูงขึ้นอีกหน่อย เพราะนอกจากจะมีให้ต่อพัดลมเพิ่มได้เยอะขึ้นแล้ว ยังมีสำหรับต่อปั้มน้ำ สำหรับ Liquid Cooling ที่ใช้แรงดันไฟเยอะกว่าปกติอีกด้วย

Port connector ถ้าคุณซีเรียสกับพอร์ตต่อพ่วงอุปกรณ์ หรือจำเป็นต้องใช้งานอุปกรณ์เพิ่มเติม การลงทุนกับเมนบอร์ดแพงหรือราคาสูงสักหน่อย ก็จะมีทางเลือกให้คุณได้ใช้เยอะขึ้น โดยเฉพาะพอร์ตรุ่นใหม่ๆ เช่น Thunderbolt หรือ USB Type-C หรือ PD เป็นต้น เพราะนอกจากจะมี Back I/O เยอะเป็นพื้นฐานแล้ว ยังมีตคอนเน็คเตอร์บนเมนบอร์ด เพื่อการเพิ่มเติมในภายหลังได้อีกด้วย แต่เชื่อเถอะว่าแม้ในปัจจุบันจะมีการเชื่อมต่อไร้สายเป็นหลัก แต่อย่าลืมว่าอุปกรณ์ที่เป็นไร้สาย ส่วนใหญ่ก็ต้องต่อ Receiver หรือตัวรับสัญญาณเข้ากับพอร์ต USB เหมือนเดิม

การเชื่อมต่อเครือข่าย เมนบอร์ดราคาถูก มักจะมาพร้อมการรองรับเครือข่ายพื้นฐาน อย่าง RJ-45 Gigabit LAN แต่ถ้าคุณอยากได้ช่องทางการเชื่อมต่ออื่นๆ เช่น WiFi ก็อาจจะต้องมองหา USB WiFi หรือการ์ด Expansion มาต่อเข้ากับเมนบอร์ด แต่ถ้าต้องการลดการประกอบหรือใช้งานแบบยุ่งยาก การเลือกเมนบอร์ดรุ่นกลางๆ ขึ้นไป หลายรุ่นก็มาพร้อมการเชื่อมต่อ WiFi ได้แล้ว แต่สิ่งที่น่าสนใจอยู่ที่ความสามารถในการเชื่อมต่อของเมนบอร์ดราคาแพง มักจะให้ความพิเศษ ในแง่การเชื่อมต่อที่รวดเร็วและยืดหยุ่นต่อการใช้งานมากกว่า เช่น การเชื่อมต่อเครือข่าย 2.5G LAN บางรุ่นมี RJ-45 ให้อีก 2 ช่อง สำหรับจัดการช่องทางสัญญาณเข้า-ออก และใช้ทำ Load Balanced และอื่นๆ ได้อีกด้วย รวมถึงมีซอฟต์แวร์ในการปรับแต่งช่องสัญญาณ เพื่อให้เหมาะกับความต้องการ เช่น แบ่งช่องทางสำหรับเล่นเกมเยอะสุด แยกส่วนของการโหลดไฟล์มัลติมีเดีย หรือกำหนดค่าต่างๆ เพื่อไม่ให้รบกวนการเล่นเกมของคุณได้อีกด้วย

ออพชั่นและของที่บันเดิลพิเศษ ที่มักพบในเมนบอร์ดราคาแพง

  • VGA Holder ตัวยึดการ์ดจอเพิ่ม
  • WiFi Antenna เสาสัญญาณ WiFi ต่อภายนอก
  • Bracket สำหรับ
  • M.2 DIMM.2 สำหรับ SSD
  • Back I/O ขยับเลื่อนได้

การปรับแต่ง (Customization)

การปรับแต่งเป็นสิ่งที่อยู่คู่เมนบอร์ดและผู้ใช้พีซีมาช้านาน ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องของการโอเวอร์คล็อกนั้น แต่ยังรวมถึงการปรับแต่งอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันผู้ผลิตเมนบอร์ดส่วนใหญ่ ออกแบบไบออสมาได้ดี ใช้งานง่ายขึ้น และอินเทอร์เฟสดูเป็นมิตรกับผู้ใช้ แต่ความต่างของเมนบอร์ดถูก Vs เมนบอร์ดแพง นั้นอยู่ที่ลูกเล่นการปรับแต่งภายใน ว่าสามารถทำได้ละเอียดมากน้อยเพียงใด หรือให้ฟังก์ชั่นที่เสริมการทำงานมาได้ดีแค่ไหน

BIOS ตรงนี้ถ้าใครไม่ได้สนใจเรื่องการปรับแต่ง OC ก็อาจจะมองผ่านได้เลย เพราะถ้าจะเน้นหนักไปที่การปรับแต่งงานโอเวอร์คล็อกก็ต้องมาเป็นอันดับต้นๆ การมีฟีเจอร์ที่ช่วยให้ปรับได้ง่าย มีรายละเอียดที่ดี และมีความเสถียร ปรับได้ละเอียด ทั้งเรื่องของบัส แรงดันไฟ ซีพียู แรม และสิ่งอื่นๆ รวมถึงบางรุ่นก็ยังมีโพรไฟล์ ก็จะช่วยให้คุณโอเวอร์คล็อกได้แบบมืออาชีพมากขึ้นนั่นเอง

นอกจากการปรับแต่ง BIOS แล้ว เมนบอร์ดที่พรีเมียม ในซีรีส์ระดับไฮเอนด์ ก็มักจะมาพร้อมกับซอฟต์แวร์ ยูทิลิตี้ ในการควบคุมและปรับแต่ง OC ได้ รุ่นท็อปๆ จะได้ในเรื่องฟังก์ชั่นการปรับแต่งที่ดีกว่า เพราะคุณไม่ต้องไปวุ่นวายกับการเข้าไปในไบออส แต่ใช้ปรับผ่านซอฟต์แวร์ และเก็บเป็นโพรไฟล์ รวมถึงมอนิเตอร์ เช็คอุณหภูมิ แรงดันไฟ รวมถึงค่าต่างๆ ได้ในแบบเรียลไทม์ โดยปกติเมนบอร์ดรุ่นประหยัดก็มีให้ แต่ด้วยฟีเจอร์ที่น้อยกว่า จึงอาจจะใช้ได้แค่เพียงบางส่วนเท่านั้น แต่ถ้าคุณมองว่าไม่ได้สนใจในจุดนี้มากนัก เมนบอร์ดทั่วไป ก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว

แสงไฟ RGB น่าจะเป็นเทรนด์ที่มักจะพูดคุยกันว่า จะให้ถูก พรบ.จัดโต๊ะคอมหรือแต่งคอมพ์ ต้องมีติดเคสไว้ แต่สำหรับเมนบอร์ดพื้นฐานทั่วไป อาจจะไม่มีมาให้บนเมนบอร์ด อย่างดีอาจจะเป็นแค่คอนเน็คเตอร์ RGB หรือ ARGB มาให้ คุณต้องไปหาพัดลม หรือ LED Strip มาต่อเพิ่มในภายหลัง แต่ถ้าเมนบอร์ดแพงๆ จะจัดมาให้หลายจุด ไม่ว่าจะเป็น Armor, ด้านใต้เมนบอร์ด ชิปเซ็ตหรือจุดอื่นๆ และคอนเน็คเตอร์อีกอย่างน้อย 2-4 จุด เพื่อให้ติดตั้งเพิ่มเติมได้อย่างสนุกสนาน และที่สำคัญยังปรับแต่งได้ผ่านทางซอฟต์แวร์ประจำเมนบอร์ดอีกด้วย

การอัพเกรด (Upgrade)

เมนบอร์ดราคาถูก มักจะมีพอร์ต สล็อตและคอนเน็คเตอร์ให้เพียงพอสำหรับการใช้งานโดยพื้นฐาน และถ้าเป็นรุ่นประหยัด ก็จะมีบางอย่างที่เป็นข้อจำกัดของชิปเซ็ต และความเหมาะสม ต่างจากเมนบอร์ดราคาแพง ที่มักจะให้มาแบบเผื่อเหลือเผื่อขาดกันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น สล็อต พอร์ตหรือคอนเน็คเตอร์ต่างๆ เช่น

สล็อตแรม (DIMM) เมนบอร์ดราคาถูกหรือรุ่นประหยัด ชิปเซ็ตเริ่มต้น มักมีมาให้เพียง 2 สล็อตเท่านั้น ในขณะที่เมนบอร์ดแพง ส่วนใหญ่ให้มาถึง 4 สล็อต ยกเว้นเมนบอร์ดในแบบ Mini-ITX

สล็อต PCI-Express เมนบอร์ดพื้นฐาน อาจมีมาให้เพียง 2-3 สล็อตหลัก เช่น PCIe x16 และ x1 เท่านั้น แต่ถ้าเมนบอร์ดแพงๆ อย่างน้อยจะมีให้ถึง 4 สล็อต แบ่งเป็น PCIe x16, x8, x8 และ x1 หรือบางรุ่นให้มารวมกัน 6 สล็อตเลยทีเดียว

พอร์ตคอนเน็คเตอร์ ถ้าเป็นเมนบอร์ดแพง ก็มักจะให้มาแบบชุดใหญ่ไฟกระพริบ นอกเหนือจากพอร์ตพื้นฐานอย่าง USB หรือ VGA และ LAN ก็ยังมีพอร์ตพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติมเข้ามา เช่น USB Type-C, Thunderbolt หรือแม้กระทั่งพอร์ตแสดงผล HDMI หรือ DisplayPort เป็นต้น

Conclusion

เมนบอร์ดถูก Vs เมนบอร์ดแพง เลือกแบบไหนดี? ง่ายๆ เลยคือ ตั้งงบประมาณของคุณเอาไว้ บวกลบเผื่อนิดหน่อย จากนั้นเลือกจากชิปเซ็ตที่เหมาะสม มีทั้งประกอบคอมใช้งานทั่วไป ดูหนังฟังเพลง ซอฟต์แวร์สำนักงาน ชิปเซ็ตประหยัดรุ่นเลฺ็ก ก็เพียงพอต่อการใช้งาน แต่ถ้าใช้ทำงาน เน้นความบันเทิง เล่นเกมด้วย ชิปเซ็ตระดับกลาง ช่วยให้คุณขยับขยายได้ง่ายขึ้น และสามารถอัพเกรดเพิ่มได้ ใช้ร่วมกับซีพียู ได้หลากหลาย และถ้าชื่นชอบความพิเศษของฟีเจอร์ และฟังก์ชั่นในการปรับแต่ง โอเวอค์คล็อก ชิปเซ็ตตัวท็อป เป็นคำตอบของคุณ ส่วนเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น คอนเน็คเตอร์ และความสวยงาม สามารถหารุ่นที่เข้ากับคุณได้ไม่ยาก แต่ก็มีวิธีเลือกเมนบอร์ดแบบง่ายๆ มาแนะนำกันประมาณนี้ครับ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf