ม ดหมอหลวงป ด ป 2532 9.5น วช บน เก ล

ในปี พ.ศ. 2532 ได้เกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์ในอ่าวไทยบริเวณจังหวัดชุมพร กองทัพเรือได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ซึ่งทางกองทัพได้ใช้เรือและอากาศยานในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย แต่ประสบปัญหาคือ เรือขนาดใหญ่ที่สุดที่กองทัพเรือมีอยู่ขณะนั้นไม่สามารถทนสภาพทะเลได้ ทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยกระทำได้ด้วยความยากลำบาก การมีเรือขนาดใหญ่พร้อมอุปกรณ์ทันสมัยจะสามารถใช้ในการค้นหาและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเลได้อย่างรวดเร็วและทันการ และหากว่ามีเฮลิคอปเตอร์ประจำการบนเรือจะช่วยขยายพื้นที่ในการลาดตระเวนและระยะเวลาในการปฏิบัติการในทะเลได้เป็นเวลานานและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กองทัพเรือจึงได้มีแนวความคิดในการสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เพื่อให้สามารถบรรลุภารกิจตามความมุ่งหมาย

เดิมรัฐบาลไทยได้วางแผนจัดซื้อเรือบัญชาการสนับสนุนการยกพลขึ้นบก ขนาดระวาง 7,800 ตันจากบริษัทเบรเมอร์ วัลแคนของเยอรมนี แต่ได้ทำการยกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 และทำการจัดซื้อใหม่จากบริษัทบาซัน ประเทศสเปน ซึ่งเป็นผู้ออกแบบและต่อเรือปรินซีเปเดอัสตูเรียส เรือธงของกองทัพเรือสเปนในขณะนั้น คณะรัฐมนตรีของไทยได้มีมติเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2535 อนุมัติให้กองทัพเรือว่าจ้างสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล ลงนามโดยรัฐบาลไทยและรัฐบาลสเปนในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2535 เป็นเงิน 7,100 ล้านบาท

เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้เริ่มสร้างในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 และมีการวางกระดูกงูในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2539 โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จไปทำพิธี ได้มีการทดลองแล่นเรือตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2539-เดือนมกราคม พ.ศ. 2540 ร่วมกับกองทัพเรือสเปนที่โรต้า (Rota) ประเทศสเปน รับมอบเรือและขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540 โดยมีพลเรือเอก วิจิตร ชำนาญการณ์ เป็นผู้รับมอบ เรือได้รับหมายเลข 911 และเดินทางถึงประเทศไทยในต้นเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน เรือได้เข้าประจำการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2540 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จมาทรงเจิมเรือหลวงจักรีนฤเบศรเพื่อความเป็นสิริมงคล

กองทัพเรือได้ขอพระราชทานชื่อเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ลำนี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่กองทัพเรือและเป็นขวัญกำลังใจแก่กำลังพลประจำเรือ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเรือหลวงลำนี้ว่า เรือหลวงจักรีนฤเบศร แปลว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งราชวงศ์จักรี และใช้คำขวัญว่า ครองเวหา ครองนที จักรีนฤเบศร

เรือหลวงจักรีนฤเบศรขึ้นระวางประจำการสังกัดกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ โดยมีนาวาเอกสุรศักดิ์ พุ่มพวง เป็นผู้บังคับการเรือคนแรก ปัจจุบันมีนาวาเอกจรัญ วทัญญู เป็นผู้บังคับการเรือ

ลักษณะจำเพาะ

เรือหลวงจักรีนฤเบศรเป็นเรือบรรทุกอากาศยานขนาดเล็กที่สุดในโลก นำแบบแผนมาจากเรือ ปรินซีเปเดอัสตูเรียส ของกองทัพเรือสเปนซึ่งพัฒนามาจากแบบแผนเรือควบคุมทะเล (Sea Control Ship - SCS) ของกองทัพเรือสหรัฐ โดยลดระวางขับน้ำลง มีระวางขับน้ำเต็มที่ 11,544 ตัน มีความยาวตลอดลำ 182.6 เมตร ความยาวที่แนวน้ำ 164.1 เมตร ความกว้างกลางลำที่แนวน้ำ 22.5 เมตร ความกว้างดาดฟ้าบิน 30.5 เมตร ความสูงถึงดาดฟ้าบิน 18.5 เมตร ความสูงยอดเสา 42 เมตร และกินน้ำลึกเต็มที่ 6.2 เมตร ตัวเรือถึงฐานเรดาห์สร้างด้วยเหล็กเหนียว (Mild steel) พื้นดาดฟ้าบินสร้างด้วยเหล็กกล้าแรงดึงสูง (High Tensile Steel) และเสากระโดงเรือสร้างด้วยอะลูมิเนียมอัลลอยด์ กำลังพลประจำเรือประกอบด้วยนายทหาร 42 นาย พันจ่า 69 นาย จ่า 230 นาย พลทหาร 110 นาย และทหารประจำหน่วยบิน 146 นาย

เรือหลวงจักรีนฤเบศรขับเคลื่อนด้วยระบบเครื่องยนต์ผสมพลังงานดีเซลหรือแก๊ส (CODOG) แต่ละระบบเชื่อมต่อกับใบจักร 4 ใบ/พวงแบบปรับพิทช์ได้ ทั้งเครื่องยนต์ดีเซล Bazán-MTU 16V1163 TB83 ( 5,600 แรงม้าที่ความเร็วลาดตระเวน) และเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ GE LM2500 (22,125 แรงม้า ใช้เมื่อต้องการเร่งสู่ความเร็วสูงสุดในระยะเวลาสั้นๆ) มีจำนวนอย่างละ 2 เครื่องยนต์ เรือหลวงจักรีนฤเบศรมีความเร็วสูงสุด 27 นอต แม้ว่าเรือจะทำความเร็วได้ที่ 17.2 นอตเมื่อใช้เครื่องยนต์ดีเซลเพียงอย่างเดียว เรือมีระยะทำการ 10,000 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 12 นอตและ 7,150 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 16.5 นอต

อาวุธและอากาศยาน

เรือหลวงจักรีนฤเบศรติดตั้งอาวุธปืน 20 มม. จำนวน 4 แท่นยิง และอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันตนเองระยะประชิดชนิดพื้นสู่อากาศแบบแซดเรล (SADRAL) 3 แท่นยิง ใช้ลูกอาวุธปล่อยเป็นจรวดนำวิถีมิสทราล (Mistral) ซึ่งเป็นแบบนำวิถีเข้าสู่เป้าด้วยตนเองอาวุธปล่อยนำวิถีถูกติดตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งระบบปล่อยอาวุธทางดิ่ง Mark 41 แบบ 8 ท่อยิงสำหรับยิงจรวดซีสแปร์โรว (Sea Sparrow) และระบบป้องกันระยะประชิดฟารังซ์ (Phalanx) อีก 4 แท่นยิง

เมื่อเข้าประจำการ เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้รับเครื่องฮ็อคเกอร์-ซิดเดลี่ย์ แฮริเออร์ เอวี-8เอส (ที่นั่งเดี่ยว) และ ทีเอวี-8เอส (สองที่นั่ง) มือสองจากกองทัพเรือสเปนเข้าประจำการจำนวน 9 ลำ ปัจจุบันประสบปัญหาการดูแลรักษาและขาดแคลนอะไหล่ ปลดประจำการหมดแล้วทั้ง 9 ลำ และยังมีเฮลิคอปเตอร์ซี ฮอร์ก เอส-70บี จำนวน 6 เครื่อง เรือหลวงจักรีนฤเบศรมีความสามารถบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ 14 ลำ เช่น ไซคอร์สกี ซี คิง, ไซคอร์สกี เอส-76 และ ซีเอช-47 ชีนุก หรือเครื่องบินขึ้นลงทางดิ่ง 12 ลำ มีโรงเก็บขนาด 2,125 ตารางเมตรสามารถเก็บอากาศยานได้ 10 ลำ มีดาดฟ้าบินขนาด 174.6 กว้าง 27.5 เมตร และมีสถานีรับ-ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงและสถานีจ่ายกระแสไฟฟ้าไว้บริการแก่อากาศยานที่นำเครื่องจอดลงบนดาดฟ้า ซึ่งดาดฟ้าบินนี้สามารถรับ-ส่งเฮลิคอปเตอร์ได้ทุกประเภท โดยน้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุดระหว่าง 7,000-136,000 กิโลกรัม กรณีเป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่เช่น ชีนุก สามารถรับส่งได้ที่จุดรับ-ส่งที่ 4 เท่านั้น โดยการรับ-ส่งเฮลิคอปเตอร์นั้นสามารถรับ-ส่งได้ 5 เครื่องพร้อมกัน มีสกีจั๊ม 12° สำหรับให้เครื่องแฮริเออร์ขึ้นบิน มีลิฟท์สำหรับอากาศยาน 2 ตัวแต่ละตัวรับน้ำหนักได้ 20 ตัน และมีลิฟต์ลำเลียงสรรพาวุธอีก 2 ตัว

ระบบตรวจการและตอบโต้

ระบบตรวจการของเรือหลวงจักรีนฤเบศรประกอบไปด้วยเรดาร์อากาศ Hughes SPS-52C ย่านคลื่นความถี่ E/F และเรดาร์นำร่อง Kelvin-Hughes 1007 จำนวน 2 เครื่อง มีการเตรียมการที่จะติดตั้งเรดาร์ผิวน้ำ SPS-64 และโซนาร์ใต้ท้องเรือ แต่จนกระทั่งปี พ.ศ. 2551 ก็ยังไม่มีการติดตั้ง ส่วนควบคุมการยิงก็ยังไม่ได้ติดตั้งด้วยเช่นกัน

เรือยังติดตั้งเครื่องยิงเป้าลวง SBROC 4 เครื่องและเป้าลวงลากท้าย SLQ-32

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 Saab ได้รับเลือกเป็นผู้ปรับปรุงระบบควบคุมและสั่งการเรือหลวงจักรีนฤเบศร ซึ่งประกอบไปด้วยปรับปรุงระบบควบคุมและสั่งการ 9LV Mk4 เรดาร์ Sea Giraffe AMB และระบบส่งข้อมูล

ภายในเรือ

ภายในเรือจักรีนฤเบศรประกอบด้วยห้องต่างๆ ทั้งส่วนที่ใช้ปฏิบัติงาน และห้องพัก รวมกว่า 600 ห้อง โดยมีส่วนหลักๆ ดังนี้ สะพานเดินเรือซึ่งเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติงานของเรือ หอบังคับการบิน ห้องควบคุมการจราจรทางอากาศ ห้องอุตุนิยมวิทยา ห้องควบคุมดาดฟ้าบิน ห้องบรรยายสรุปการบิน ห้องศูนย์ยุทธการ และห้องครัว

โรงพยาบาล

โรงพยาบาลในเรือหลวงจักรีนฤเบศรมีหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ดูแลด้านการสุขาภิบาลหน่วยเรือ และให้การช่วยเหลือด้านการแพทย์แก่กำลังพลของเรือและจัดกำลังพลช่วยเหลือหน่วยอื่นๆที่จัดขึ้นในกรณีพิเศษ ห้องรักษาพยาบาลประกอบด้วย ห้องตรวจโรค ห้องผ่าตัด ห้องเอกซ์เรย์ และห้องทันตกรรม ห้องผู้ป่วยสามารถรองรับผู้ป่วยได้ จำนวน 15 เตียง ห้องผู้ประสบภัย สามารถรองรับผู้ประสบภัยได้ จำนวน 26 เตียง

อื่น ๆ

ระบบไฟฟ้าภายในเรือหลวงจักรีนฤเบศรประกอบไปด้วยเครื่องขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจำนวน 4 เครื่อง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจำนวน 4 เครื่อง

เครื่องจักรช่วยและเครื่องจักรอื่นๆภายในเรือหลวงจักรีนฤเบศรได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ขนาด 155 ตัน จำนวน 3 เครื่อง เครื่องทำความเย็นขนาด 5 ตัน จำนวน 2 เครื่อง เครื่องปรับแต่งอาการโคลงของเรือจำนวน 2 ชุดเครื่อง เครื่องผลิตน้ำจืดแบบออสโมซิสผันกลับจำนวน 4 เครื่อง

ภารกิจ

ภาพขณะเครื่องแฮร์ริเออร์ AV-8 กำลังขึ้นบิน เผยให้เห็นลิฟต์บรรทุกเฮลิคอปเตอร์ด้านท้ายเรือ

เรือหลวงจักรีนฤเบศรเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่ลำแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีระวางขับน้ำ 11,544 ตัน สามารถทนต่อคลื่นลมรุนแรงได้ในระดับ 9 ซึ่งคลื่นมีความสูง 13.8 เมตร

ภารกิจในอดีต

เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้มีภารกิจในเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังนี้

พายุไต้ฝุ่นซีตาห์

ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ได้เกิดพายุไต้ฝุ่นซีตาห์ที่จังหวัดชุมพร เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้ไปยังพื้นที่ประสบภัย และดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ติดอยู่ตามตำบลที่ต่างๆ เนื่องจากระดับน้ำท่วมสูงจนการช่วยเหลือทางบกไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ประสบภัยได้ โดยการใช้เฮลิคอปเตอร์จากเรือ นำอาหารและน้ำดื่มไปแจกจ่ายให้กับผู้ที่ติดอยู่ตามตำบลที่ต่างๆ

พายุไต้ฝุ่นลินดา

ในวันที่ 4–7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้ออกเรือเพื่อให้การช่วยเหลือเรือประมงในทะเล ที่ประสบภัยจากพายุไต้ฝุ่นลินดาโดยลาดตระเวนจากสัตหีบไปยังเกาะกูด จังหวัดตราดจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เหตุการณ์อุทกภัยจังหวัดสงขลา

เรือหลวงจักรีนฤเบศรออกเรือเพื่อปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 23–29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ซึ่งเรือหลวงจักรีนฤเบศร ออกจากท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และจอดทอดสมอเรือบริเวณเกาะหนู จังหวัดสงขลา ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้เริ่มปฏิบัติการโดยใช้การบินตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และส่งชุดปฏิบัติการพิเศษพร้อมเรือยางลำเลียงเอาอาหารและสิ่งของจำเป็นมอบแก่ผู้ประสบภัย

เหตุการณ์ความไม่สงบในกรุงพนมเปญ

ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2546 เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในกรุงพนมเปญ และมีชาวกัมพูชาเผาสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงพนมเปญได้รับความเสียหาย มีการเตรียมพร้อมในการอพยพเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทยและประชาชนชาวไทยในกัมพูชาให้เดินทางกลับประเทศไทย ในแผน "โปเชนตง 1" และเตรียมพร้อมปฏิบัติการบริเวณพื้นที่ด้านตะวันตกของเกาะกง นอกน่านน้ำกัมพูชา เป็นการปฏิบัติการในชื่อแผน "โปเชนตง 2" โดยอากาศยานบนเรือเตรียมพร้อมปฏิบัติการในการใช้กำลังทางทหารต่อกัมพูชา หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นในแผนโปเชนตง 1

ภัยพิบัติคลื่นสึนามิ พ.ศ. 2547

ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ช่วยเหลือประชาชนจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ โดยกองเรือยุทธการจัดตั้งหมู่เรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล โดยมีกำลังพลรวมทั้งสิ้น 760 นาย ซึ่งประกอบด้วยเรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือหลวงนเรศวรและชุดแพทย์เคลื่อนที่ โดยมีภารกิจหลักคือค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ให้การรักษาพยาบาลบริเวณเกาะต่างๆ และพื้นที่ทะเลด้านใต้ของเกาะภูเก็ต และเก็บกู้ศพและลำเลียงศพจากเกาะพีพีดอน นอกจากนั้นยังให้การสนับสนุนและรับการตรวจเยี่ยมจากนายกรัฐมนตรีพร้อมคณะและกองทัพเรือ

เหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย พ.ศ. 2553

ในเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2553 เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้เดินทางออกจากฐานทัพเรือสัตหีบ เดินทางถึงจังหวัดสงขลา โดยทอดสมอที่เกาะหนู เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย

เหตุการณ์ภัยพิบัติในพื้นที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี (เกาะเต่า)

ในเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 กองทัพเรือได้จัดตั้งหมู่เรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล กรณีเกิดภัยพิบัติในพื้นที่ เกาะเต่า เกาะสมุย เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยสั่งการให้เรือหลวงจักรีนฤเบศรพร้อมด้วยอากาศยาน ร.ล.สุโขทัย และเรือของกองทัพเรืออีกหลายลำออกเดินทางไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ติดค้างบนเกาะเต่า โดยลำเลียงผู้ประสบภัยจำนวนทั้งสิ้น 743 คน เดินทางมายังท่าเทียบเรือจุกเสม็ด

อ้างอิง

เชิงอรรถ

  1. เรือปรินซิเปเดอัสตูเรียสมีระวางขับน้ำเต็มที่ 16,700 ตัน ในขณะที่เรือหลวงจักรีนฤเบศรมีระวางขับน้ำเต็มที่ 11,544 ตัน

อ้างอิง

  • //www.marinetraffic.com/en/ais/details/ships/shipid:843118/mmsi:944118214/imo:0/vessel:CHAKRINARUEBET_911
  • Evolution and Revolution in Spanish and Chilean Shipbuilding from the Cold War to the 21st Century: A Study in International Technology Transfer in the Naval Industries เก็บถาวร 2010-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Larrie D. Ferreiro, Defense Acquisition University
  • ↑ ประวัติความเป็นมาของเรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือหลวงจักรีนฤเบศร ฐานทัพเรือสัตหีบ กองทัพเรือ สืบค้นวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553
  • ↑ Saunders, Stephen (ed.) (2008). Jane's Fighting Ships 2008-2009. Jane's Fighting Ships (111th ed.). Surrey: Jane's Information Group. ISBN 9780710628459. OCLC 225431774. , p. 786
  • ↑ Bishop, Chris; Chant, Christopher (2004). Aircraft Carriers: the world's greatest naval vessels and their aircraft. London: MBI. ISBN 0760320055. OCLC 56646560., p. 88
  • ↑ นิตยสารสมรภูมิ ฉบับประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 ISSN 0857-0094
  • ภาพป้ายบันทึกข้อความที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาทรงเจิมเรือหลวงจักรีนฤเบศร กองทัพเรือ
  • "เว็บไซต์ เรือหลวงจักรีนฤเบศร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-16. สืบค้นเมื่อ 2019-12-27.
  • ↑ Wertheim, Eric, บ.ก. (2007). The Naval Institute Guide to Combat Fleets of the World: Their Ships, Aircraft, and Systems (15th ed.). Annapolis, MD: Naval Institute Press. ISBN 9781591149552. OCLC 140283156., p. 772
  • ↑ คุณลักษณะเรือ เรือหลวงจักรีนฤเบศร ฐานทัพเรือสัตหีบ กองทัพเรือ สืบค้นวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553
  • ↑ Bishop & Chant, Aircraft Carriers, p. 89
  • ต้นเรือ ร.ล.จักรีนฤเบศร, การยิงอาวุธปล่อยนำวิถีมิสทราล (MISTRAL) ครั้งแรกของกองทัพเรือไทย, เรือหลวงจักรีนฤเบศร, ฐานทัพเรือสัตหีบ, กองทัพเรือ, สืบค้นวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553
  • CHRISTOPHER P. CAVAS, Thai Navy Retires Harrier Jump-Jets, DefenseNews.com
  • Ireland, The Illustrated Guide to Aircraft Carriers of the World, p. 249
  • ↑ 12 ปีเรือหลวงจักรีนฤเบศร, เรือหลวงจักรีนฤเบศร, ฐานทัพเรือสัตหีบ, กองทัพเรือ, สืบค้นวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553
  • "Saab receives order from Thailand regarding upgrading of command and control system". Press release. Saab. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2012. สืบค้นเมื่อ 3 May 2012.
  • ↑ ข้อมูล เก็บถาวร 2010-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนภายในเรือหลวงจักรีนฤเบศร สืบค้นวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555
  • โรงพยาบาล ร.ล.จักรีนฤเบศร, เรือหลวงจักรีนฤเบศร, ฐานทัพเรือสัตหีบ, กองทัพเรือ, สืบค้นวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553 ร.อ.ธวัช พงษ์พาณิช, เมืองเฟอร์รอล สูงสุดแห่งชีวิต ที่สุดแห่งราชนาวีไทย บันทึกไม่ลับของคนรับเรือ , เรือหลวงจักรีนฤเบศร, ฐานทัพเรือสัตหีบ, กองทัพเรือ, สืบค้นวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf